หน้าแรก นานาสาระจากนักเรียนไทยในต่างแดน
แนวคิดเรื่องรัฐธรรมนูญสหภาพยุโรป La constitution européen โดยนางสาววรลักษณ์ สงวนแก้ว
นส. วรลักษณ์ สงวนแก้ว
นักศึกษาระดับปริญญาเอกมหาวิทยาลัย Nancy 2
DEA.droit public et science politique
นักเรียนทุนรัฐบาลไทย ตามความต้องการของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
16 ธันวาคม 2547 12:16 น.
 
            
       
       ข้าพเจ้าเป็นนักศึกษาไทยในฝรั่งเศสคนหนึ่งที่ใช้บริการเวบไซต์ pub-law.net เป็นประจำเนื่องจากเป็นเวบไซต์รวบรวมแหล่งข้อมูลทางกฎหมายมหาชนที่แทบจะเรียกว่าดีที่สุดในประเทศไทยในขณะนี้ก็เป็นได้ มหาวิทยาลัยที่ข้าพเจ้ากำลังศึกษาอยู่ในขณะนี้มีวิชาเปิดใหม่ที่ชื่อว่ารัฐธรรมนูญยุโรป หรือ La constitution européenne ซึ่งนับว่าเป็นวิชาที่น่าสนใจมากและปฏิวัติแนวความคิดรัฐธรรมนูญแบบดั้งเดิม ซึ่งบทความที่จะนำมาเสนอท่านผู้อ่านต่อไปนี้ก็ถือเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์ของข้าพเจ้าประจำภาคการศึกษาปีนี้ด้วย
       
                   
       
       บทนำ
       
                   
       
       แต่เดิมนั้นแนวคิดเรื่องรัฐธรรมนูญ จะถูกจำกัดอยู่เฉพาะขอบเขตระดับประเทศเท่านั้น เพราะนักกฎหมายและเหล่าบรรดานักรัฐศาสตร์ทั่วโลกต่างก็มีความเชื่อว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศ และเป็นกฎหมายที่ใช้ในการจัดระเบียบองค์กรทางปกครองต่าง ๆ ในระดับประเทศ แต่ปัจจุบัน แนวคิดนี้ได้ถูกท้าทายจากบรรดานักกฎหมายมหาชนในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ในประเด็นที่ว่า เราสามารถที่จะมองรัฐธรรมนูญที่เป็นเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างรัฐต่อรัฐก็ย่อมเป็นได้ ซึ่งแนวคิดนี้ถือเป็นแนวคิดหลักประการหนึ่งของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป หรือที่เราเรียกกันว่า la valeur supra-national และประเด็นหลักที่จะกล่าวต่อไปนี้คือ จะถูกแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ แนวคิดเรื่องอำนาจก่อตั้งทางการเมือง หรือ le pouvoir constitutant แนวคิดเรื่องรูปแบบรัฐธรรมนูญ ในประเด็นของธรรมนูญการปกครองประเทศ หรือสนธิสัญญาระหว่างรัฐ la constitution ou le traité international และในส่วนสุดท้ายที่จะนำเสนอก็คือ ประเด็นในเรื่องคุณค่า และอุดมการณ์ ของรัฐธรรมนูญยุโรปในส่วนของ ประชาธิปไตย และสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน la democratie et le droit fondamentaux
       
                   
       
