สภาพวิชาการทางกฎหมายของประเทศไทย : สาเหตุแห่งความล้มเหลวของการปฏิรูปการเมือง ครั้งที่ ๒ ( กรณีศึกษา case study : ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ชุดที่สอง (พ.ศ. ๒๕๕๐)) โดย ศ. ดร. อมร จันทรสมบูรณ์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
หมายเหตุ :- ในขณะนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังจากที่ได้มีคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ (ทำหน้าที่ศาลรัฐธรรมนูญ)ให้ยุบพรรคไทยรักไทย ฯ และมีการชุมนุมต่อต้านการรัฐประหาร โดยกลุ่มมวลชนที่สนับสนุนอำนาจเก่า(ซึ่งดูเหมือนว่า นับวันจะทวีความเข้มข้นยิ่งขึ้น) และพร้อม ๆ กันนั้น เรามักจะได้ยินคำพูดประโยคหนึ่งที่ซ้ำ ๆ กันอยู่ว่า เราจะให้มีการเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด และผู้ที่พูดประโยคนี้ ได้แก่นายกรัฐมนตรี ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ และ นักวิชาการหลายท่าน
ผู้เขียนเห็นว่า ก่อนที่เราจะพูดว่า เราจะมี การเลือกตั้งโดยเร็วที่สุด เราควรถามตัวเองก่อนว่า การเลือกตั้งเป็นวิธีการแก้วิกฤติของประเทศ (ไทย) ในอนาคต ใช่หรือไม่
การแก้วิกฤติของชาติ(ในอนาคต) มิได้อยู่ที่การเลือกตั้ง แต่อยู่ที่ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ กล่าวคือ ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นรัฐธรรมนูญที่ดี เราจึงจะแก้วิกฤติในอนาคตได้ แต่ถ้ารัฐธรรมนูญฉบับใหม่เป็นรัฐธรรมนูญที่เหมือน ๆ กับรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่ถูกยกเลิกไป เราก็คงจะกลับเข้าสู่วงจรแห่งความเสื่อม (vicious circle)อีก ซึ่งหมายความว่า ถ้าเรามี การเลือกตั้งเร็วเท่าไร เราก็จะกลับเข้าสู่ vicious circle เร็วเท่านั้น
ถ้า ผู้นำ(ทางการเมือง)ในช่วงเวลาของการปฏิวัติ ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ ของเรา มี vision มองไปได้ไกลแค่เพียง๔ ๕ เดือน จนถึงการเลือกตั้ง ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๕๐ (เดือนธันวาคม)นี้ เท่านั้น ผู้เขียนก็คิดว่า ภายในเวลาไม่นานนัก ( และไม่เกิน ๕ ปี) เราคนไทยก็จะเห็นว่า นักการเมืองเดิม ๆ กลับเข้ามาผูกขาดอำนาจรัฐอีกครั้งหนึ่ง ส่วนอะไรจะเกิดขึ้นหลังจากนั้น ก็ขอให้ท่านผู้อ่านคิดเอาเอง
ปัญหามีอยู่ว่า เราจะรู้ได้อย่างไรว่า รัฐธรรมฉบับใหม่ที่เรากำลังจะมีขึ้นในปลายปีนี้ เหมือนหรือไม่เหมือนกับ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ ที่ถูกยกเลิกไปเพราะการรัฐประหารหรือไม่ และเรื่องนี้ เราคงจะต้องการรู้ล่วงหน้าก่อนที่เหตุการณ์จะกลับเข้าสู่วงจรเดิม และไม่มีทางแก้ไข ; และนี่ คือ ความมุ่งหมายของการเขียนบทความนี้
และเช่นเดียวกับบทความฉบับก่อน ๆ ของผู้เขียน ผู้เขียนขอเรียนว่า บทความนี้เป็นบทความทางวิชาการ ที่เขียนขึ้นด้วยความกังวลในสถานการณ์ของประเทศไทยในอนาคต หากบทความนี้บังเอิญกระทบถึงท่านผู้ใดหรือทำให้ท่านผู้ใดไม่สบายใจ ขอ โปรดให้อภัย เพราะมิใช่เป็นเจตนาของผู้เขียน
สารบัญ
ส่วนที่ ๑ บทนำ
๑.๑ ความเบื้องต้น : ว่าด้วย องค์กรยกร่างรัฐธรรมนูญ
