กฎหมายรัฐธรรมนูญ: แนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผู้แต่ง : |
|
ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์ |
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ : |
|
สำนักพิมพ์วิญญูชน |
ปีที่พิมพ์ : |
|
|
จำนวนหน้า : |
|
|
ราคา : |
|
|
|
|
|
|
|
แม้ว่าผลงานทางวิชาการส่วนใหญ่ที่ผ่านมาของ ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์ จะเป็นตำราด้านกฎหมายปกครอง เช่น คำอธิบายกฎหมายปกครอง คำอธิบายกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง คำอธิบายกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ฯลฯ ซึ่งทุกเล่มล้วนเป็นตำราในระดับ มาตรฐาน ที่ได้รับการตอบรับจากผู้อ่านเป็นอย่างดี จนต้องพิมพ์ใหม่หลายครั้ง แต่เมื่อ ดร.ชาญชัยฯ หันมานำเสนอตำรากฎหมายรัฐธรรมนูญ ก็เป็นตำราที่มีมาตรฐานในระดับสูงเช่นเดียวกัน
เนื้อหาสาระของตำราเล่มนี้แบ่งออกเป็น 3 ภาค คือ
ภาค 1 กฎหมายรัฐธรรมนูญคลาสสิก ซึ่งเป็นการแปลสรุปจากตำราของฝรั่งเศสเกี่ยวกับทฤษฎีและแนวคิดพื้นฐานทางกฎหมายรัฐธรรมนูญโดยทั่วไปในภาพรวมที่เป็นสากลแล้ว
ภาค 2 ระบบการเมืองของประเทศต่าง ๆ ซึ่งเป็นการแปลสรุปจากตำราของฝรั่งเศสเกี่ยวกับระบบการเมืองของประเทศต่าง ๆ ทั้งในระบบคลาสสิก ระบบสังคมนิยมมาร์กซิส ระบบเผด็จการและระบบของประเทศโลกที่สาม
ภาค 3 กฎหมายและระบบการเมืองของไทย ซึ่งเป็นการสรุปวิวัฒนาการทางกฎหมายรัฐธรรมนูญของไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2475 จนถึงปี พ.ศ. 2540 ความพยายามปฏิรูปการเมืองโดยรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2540 และสาระสำคัญของรัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2550 พร้อมทั้งสรุปบทเรียนสำหรับประเทศไทยที่ได้จากแนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ
ตำรากฎหมายรัฐธรรมนูญของ ดร.ชาญชัยฯ เล่มนี้จึงนับเป็นการ เติมเต็ม ช่องว่างทางวิชาการขององค์ความรู้วิชากฎหมายรัฐธรรมนูญในประเทศไทยได้อย่างดียิ่งครับ
ขอขอบพระคุณ ดร.ชาญชัยฯ ที่กรุณาส่งหนังสือเล่มนี้มาให้ครับ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|