หน้าแรก หนังสือทางกฎหมาย
วิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ 6 คำวินิจฉัยที่สำคัญ
รองศาสตราจารย์ ดร.วิรัช วิรัชนิภาวรรณ
20 ธันวาคม 2547 14:14 น.
 
 
ผู้แต่ง :   รองศาสตราจารย์ ดร.วิรัช วิรัชนิภาวรรณ
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ :   สำนักพิมพ์นิติธรรม โทร.0-2934-0259-60
ปีที่พิมพ์ :   พ.ศ.2544
จำนวนหน้า :   153 หน้า
ราคา :   150 บาท
 

            
       ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนได้นำเอาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่สำคัญๆ รวม 6 คำวินิจฉัยมาทำการวิเคราะห์ ซึ่งได้แก่

                   
       1) คำวินิจฉัยที่ 2/2541 วันที่ 25 มิถุนายน 2541 เรื่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยอำนาจหน้าที่ของตำรวจชั้นผู้ใหญ่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

                   
       2) คำวินิจฉัยที่ 1/2542 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2542 เรื่อง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิบสองคนได้ยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญคัดค้านว่ามติของพรรคประชากรไทยมีลักษณะตามมาตรา 47 วรรคสามของรัฐธรรมนูญ

                   
       3) คำวินิจฉัยที่ 4/2542 วันที่ 1 เมษายน 2542 เรื่อง ศาลจังหวัดสงขลาส่งข้อโต้แย้งของจำเลย (นายเกรียงศักดิ์ แซ่เล่า) ให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264

                   
       4) คำวินิจฉัยที่ 8/2542 วันที่ 27 เมษายน 2542 เรื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้งขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาดการบังคับใช้บทบัญญัติ มาตรา 315 ของรัฐธรรมนูญ

                   
       5) คำวินิจฉัยที่ 36/2542 วันที่ 15 มิถุนายน 2542 เรื่อง ประธานสภาผู้แทนราษฎรขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยสถานภาพของการเป็นรัฐมนตรี ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 216(4)

                   
       6) คำวินิจฉัยที่ 31/2543 วันที่ 10 สิงหาคม 2543 เรื่อง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยชี้ขาด ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 295 กรณีพลตรี สนั่น ขจรประศาสน์ จงใจยื่นบัญชีแสดงรางการทรัพย์สินและหนี้สิน และเอกสารประกอบด้วยข้อความอันเป็นเท็จ

                   
       ในการวิเคราะห์แต่ละคำวินิจฉัย ผู้เขียนได้แยกสาระของการวิเคราะห์ออกเป็น 4 ส่วน คือ ความเป็นมา สาระสำคัญของคำวินิจฉัย สาระสำคัญของคำวินิจฉัยส่วนบุคคลซึ่งผู้เขียนได้ทำตารางสรุปสาระสำคัญและผลคำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญแต่ละบุคคลเอาไว้ด้วย และในส่วนสุดท้ายก็จะเป็นการวิเคราะห์คำวินิจฉัยซึ่งผู้เขียนก็ได้ทำตารางสรุปประเด็นหลักของคำวินิจฉัยส่วนบุคคลและคำวินิจฉัยส่วนบุคคลจำแนกตามตุลาการศาลรัฐธรรมนูญรายบุคคลเอาไว้ด้วย

                   
       ในบทสุดท้าย คือ บทสรุปและข้อเสนอแนะ ผู้เขียนได้นำเอาผลของการวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญมาจัดทำเป็นข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงการพิจารณาวินิจฉัยคดีของศาลรัฐธรรมนูญรวม 4 เรื่อง คือ โครงสร้าง อำนาจหน้าที่ กระบวนพิจารณาและตัวบุคคล ซึ่งเป็นข้อเสนอที่น่าสนใจยิ่ง

                   
       แม้จะเป็นเพียงการวิเคราะห์คำวินิจฉัยเพียง 6 คำวินิจฉัย แต่ก็ถือเป็น "จุดเริ่มต้น" ของการวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาล "อย่างเป็นระบบ" ที่น่าจะเป็น "แบบอย่าง" ที่ดีสำหรับนักวิชาการที่จะใช้ความรู้ความสามารถของตน "ตรวจสอบ" คำวินิจฉัยของศาลต่างๆได้ การวิเคราะห์ดังกล่าวนอกจากจะเป็นการทำหน้าที่ของนักวิชาการแล้ว ยังอาจจะเป็นการสร้างทฤษฎีต่างๆให้เกิดขึ้นในแวดวงกฎหมายได้อีกด้วยดังเช่นที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในต่างประเทศหากผู้วิเคราะห์มี "คุณภาพ" ถึงขั้น

                   
       pub-law.net ขอขอบคุณสำนักพิมพ์นิติธรรมที่ได้กรุณาส่งหนังสือดีเล่มนี้มาให้




 
 
กฎหมายปกครอง
กฎหมายมหาชน : ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ
กฎหมายการปกครองท้องถิ่น
กฎหมายปกครอง
สัญญาทางปกครอง
   
 
 
 
ผลงานตำรากฎหมายของศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์
กฎหมายปกครอง
สัญญาทางปกครอง
กฎหมายมหาชน : ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ
รวมกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะระดับชาติ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ: แนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ
กฎหมายมหาชน : แนวประยุกต์
หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและความเป็นมนุษย์
หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง
แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544