๑.๒ เราสามารถรู้ถึง ขีดความสามารถของวงการวิชาการทางกฎหมายของเรา ได้อย่างไร
๑.๓ การร่างรัฐธรรมนูญ ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ : เป็นโอกาสที่ดีที่สุดของสังคมไทย ที่จะรู้จัก ขีดความสามารถของวงการวิชาการทางกฎหมาย ของตนเอง
ส่วนที่ ๒ กรณีศึกษา case study : การวิเคราะห์ (ร่าง)รัฐธรรมนูญ ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ ชุดที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๕๐)
ความนำ ว่าด้วย องค์กรยกร่างรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๔๙ ( คณะกรรมาธิการยกร่างฯและสภาร่างรัฐธรรมนูญ )
ตอนที่ (๑) การวิเคราะห์ คำชี้แจง สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช.... (ฉบับรับฟังความคิดเห็น) ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ
(๑.๑) ข้อเท็จจริง สรุป คำชี้แจง สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ...." (ฉบับรับฟังความคิดเห็น) ของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ฯ ๔ แนวทาง :-
- แนวทางที่หนึ่ง การขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชน อย่างเต็มที่ ฯ
- แนวทางที่สอง ลดการผูกขาดอำนาจรัฐ ฯ
- แนวทางที่สาม ทำให้การเมืองมีความโปร่งใส ฯ
- แนวทางที่สี่ - ทำให้การตรวจสอบมีความเข้มแข็ง ฯ
(๑.๒) การวิเคราะห์(ความเห็นของผู้เขียน)
(ก) ข้อสังเกตทั่วไป (general observation)
(ข) ข้อสังเกต ๔ แนวทาง
- แนวทางที่หนึ่ง การขยายสิทธิเสรีภาพของประชาชน อย่างเต็มที่
- แนวทางที่สอง ลดการผูกขาดอำนาจรัฐ ฯ
- แนวทางที่สาม ทำให้การเมืองมีความโปร่งใส ฯ
- แนวทางที่สี่ - ทำให้การตรวจสอบมีความเข้มแข็ง ฯ
(ค) สรุป ความเห็นโดยรวม (จากการวิเคราห์) ของผู้เขียน
ตอนที่ (๒) ถ้าเราจะปฏิรูปการเมือง เราจะชี้แจง กับประชาชนได้ อย่างไร
ความนำ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ยังคงรูปแบบระบบเผด็จการโดยพรรคการเมือง(นายทุนธุรกิจ)
- ทำไม เรา(คนไทย) จึงมองไม่เห็น ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมือง(นายทุนธุรกิจ)
- คำชี้แจง สาระสำคัญของร่างรัฐธรรมนูญ ของ สสร.ไม่ได้ให้ความจริงแก่เรา(คนไทย)
ส่วนที่หนึ่ง ความทั่วไป
(๑.๑) วิกฤติการณ์ทางการเมือง ที่ทำให้ต้องมีแก้ใขรัฐธรรมนูญ (การปฏิรูปการเมือง)
(ก) คำวินิจฉัยของคณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ที่ ๓-๕/๒๕๕๐ (๓๐ พฤษภาคม )
(ข) กรณีการทุจริตคอร์รัปชั่น (สมุดปกเหลือง ของ คตส.) ๑๓ กรณี
(๑.๒ ) สิ่งที่ควรรู้ ก่อนการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
- "form of government กับ ระบบบริหารพื้นฐาน ของประเทศ
รูปแบบการปกครองเปรียบเทียบ (comparative forms of government) และ วิวัฒนาการ
- ความล้มเหลวของการสอน"วิชากฎหมายรัฐธรรมนูญในสถาบันอุดมศึกษาของไทย
- สภาพปัญหาและเหตุการณ์ในยุคศตวรรษที่ ๑๘ กับ ยุคศตวรรษที่ ๒๐
- ปัญหาของระบอบประชาธิปไตยใน ยุคศตวรรษที่ ๒๐
[๑] ระบบประธานาธิบดี presidential system
[๒] ระบบรัฐสภา parliamentary system
(ก) ความเป็นมาของ constitutionalism (และระบบรัฐสภา)ในยุโรป
