เอกสารประกอบการพิจารณากฎหมายของสมาชิกรัฐสภา เล่มที่ 5 เรื่องพระราชบัญญัติประชาพิจารณ์ : กรณีศึกษากระบวนการพิจารณาโครงการ (Planfeststellungsnerfahren) ตามกฎหมายของประเทศเยอรมันนี |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผู้แต่ง : |
|
ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ
|
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ : |
|
สถาบันพระปกเกล้า โทรศัพท์ 0-2527-7830-9
|
ปีที่พิมพ์ : |
|
พ.ศ. 2545
|
จำนวนหน้า : |
|
64 หน้า
|
ราคา : |
|
65 บาท |
|
|
|
|
|
หนังสือเล่มนี้สถาบันพระปกเกล้าจัดทำขึ้นเพื่อประกอบการพิจารณาร่างกฎหมายของสมาชิกรัฐสภา โดยมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญคือให้สมาชิกรัฐสภาได้ใช้เป็นข้อมูลและแนวทางประกอบการพิจารณาร่างกฎหมาย
เนื่องจากมาตรา 59 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้บัญญัติให้มีกฎหมายเกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การรับฟังความคิดเห็นของประชาชนนับได้ว่าเป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับสังคมประชาธิปไตยสมัยใหม่ที่ "เปิดโอกาส" ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการของฝ่ายปกครองมากขึ้นกว่าเดิม การเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นนี้ในประเทศเยอรมันนีมีกฎหมายที่เกี่ยวข้องคือกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองซึ่งนำมาใช้กับกระบวนการรับฟังความคิดเห็นด้วย ผู้เขียนได้แบ่งสาระของหนังสือออกเป็น 4 บท โดยในบทที่สำคัญ 2 บท คือบทที่ 2 และบทที่ 3 นั้นผู้เขียนได้นำเสนอและอธิบายถึงการนำบทบัญญัติเกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาโครงการตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองมาใช้บังคับกับกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน การนำเสนอกระบวนการรับฟังความคิดเห็นนั้น ผู้เขียนได้นำเสนออย่างเป็นระบบเริ่มตั้งแต่ ขอบเขตและวัตถุประสงค์ของกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ขั้นตอนของกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ไปจนถึงเรื่องการคัดค้านโดยผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการต่างๆ และในบทสุดท้าย ผู้เขียนได้นำเสนอคำวินิจฉัยเกี่ยวกับการพิจารณาโครงการซึ่งถือว่าเป็น "คำสั่งทางปกครอง" ประเภทหนึ่งที่อาจโต้แย้งได้โดยตรงโดยการฟ้องศาลปกครอง
ในตอนท้ายของหนังสือ ผู้เขียนได้แปลกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองในส่วนที่เกี่ยวกับกระบวนการพิจารณาโครงการไว้ด้วยรวม 7 มาตรา ครับ
เป็นหนังสือดีที่น่าสนใจอีกเล่มหนึ่งครับ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|