       1. แนวคิดเรื่องอำนาจก่อตั้งทางการเมือง le pouvoir constitutant
       
       อำนาจก่อตั้งทางการเมืองหรือ le pouvoir constitutant นั้นเป็นที่ยอมรับกันเป็นการทั่วไปของนักกฎหมายมหาชนของประเทศฝรั่งเศสว่า คืออำนาจสูงสุดในการจัดทำรัฐธรรมนูญกล่าวคือ เป็นอำนาจสูงสุดที่ทำให้รัฐธรรมนูญเกิดขึ้น โดยมิต้องคำนึงถึงว่าอำนาจนั้นจะเป็นอำนาจที่ถูกต้องชอบธรรมหรือไม่ก็ตาม กล่าวคือในสังคมประชาธิปไตยอำนาจนี้อาจจะได้มาจากประชาชนพลเมืองของรัฐนั้นเอง ในทางกลับกันในประเทศเผด็จการ อำนาจนี้อาจจะได้มาจากการปฏิวัติรัฐประหารก็ย่อมเป็นได้ ประเด็นปัญหาอยู่ที่ว่า ในรัฐธรรมนูญของสหภาพยุโรปนั้น อำนาจในการก่อตั้งองค์กรทางการเมืองนั้นอยู่ที่ไหนกันแน่ และใครเป็นเจ้าของอำนาจอันชอบธรรมนี้ นักกฎหมายมหาชนของประเทศฝรั่งเศสที่เห็นด้วยกับแนวคิดเรื่องรัฐธรรมนูญของสหภาพยุโรปนี้ต่างก็มีความเห็นพ้องต้องกันว่า อำนาจก่อตั้งองค์กรทางการเมืองนี้สามารถขยายขอบเขตไปถึงเจตนารมณ์ร่วมกันของประชาชนในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปก็ย่อมเป็นได้ la citoyenété de l union européenne ฝ่ายที่มีความเห็นตรงกันข้ามออกไปกลับมองต่างมุมว่า เป็นไปไม่ได้ที่อำนาจในการก่อตั้งทางการเมืองนั้นจะมาจากพลเมืองในกลุ่มประเทศของสหภาพยุโรป เพราะแนวคิดเรื่องประชาธิปไตยของสหภาพยุโรปนั้นแทบจะไม่ได้เกิดเลย ถึงแม้ว่าประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป จะมีรัฐสภา le parlement européenne ที่เป็นตัวแทนที่ได้รับการเลือกตั้งจากกลุ่มประเทศสมาชิกก็ตาม แต่ทุกวันนี้แนวคิดเรื่องรัฐธรรมนูญยุโรป ยังเป็นแนวคิดในเชิงอุดมคติมากกว่าที่จะทำให้เป็นจริงได้ และยิ่งไปกว่านั้น สหภาพยุโรปเป็นที่ยอมรับและเข้าใจในเฉพาะแวดวงทางกฎหมายและวิชาการเท่านั้น พลเมืองของสหภาพยุโรปในระดับรากหญ้า หรือ pouvoir de base นั้นยังไม่ค่อยมีความเข้าใจกับระบบและกลไกอันซับซ้อนต่าง ๆ ของสหภาพยุโรป เลย
       
                   
       
       2. ประเด็นของธรรมนูญการปกครองประเทศ หรือสนธิสัญญาระหว่างรัฐ la constitution ou le traité international
       

                   
       ประเด็นนี้นับเป็นที่ถกเถียงกันในเป็นอย่างมากในวงการกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส ว่าจากการประชุมสุดยอดของประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปในครั้งล่าสุดนั้น เราจะยกสถานะของรัฐธรรมนูญสหภาพยุโรปให้อยู่ในสถานะใด กล่าวคือ เราจะถือเป็นกฎหมายมหาชนภายในหรือกฎหมายมหาชนภายนอกดี ซึ่งประเด็นนี้จากคำบรรยายของผู้รับผิดชอบวิชานี้ได้กล่าวไว้ว่าก็ยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ แต่ท่านเห็นว่าควรจะจัดให้อยู่ในรูปแบบของ สนธิสัญญาระหว่างประเทศมากกว่าด้วยเหตุผลประการต่อไปนี้
       
                   
       
       2.1 รัฐธรรมนูญยุโรปในปัจจุบันนี้มีรากฐานมาจากสนธิสัญญาก่อตั้งสหภาพยุโรปที่มีมาแต่เดิมเพียงแต่เป็นเพียงการจัดให้เป็นหมวดหมู่เพื่อให้สะดวกแก่กลุ่มประเทศสมาชิกให้เคารพและปฏิบัติตามเท่านั้น
       
                   
       
       2.2 รัฐธรรมนูญยุโรปในปัจจุบันนี้เกิดจากความยินยอมร่วมกันในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปมิใช่เกิดจากความยินยอมของกลุ่มพลเมืองประเทศเดียวเท่านั้นดังนั้นจึงน่าจะมีฐานทางกฎหมายมหาชนภายนอกมากกว่ารากฐานทางกฎหมายมหาชนภายใน
       
                   
       
       3. ประเด็นในเรื่องคุณค่า และอุดมการณ์ ของรัฐธรรมนูญยุโรปในส่วนของประชาธิปไตย และสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน la democratie et le droit fondamentaux
       
                   
       อุดมการณ์พื้นฐานในเรื่องประชาธิปไตย และสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนนั้น นับได้ว่าเป็นประเด็นที่สำคัญในแนวคิดเรื่องรัฐธรรมนูญนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องด้วยรัฐธรรมนูญในรัฐประชาธิปไตยสมัยใหม่นั้น จะมีกลไกการประกันสิทธิเสรีภาพระบุไว้อย่างชัดเจน เพื่อเป็นหลักประกันกับประชาชนผู้อยู่ใต้การปกครองว่า สิทธิและเสรีภาพของพวกเขาจะได้รับประกันอย่างแท้จริง ในส่วนของรัฐธรรมนูญยุโรปนั้น ได้มีการบัญญัติไว้ในส่วนของกลไกการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพไว้ด้วย ซึ่งในปัจจุบันเราสามารถกล่าวได้ว่า ในสหภาพยุโรปนั้นมีกลไกการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพอยู่สามระดับคือ
       
