หน้าแรก หนังสือทางกฎหมาย
กฎหมายมหาชน : แนวประยุกต์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดิเรก ควรสมาคม
15 มีนาคม 2552 20:30 น.
 
 
ผู้แต่ง :   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดิเรก ควรสมาคม
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ :   สำนักพิมพ์วิญญูชน
ปีที่พิมพ์ :  
จำนวนหน้า :  
ราคา :  
 

กฎหมายมหาชน : แนวประยุกต์ เล่มนี้เป็นตำราหลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้นที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนิสิต นักศึกษาผู้เริ่มเรียนกฎหมายมหาชนในชั้นปีที่ 1 ตลอดจนนักกฎหมายสาขาอื่นที่สนใจ
       ศึกษากฎหมายมหาชน
       
       ผู้เขียนได้แบ่งการนำเสนอเป็น 4 ส่วนได้แก่ ส่วนที่ 1 กฎหมายและกฎหมายมหาชน เป็นการอธิบายถึง ลักษณะ ความเป็นมา การแบ่งสาขาและที่มาของกฎหมายมหาชน ส่วนที่ 2 สถาบันในกฎหมายมหาชน : รัฐ เป็นการอธิบายถึง ความเป็นมา ความหมาย การก่อกำเนิด องค์ประกอบ รูปแบบ ความเป็นนิติบุคคลของรัฐ และการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ส่วนที่ 3 หลักการสำคัญ ๆ ในกฎหมายมหาชน อธิบายถึงหลักอำนาจอธิปไตย หลักการแบ่งแยกอำนาจ หลักนิติรัฐ หลักประชาธิปไตย หลักความชอบด้วยกฎหมาย และหลักบริการสาธารณะ ส่วนที่ 4 นิติวิธีในกฎหมายมหาชน ซึ่งอธิบายถึงการใช้การตีความกฎหมายมหาชน
       
       นอกจากนี้ผู้เขียนยังได้เพิ่มเติมหลักทางพระพุทธศาสนากับกฎหมายมหาชน ผ่านคำสอนของท่านพุทธทาสภิกขุและท่านเจ้าคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) อีกด้วย นับเป็นหนังสือพื้นฐานที่นักกฎหมายมหาชนควรมีไว้เป็นเจ้าของครับ
       
       ขอขอบคุณสำนักพิมพ์วิญญูชนที่ส่งหนังสือเล่มนี้มาให้ครับ


 
 
กฎหมายปกครอง
กฎหมายมหาชน : ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ
กฎหมายการปกครองท้องถิ่น
กฎหมายปกครอง
สัญญาทางปกครอง
   
 
 
 
ผลงานตำรากฎหมายของศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์
กฎหมายปกครอง
สัญญาทางปกครอง
กฎหมายมหาชน : ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ
รวมกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะระดับชาติ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ: แนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ
หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและความเป็นมนุษย์
หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง
แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
แนวทางการจัดส่วนราชการในภูมิภาค
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544