หน้าแรก หนังสือทางกฎหมาย
รายงานการวิจัย เรื่อง กระบวนการกลั่นกรองคดีที่จะเข้าสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 264
ศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์
2 พฤษภาคม 2548 08:34 น.
 
 
ผู้แต่ง :   ศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ :   สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
ปีที่พิมพ์ :   พ.ศ.2548
จำนวนหน้า :   318 หน้า
ราคา :   ติดต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โทรศัพท์ 0-2623-9600
 

รายงานวิจัยเล่มนี้เป็นรายงานวิจัยที่นำเสนอต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี พ.ศ.2547 โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับคดีที่ “ศาลอื่น” ส่งมาให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 264 แห่งรัฐธรรมนูญ กระบวนการโต้แย้งว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญโดยกระบวนการทางศาลตามมาตรา 264 แห่งรัฐธรรมนูญเป็นกระบวนการที่ประชาชนสามารถใช้สิทธิของตนเองโต้แย้งต่อศาลที่ตนมีคดีฟ้องร้องกันอยู่ที่จะใช้กฎหมายที่ตนเห็นว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาบังคับคดี โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 264 เปิดช่องทางให้คู่ความในคดีขอให้ศาลที่พิจารณาและจะใช้กฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากฎหมายนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งในทางปฏิบัติ พบว่าจำนวนคดีที่ศาลอื่นส่งมาตามมาตรา 264 มีจำนวนมากและมีหลายคดีศาลไม่รับวินิจฉัยหรือยกคำร้อง ซึ่งกระบวนการดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่รับวินิจฉัยหรือยกคำร้องนั้นจะต้องทำเป็นคำวินิจฉัยเช่นเดียวกับคดีทั่ว ๆ ไป ซึ่งก็ส่งผลให้เกิดการเสียเวลาโดยไม่จำเป็น ในรายงานวิจัยดังกล่าวจึงได้นำเสนอรูปแบบของประเทศเยอรมันที่มีการใช้กระบวนการกลั่นกรองคดีก่อนเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญที่อาจนำมาปรับใช้กับระบบศาลรัฐธรรมนูญของไทยได้
       สนใจรายละเอียดของงานวิจัยนี้ลองติดต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญดูครับ


 
 
กฎหมายปกครอง
กฎหมายมหาชน : ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ
กฎหมายการปกครองท้องถิ่น
กฎหมายปกครอง
สัญญาทางปกครอง
   
 
 
 
ผลงานตำรากฎหมายของศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์
กฎหมายปกครอง
สัญญาทางปกครอง
กฎหมายมหาชน : ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ
รวมกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะระดับชาติ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ: แนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ
กฎหมายมหาชน : แนวประยุกต์
หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและความเป็นมนุษย์
หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง
แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544