                   
       
       3.1 ระบบการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของสภายุโรป หรือ Council of Europe
       
       ระบบนี้ถือได้ว่าเป็นระบบการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพที่อยู่ภายใต้อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิมนุษยชนยุโรป la convention européenne de droits de l home ซึ่งประเทศยุโรปเกือบทุกประเทศได้เข้าเป็นสมาชิกสนธิสัญญาฉบับนี้ด้วย ไม่เฉพาะแต่ในกลุ่มประเทศของสหภาพยุโรปเท่านั้น
       
                   
       
       3.2 ระบบการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป la charte de droits fondamentaux
       
       กฏบัตรขั้นพื้นฐานของสหภาพยุโรปนั้นเกิดขึ้นจากการประชุมสุดยอดของสหภาพยุโรปที่เมือง nice ซึ่งรัฐธรรมนูญสหภาพยุโรปปัจจุบันได้นำมาผนวกไว้ด้วยทำให้กฎบัตรฉบับนี้มีค่าบังคับมากขึ้นมากแต่เดิม
       
                   
       บทสรุป
       
                   
       ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้ก็เพื่อที่จะเป็นการนำเสนอแนวคิดใหม่ ๆ ของบรรดานักกฎหมายในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ที่กำลังพัฒนาไปอย่างไม่หยุดยั้งในรูปแบบของการรวมตัวทั้งทางด้าน การเงิน เศรษฐกิจ สังคม และยังขยายผลไปถึงแนวคิดของสหภาพยุโรปที่จะรวมตัวกันในรูปแบบของรัฐธรรมนูญอีกด้วย ซึ่งปัจจุบันรัฐสมาชิกในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปกำลังนำร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปให้ประชาชนในประเทศของตนออกเสียงประชามติว่าจะยอมรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หรือไม่


 
 
๓๐ ปีกฎหมายการทำแท้งเสรีในฝรั่งเศส โดย อ. ปิยบุตร แสงกนกกุล
หลักกฎหมายปกครองทั่วไป : ทางออกในการอุดช่องว่างกฎหมายปกครองไทย โดย นางสาวปาลีรัฐ ศรีวรรณพฤกษ์
บทวิเคราะห์ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.๒๕๔๘ โดย อาจารย์ ปิยบุตร แสงกนกกุล
การทับซ้อนของเขตอำนาจศาลปกครองและศาลยุติธรรมฝรั่งเศส : ศึกษากรณีบริการสาธารณะ โดย คุณปาลีรัฐ ศรีวรรณพฤกษ์
ตุลาการศาลปกครองกับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม(ตามหลัก équité) โดยคุณปาลีรัฐ ศรีวรรณพฤกษ์
   
 
 
 
สิทธิในการรับบุตรบุญธรรมของผู้มีรสนิยมร่วมเพศในมุมมองกฎหมายฝรั่งเศสและกฎหมายสิทธิมนุษยชนยุโรป โดย คุณปาลีรัฐ ศรีวรรณพฤกษ์
การทับซ้อนของเขตอำนาจศาลปกครองและศาลยุติธรรมฝรั่งเศส : ศึกษากรณีบริการสาธารณะ โดย คุณปาลีรัฐ ศรีวรรณพฤกษ์
ศาลรัฐธรรมนูญและคดีรัฐธรรมนูญโปรตุเกส โดย อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล
คำแปลรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐโปรตุเกส (เฉพาะมาตราที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญ) โดยอาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล
ความรับผิดชอบทางอาญาของประธานาธิบดีฝรั่งเศส โดยนางสาวกิตยาภรณ์ ประยูรพรหม
สหภาพยุโรปและการเลือกปฏิบัติ : กรณีการรับสมัครคนสูบบุหรี่เข้าทำงาน โดย คุณพิมพ์ดาว จันทรขันตี
การมีส่วนร่วมของประชาชนในฝรั่งเศส : การอภิปรายสาธารณะ (Le débat public) โดย คุณวรรณภา ติระสังขะ
ตุลาการศาลปกครองกับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม(ตามหลัก équité) โดยคุณปาลีรัฐ ศรีวรรณพฤกษ์
La France : Le pays où la rue joue le rôle important (เสียงเรียกร้องจากท้องถนน) โดยนางสาวกิตยาภรณ์ ประยูรพรหม
“หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” อาวุธทรงพลังในหมู่ “ลูกแกะ” โดย อาจารย์ปิยบุตร แสงกนกกุล
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544