หน้าแรก หนังสือทางกฎหมาย
ความยอกย้อนในประวัติศาสตร์ของบิดาแห่งกฎหมายไทย
สมชาย ปรีชาศิลปกุล
22 ธันวาคม 2547 14:46 น.
 
 
ผู้แต่ง :   สมชาย ปรีชาศิลปกุล
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ :   สำนักพิมพ์วิญญูชน โทร. 0-2996-9471 ถึง 3
ปีที่พิมพ์ :   พ.ศ. 2546
จำนวนหน้า :   101 หน้า
ราคา :   70 บาท
 

            
        ความน่าสนใจของหนังสือเล่มนี้อยู่ที่ "ความกล้า" ของผู้เขียนครับ สำหรับนักกฎหมายไทยนั้น กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ หรือพระองค์เจ้ารพีพัฒนศักดิ์ ได้รับการขนานนามว่าเป็นพระบิดาแห่งกฎหมายไทย และวันที่ 7 สิงหาคมของทุกปีก็คือวันรพีครับ

                   
        ได้เคยอ่านงานเขียนนี้มาแล้วเมื่อครั้งลงพิมพ์ในวารสารเล่มหนึ่งเมื่อไม่นานมานื้ ก็เช่นเดียวกับประวัติศาสตร์ของไทยในหลายๆส่วนที่ "ไม่มีความชัดเจน" บางเรื่องก็เพิ่งจะเกิดขึ้นมาเมื่อไม่นานมานี้เองครับ

                   
        อาจารย์นันทวัฒน์ฯ เล่าให้ฟังว่า นักกฎหมายมหาชนระดับปรมาจารย์ผู้หนึ่งเล่าให้ฟังว่า จริงๆแล้วรัชกาลที่ 5 ต่างหากที่สมควรเป็น "พระบิดาแห่งกฎหมายไทย" เพราะการที่พระองค์ท่านทรงเลือกการจัดทำประมวลกฎหมายในระบบ civil law แทนที่จะใช้กฎหมายในระบบ common law ตามความเห็นของกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ น่าจะเป็นสิ่งพิสูจน์ที่ชัดเจนแล้วว่า พระบิดาแห่งกฎหมายไทยคือรัชกาลที่ 5 ครับ

                   
        หนังสือเล่มนี้ เล่าถึงความเป็นมาทางประวัติศาสตร์ของการขนานนามกรมหลวงราชบุรี ดิเรกฤทธิ์ให้เป็นพระบิดาแห่งกฎหมายไทยว่ามีที่มาและมีกระบวนการอย่างไร มีการเล่าถึงระบบกฎหมายไทยในสมัยก่อนรัชกาลที่ 5 ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนกฎหมาย การสร้างกฎหมายสมัยใหม่ และ บทบาทของนักกฎหมายต่างชาติที่เป็นผู้มีส่วนสำคัญในการยกร่างกฎหมายไทยฉบับแรกๆครับ

                   
        น่าสนใจมากครับสำหรับหนังสือเล่มนี้ ขอขอบคุณสำนักพิมพ์วิญญูชนที่กรุณาส่งหนังสือเล่มนี้มาให้ครับ


 
 
กฎหมายปกครอง
กฎหมายมหาชน : ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ
กฎหมายการปกครองท้องถิ่น
กฎหมายปกครอง
สัญญาทางปกครอง
   
 
 
 
ผลงานตำรากฎหมายของศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์
กฎหมายปกครอง
สัญญาทางปกครอง
กฎหมายมหาชน : ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ
รวมกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะระดับชาติ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ: แนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ
กฎหมายมหาชน : แนวประยุกต์
หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและความเป็นมนุษย์
หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง
แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544