- ช่วง ๑๐ ปี (ค.ศ ๑๗๘๙-๑๗๙๙)ของ การเริ่มต้นของ constitutionalismในยุโรป
- ประสบการณ์ในประวัติศาสตร์ของฝรั่งเศส ที่เรา (คนไทย)ควรรู้
- รัฐธรรมนูญ ค.ศ. ๑๗๙๑
- รัฐธรรมนูญ ค.ศ. ๑๗๙๓
- รัฐธรรมนูญ ค.ศ. ๑๗๙๕
- รัฐธรรมนูญ ค.ศ. ๑๗๙๙
- ช่วง ๑๐ ปีแรกของ constitutionalismในปลายศตวรรษที่ ๑๘ ให้ประสบการณ์อะไร แก่เรา(คนไทย) :- ข้อสังเกต ๓ ประการ
(๑) กฎหมายมหาชน (ยุคใหม่) กับ นโปเลียน ๑๐๓
(๒) กฎหมายมหาชน (ยุคใหม่) กับ สหรัฐอเมริกา ๑๐๖
(๓) เหตุการณ์รุนแรง ในฝรั่งเศสในยุคเริ่มต้นของ constitutionalism (ค.ศ. ๑๗๘๙) ให้ประสบการณ์อะไรแก่เรา
สรุป ข้อสังเกต
(ข) หลักการสำคัญ ของระบบรัฐสภา parliamentary system
(๑) ระบบรัฐสภา ในตำราวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญของไทย
(๒) ระบบรัฐสภา ที่อยู่นอกตำราวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญของไทย
๒.๑ ระบบรัฐสภา ที่กษัตริย์ทรงใช้ อำนาจบริหารโดยตรง ๑๒๐
๒.๒ ระบบรัฐสภา ที่กษัตริย์เป็น ประมุขของรัฐ
๒.๓ ข้อสังเกตใน หลักการสำคัญของระบบรัฐสภา ๓ ประการ
ก) The July Revolution (๑๘๓๐) สำคัญอย่างไร ๑๒๓
ข) ความล้าหลังของ ตำราวิชากฎหมายรัฐธรรมนูญ ของมหาวิทยาลัยไทย
ข.๑) (ตำรา)ไม่สอน บทบาทของ สถาบันกษัตริย์ ในการวิวัฒนาการของ ระบบรัฐสภาของประเทศพัฒนาแล้ว ในอดีต
- ความเห็นของ Dicey (ค.ศ. ๑๘๘๕)
- ความผิดพลาด ๓ ครั้ง ในการออกแบบระบบรัฐสภาของไทย
ครั้งที่หนื่ง (คณะราษฎร์) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๔๗๕
ครั้งที่สอง (สภาร่างรัฐธรรมนูญ) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐
- รัฐธรรมนูญ ๒๕๔๐. สร้างระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมือง
(นายทุนธุรกิจ)
- ผู้รับผิดชอบในการยกร่างและเพื่อประโยชน์ของผู้ใด
- นายทุนธุรกิจ(ระดับท้องถิ่น) vs นายทุนธุรกิจ(ระดับชาติ)
- การบิดเบือน (distortion) หลักการ ของระบอบประชาธิปไตย คืออย่างไร
- นักวิชาการในวงการวิชาการทางกฎหมาย
สรุป ความผิดพลาดในการออกแบบ ระบบรัฐสภาครั้งที่สอง
(๑) วิวัฒนาการของ ระบบเผด็จการโดย พรรคการเมือง
(form of government) ในช่วง ๑๕ ปีก่อน
(๒) elite ๒ ประเภท ที่สร้าง ระบบเผด็จการฯ
(๓) ทำไม รธน. ๒๕๔๐ (๑๐ปี) จึงทำความเสียหายแก่สังคม
มากกว่า ระบบรัฐสภาตาม รธน. ๒๔๗๕ (๖๕ ปี)
ครั้งที่สาม(สภาร่างรัฐธรรมนูญ) รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๕๐
ยังคงใช้ ระบบเผด็จการ โดยพรรคการเมือง(นายทุนธุรกิจ )
(๑)นักการเมือง(จำเป็น)ที่ได้อำนาจรัฐมาด้วยการรัฐประหาร
(๒) นักวิชาการในวงการวิชาการทางกฎหมาย
(๓) นายทุนธุรกิจ(ระดับท้องถิ่น)
(๔) นักวิชาการประเภท the philosophes
สรุป คุณภาพ(พฤติกรรม) และความรู้ ของ elite ๔
ประเภท ของสังคมไทย ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐
ข.๒) (ตำรา)ไม่สอน ตัวบทกฎหมาย vs ความเป็นจริง -
reality ที่เกิดขึ้นจริง เพราะพฤติกรรมทางสังคมวิทยา
ค) คุณภาพและความรู้ ของ elite ไทย ในยุค รัชกาลที่ ๕
ประเทศญึ่ปุ่น ใน ยุคเมจิ (ค.ศ.๑๘๖๙-๑๙๑๒ รวม ๔๔ ปี)
ประเทศไทย ในยุค รัชกาลที่ ๕ (ค.ศ. ๑๘๗๐-๑๙๑๑ รวม ๔๒ ปี)
