รายงานการวิจัย เรื่อง กระบวนการกลั่นกรองคดีที่จะเข้าสู่การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 264

2 พฤษภาคม 2548 08:34 น.

       รายงานวิจัยเล่มนี้เป็นรายงานวิจัยที่นำเสนอต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี พ.ศ.2547 โดยมีสาระสำคัญเกี่ยวกับคดีที่ “ศาลอื่น” ส่งมาให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามมาตรา 264 แห่งรัฐธรรมนูญ กระบวนการโต้แย้งว่ากฎหมายขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญโดยกระบวนการทางศาลตามมาตรา 264 แห่งรัฐธรรมนูญเป็นกระบวนการที่ประชาชนสามารถใช้สิทธิของตนเองโต้แย้งต่อศาลที่ตนมีคดีฟ้องร้องกันอยู่ที่จะใช้กฎหมายที่ตนเห็นว่าขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาบังคับคดี โดยรัฐธรรมนูญมาตรา 264 เปิดช่องทางให้คู่ความในคดีขอให้ศาลที่พิจารณาและจะใช้กฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ากฎหมายนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ซึ่งในทางปฏิบัติ พบว่าจำนวนคดีที่ศาลอื่นส่งมาตามมาตรา 264 มีจำนวนมากและมีหลายคดีศาลไม่รับวินิจฉัยหรือยกคำร้อง ซึ่งกระบวนการดำเนินการของศาลรัฐธรรมนูญที่ไม่รับวินิจฉัยหรือยกคำร้องนั้นจะต้องทำเป็นคำวินิจฉัยเช่นเดียวกับคดีทั่ว ๆ ไป ซึ่งก็ส่งผลให้เกิดการเสียเวลาโดยไม่จำเป็น ในรายงานวิจัยดังกล่าวจึงได้นำเสนอรูปแบบของประเทศเยอรมันที่มีการใช้กระบวนการกลั่นกรองคดีก่อนเข้าสู่การพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญที่อาจนำมาปรับใช้กับระบบศาลรัฐธรรมนูญของไทยได้
       สนใจรายละเอียดของงานวิจัยนี้ลองติดต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญดูครับ


พิมพ์จาก http://public-law.net/view.aspx?ID=759
เวลา 15 พฤษภาคม 2567 10:05 น.
Pub Law Net (http://www.pub-law.net)