หน้าแรก หนังสือทางกฎหมาย
การปกครองส่วนท้องถิ่น
รองศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์
20 ธันวาคม 2547 14:52 น.
 
 
ผู้แต่ง :   รองศาสตราจารย์ ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ :   สำนักพิมพ์วิญญูชน โทร.0-2996-9472 ถึง 4
ปีที่พิมพ์ :   พ.ศ.2545 (พิมพ์ครั้งที่ 2)
จำนวนหน้า :   319 หน้า
ราคา :   300 บาท
 

หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 ที่ผู้เขียนได้เขียนขึ้นเมื่อกลางปี พ.ศ.2543 และต่อมาก็ได้จำหน่ายหมดอย่างรวดเร็ว 1 ปีต่อมาผู้เขียนก็ได้ทำการปรับปรุงหนังสือเล่มนี้ใหม่โดยเพิ่มสาระสำคัญบางประการเข้าไปโดยเฉพาะอย่างยิ่งคำพิพากษาศาลปกครองเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่น
       สาระสำคัญของหนังสือแบ่งเป็น 8 บทด้วยกันโดยในบทนำจะเป็นหลักทั่วไปในการจัดการปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้เขียนได้อธิบายถึงหลักพื้นฐานเกี่ยวกับระบบการรวมอำนาจปกครองและระบบการกระจายอำนาจปกครอง ในบทแรกจะเป็นวิวัฒนาการของการปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในรอบ 100 ปีที่ผ่านมา คือระหว่างปี พ.ศ.2440 ที่มีการจัดตั้งสุขาภิบาลขึ้นเป็นครั้งแรก ไปจนกระทั่งถึงปี พ.ศ.2540 ที่มีการกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญและถือเป็นจุดเริ่มต้นของการปกครองส่วนท้องถิ่นอย่างแท้จริง ในบทที่ 2 ผู้เขียนได้นำเอาแนวทางของการปกครองส่วนท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาแสดงไว้รวมถึงการดำเนินการออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกครองส่วนท้องถิ่นตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดเอาไว้ด้วย
       ในบทที่ 3 เป็นการนำเสนอรูปแบบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้ง 5 รูปแบบที่ได้รับการปรับปรุงให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญโดยมีการชี้ให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงต่างๆของแต่ละองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้สอดคล้องกับบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่ออกมาตามที่รัฐธรรมนูญได้กำหนดหลักเกณฑ์เอาไว้
       ส่วนในบทที่ 4 ถึงบทที่ 6 นั้นจะเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับกฎหมายปกครอง โดยในบทที่ 4 เป็นการกล่าวถึงข้อบัญญัติท้องถิ่นในฐานะที่เป็นเครื่องมือทางกฎหมายในการดำเนินกิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผู้เขียนได้นำเสนอลักษณะของข้อบัญญัติท้องถิ่น อำนาจในการออกข้อบัญญัติท้องถิ่นและการควบคุมการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น ต่อมาในบทที่ 5 เป็นเรื่องการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่แต่เดิมเป็นหน้าที่ของรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว แต่ในปัจจุบันประชาชนสามารถมีส่วนร่วมในการกำกับดูแลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้ด้วย ซึ่งผู้เขียนได้นำมาอธิบายไว้ในบทที่ 5 นี้ด้วยแล้ว ส่วนในบทที่ 6 เป็นเรื่องบทบาทขององค์กรวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทเกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีการกล่าวถึง บทบาทของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์และบทบาทของศาลปกครองโดยมีการนำเอาคดีต่างๆที่เกิดขึ้นมาทำการศึกษาไว้ในบทนี้ด้วย ส่วนในบทสุดท้าย เป็นบทวิเคราะห์ทิศทางของการปกครองส่วนท้องถิ่นไทยในอนาคต ซึ่งผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงปัญหาหลายประการที่อาจเกิดขึ้นต่อการปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยภายหลังที่รัฐธรรมนูญได้บัญญัติเมื่อปี พ.ศ.2540
       ในตอนท้ายของหนังสือได้มีการนำเอากฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการปกครองส่วนท้องถิ่นรวม 11 รายการ เช่น กฎหมายว่าด้วยการกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประกาศคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรื่อง การจัดสรรเงินภาษีประเภทต่างๆ มารวบรวมไว้
       นับเป็นหนังสือเกี่ยวกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยที่สมบูรณ์ที่สุดเล่มหนึ่งที่สมควรมีไว้เป็นเจ้าของ


 
 
กฎหมายปกครอง
กฎหมายมหาชน : ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ
กฎหมายการปกครองท้องถิ่น
กฎหมายปกครอง
สัญญาทางปกครอง
   
 
 
 
ผลงานตำรากฎหมายของศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์
กฎหมายปกครอง
สัญญาทางปกครอง
กฎหมายมหาชน : ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ
รวมกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะระดับชาติ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ: แนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ
กฎหมายมหาชน : แนวประยุกต์
หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและความเป็นมนุษย์
หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง
แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544