สรุป ความแตกต่าง ไทย ญี่ปุน
[๓] ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว(พรรคคอมมิวนิสต์) one party system
จุดอ่อนของระบบรัฐสภา (parliamentary system) และการปรับเปลี่ยน (rationalization) ของประเทศที่พัฒนาแล้วในอดีต เมื่อ ๕๐ ปีก่อน
ส่วนที่ สอง การออกแบบรัฐธรรมนูญ เพื่อ การปฎิรูปการเมืองของประเทศไทย
(๒.๑) การวิเคราะห์ สาเหตุข้อผิดพลาดของรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๔๐ (ที่
ถูกยกเลิกโดย การรัฐประหาร )
- คณะกรรมาธิการยกร่างฯ(พ.ศ. ๒๕๕๐) ไม่ได้ทำการวิเคราะห์ฯ ก่อนการเขียนรัฐธรรมนูญฉบับใหม่
- ข้อผิดพลาดของ รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐ โดย สภาร่างรัฐธรรมนูญ ขุดที่ ๑ พ.ศ. ๒๕๓๙ (การวิเคราะห์ฯ ของผู้เขียน)
(๒.๒) แนวความคิด - concept ในการออกแบบ(ร่าง)รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
(ก) แนวทางและประสบการณ์ ของประเทศที่พัฒนาแล้ว
(ก.๑) ระบบประธานาธิบดี
(ก.๒) ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว (พรรคคอมมิวนิสต์)
(ก.๓) ระบบรัฐสภาที่มีการปรับเปลี่ยน (rationalized systems)
- ระบบกึ่งรัฐสภา (semi-parliamentary system)
- ระบบกึ่งประธานาธิบดี (semi-presidential system)
(ข) ทางออกของประเทศไทย : การสร้าง ระบบ semi -parliamentary system อันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(ข.๑) การสร้าง strong Prime Mimister โดยไม่บังคับให้ ส.ส.
ต้องสังกัดพรรคการเมือง
- ทำให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำ(คนเดียว)ในการบริหาร(a single leader)
- กลไกการตรวจสอบการกระทำผิดของนักการเมือง
- ความสัมพันธ์ระหว่าง ฝ่ายบริหารกับสภาผู้แทนราษฎร
(ข.๒) ที่มาของ สภาผู้แทนราษฎร และ/หรือ ของวุฒิสภา
(ข.๓) ศาลและ องค์กรตรวจสอบ
ตอนที่ (๓) (สรุป) การแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของสภาร่างรัฐธรรมนูญ นานาอาชึพ (พร้อมทั้ง ความคิดเห็นของ ๑๒ องค์กร และคำขอแปรญัตติของสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ ๗ กลุ่ม และข้อสังเกตเชิงวิเคราะห์ของผู้เขียน) โดยสังเขป
ส่วนที่ (๓) ทางตัน (impasse) ของ การปฏิรูปการเมือง
(๓.๑ คณะปฏิรูปการปกครองฯ พาคนไทยมาพบ ทางตัน
(๓.๒) การปฏิรูปการเมือง ของ ประเทศ(ด้อย)กำลังพัฒนา มีขอบเขตกว้างกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว
ใน อดีต(หลังสงครามโลกครั้งที่สอง)
(๓.๓) สภาพพิกลพิการ ของ วงการ(นัก)วิชาการ ไทย
(๓.๔) ภาวะผู้นำ ของ ผู้นำ(ทางการเมือง) ในช่วงการปฏิวัติ ๑๙ กันยนยน ๒๕๔๙ ( ประธานคณะ
มนตรีความ มั่นคงแห่งชาติ และนายกรัฐมนตรี)
บทสุดท้าย เมื่อถึงทางตัน คนไทยจะไปทางไหน (?)
========================
(อ่านต่อ)
หน้า 2
หน้า 3
หน้า 4
หน้า 5
หน้า 6
หน้า 7
หน้า 8
หน้า 9
หน้า 10
หน้า 11
หน้า 12
หน้า 13
หน้า 14
หน้า 15
หน้า 16
หน้า 17
หน้า 18
หน้า 19
หน้า 20
หน้า 21
หน้า 22
หน้า 23
หน้า24
หน้า 25
หน้า26
หน้า 27
หน้า28
หน้า 29
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|