หลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ |
|
|
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผู้แต่ง : |
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
|
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ : |
|
สำนักพิมพ์วิญญูชน โทรศัพท์ 0-2996-9471 ถึง 3
|
ปีที่พิมพ์ : |
|
พ.ศ. 2547
|
จำนวนหน้า : |
|
255 หน้า
|
ราคา : |
|
180 บาท |
|
|
|
|
|
เรื่องสิทธิและเสรีภาพเป็นเรื่องที่พูดและคิดกันมานานกว่า 200 ปีแล้วในยุโรปและอเมริกา ในประเทศไทยแม้เราจะมีบทบัญญัติเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพของประชาชนปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญมากว่า 50 ปีแล้วก็ตาม แต่ก็ต้องยอมรับว่าบทบัญญัติเหล่านั้นส่วนใหญ่ เป็นหมัน เพราะผู้มีอำนาจมักไม่ค่อยให้ความเคารพต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนเท่าที่ควร สิทธิและเสรีภาพของประชาชนเริ่มดีขึ้นเมื่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ. 2540) ออกมาใช้บังคับ มีการบัญญัติรับรองสิทธิเสรีภาพของประชาชนไว้มากมายหลายมาตรา
แนวความคิดเรื่องสิทธิและเสรีภาพเป็นอีกแนวความคิดหนึ่งที่เรารับมาจากต่าง
ประเทศ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ดีในเรื่องสิทธิและเสรีภาพ จึงสมควรที่จะทำการศึกษาเปรียบเทียบกับต่างประเทศ ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้พยายามนี้แสดงหลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิเสรีภาพของต่างประเทศเพื่อเปรียบเทียบกับของไทย
ผู้เขียนแบ่งหนังสือออกเป็น 2 ภาค ภาคแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับความหมายและพัฒนาการของกฎหมายสิทธิเสรีภาพ และภาคที่สองเป็นเรื่องเกี่ยวกับทฤษฎีกฎหมายของสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายลายลักษณ์อักษร ในภาคแรกนั้น ผู้เขียนได้อธิบายถึงความหมายของคำว่าสิทธิและเสรีภาพ การแบ่งประเภทของเสรีภาพ กฎเกณฑ์จำกัดสิทธิเสรีภาพ ที่มาของแนวความคิดว่าด้วยสิทธิเสรีภาพในอังกฤษ สหรัฐอเมริกาและฝรั่งเศส ฯลฯ ส่วนในภาคที่สอง ผู้เขียนก็ได้นำเสนอสาระสำคัญเกี่ยวกับทฤษฎีกฎหมายของสิทธิเสรีภาพตามกฎหมายลายลักษณ์อักษร และยังนำเสนอเรื่องการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพและการลงโทษในการละเมิดสิทธิเสรีภาพเอาไว้ด้วย
นับว่าเป็นหนังสือที่เกี่ยวข้องสิทธิเสรีภาพที่สมบูรณ์ที่สุดเล่มหนึ่งของประเทศไทยครับ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|