คำอธิบายกฎหมายปฏิรูประบบราชการ (พ.ศ.2545) |
|
|
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มานิตย์ จุมปา
เจ้าของ
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2545
จำนวนหน้า 215 หน้า
ราคา 160 บาท |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผู้แต่ง : |
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มานิตย์ จุมปา
เจ้าของ
ปีที่พิมพ์ พ.ศ. 2545
จำนวนหน้า 215 หน้า
ราคา 160 บาท |
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ : |
|
สำนักพิมพ์วิญญูชน โทร. 0-2996-9471-3 |
ปีที่พิมพ์ : |
|
พ.ศ. 2545
|
จำนวนหน้า : |
|
215 หน้า
|
ราคา : |
|
160 บาท |
|
|
|
|
|
นับเป็นความ "ฉับไว" อีกครั้งหนึ่งของสำนักพิมพ์วิญญูชนที่สามารถออกหนังสือเล่มนี้ได้อย่างรวดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ คงต้องยกให้เป็นความดีของผู้เขียนและของสำนักพิมพ์ร่วมกันครับ
หนังสือเล่มนี้ได้ทำการ "อธิบาย" กฎหมายเกี่ยวกับการปฏิรูประบบราชการ 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ. 2545 โดยแบ่งรายละเอียดออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกคือบทนำนั้น ผู้เขียนได้นำเสนอประวัติความเป็นมาของการปฏิรูประบบราชการไทยไว้ในบทนำโดยเริ่มตั้งแต่การปฏิรูประบบราชการไทยในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รวมถึงประวัติความเป็นมาของการปฏิรูประบบราชการไทยใน พ.ศ. 2545 ซึ่งท้าวความไปถึงการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปราชการในปี พ.ศ. 2540 โดยรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ในส่วนต่อมา ผู้เขียนได้นำเอากฎหมายว่าด้วยระเบียบบริการราชการแผ่นดินมานำเสนอ โดยแยกสาระสำคัญออกเป็น 4 เรื่องดังที่ปรากฏอยู่ในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 คือ วัตถุประสงค์ของการบริหารราชการแผ่นดิน อำนาจหน้าที่และผู้รับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดิน การบริหารราชการแผ่นดินในต่างประเทศ และคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ สำหรับในส่วนสุดท้ายคือกฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม นั้น ผู้เขียนได้แยกอธิบายสาระสำคัญของกฎหมายเป็น 2 เรื่องด้วยกันคือ การจัดรูปแบบโครงสร้างของส่วนราชการและส่วนราชการที่มีฐานะเป็นกระทรวง ในตอนท้ายของส่วนนี้ ผู้เขียนได้อธิบายถึงบทเฉพาะกาลของกฎหมายอันเป็นส่วนสำคัญที่ใช้สำหรับการ "เปลี่ยนถ่าย" อำนาจทรัพย์สิน บุคลากรจากกระทรวงเดิมไปยังกระทรวงใหม่ด้วย พร้อมทั้งผู้เขียนยังได้ตั้งข้อสังเกตของการตรากฎหมายว่าด้วยการปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม ไว้ใน 2 ประเด็นด้วยกัน คือ การปฏิรูประบบราชการเพื่อเพิ่มบทบาทภาคเอกชนและประชาชนกับการปฏิรูประบบราชการเพื่อลดขนาดระบบราชการให้เล็กแต่มีคุณภาพหรือขยายส่วนราชการ
หนังสือเล่มนี้มีภาคผนวกค่อนข้างยาวคือประมาณ 40 หน้าเศษ โดยนอกจากจะมีการนำเอากฎหมายปฏิรูประบบราชการทั้ง 2 ฉบับมาบรรจุไว้ ยังมีเอกสารเกี่ยวกับเหตุผลที่ฝ่ายค้านยื่นตีความร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.
. ขัดรัฐธรรมนูญ และบทความของผู้เขียนเรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรมี "ดุลพินิจ" ในการส่งร่างพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.
. ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยหรือไม่ ? (บทความนี้ได้เคยลงเผยแพร่ไปแล้วใน pub-law.net)
น่าสนใจไม่น้อยสำหรับหนังสือเล่มนี้ครับ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|