หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน ว่าด้วย รัฐ รัฐธรรมนูญและกฎหมาย |
|
|
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผู้แต่ง : |
|
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์
|
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ : |
|
สำนักพิมพ์วิญญูชน โทรศัพท์ 0-2996-9471-3
|
ปีที่พิมพ์ : |
|
พ.ศ.2547
|
จำนวนหน้า : |
|
231 หน้า
|
ราคา : |
|
165 บาท |
|
|
|
|
|
หนังสือเกี่ยวกับรัฐ เป็นหนังสือที่น่าสนใจสำหรับทั้งนักนิติศาสตร์และนักรัฐศาสตร์ และแม้จะเป็น หัวข้อ ที่พูดกันมาตั้งแต่สมัย Plato แล้วก็ตาม แต่หัวข้อดังกล่าวก็ยังเป็นสิ่งที่ศึกษากันอยู่ในปัจจุบัน
ผู้เขียนได้แบ่งสาระสำคัญของหนังสือออกเป็น 2 ภาค ภาคแรกเป็นเรื่องเกี่ยวกับแนวความคิดพื้นฐานของกฎหมายรัฐธรรมนูญ ซึ่งประกอบไปด้วย 3 บทคือ รัฐ รัฐธรรมนูญและสิทธิมนุษยชน ส่วนในภาคที่สองเป็นเรื่องเกี่ยวกับหลักพื้นฐานของกฎหมายรัฐธรรมนูญประกอบไปด้วย 3 บทเช่นกันคือ ความเกี่ยวโยงของอำนาจอธิปไตยเป็นของชาติและอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนกับระบบการมีผู้แทน การแบ่งแยกอำนาจ และกฎหมายฝ่ายบ้านเมือง
เมื่อได้อ่านหนังสือเล่มนี้จบ ก็พบว่ามีหลาย ๆ สิ่งที่น่าสนใจ ที่แม้จะไม่ได้ถูกจัดให้เป็นเรื่องใหญ่ แต่ก็ได้สอดแทรกไว้ในรายบท ไม่ว่าจะเป็นทฤษฎีสัญญาประชาคม หรือแนวความคิดของปราชญ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับรัฐ ส่วนในภาคผนวกนั้น ผู้เขียนได้นำเอาคำประกาศสิทธิมนุษยชนและพลเมือง คศ. 1789 และคำปรารภของรัฐธรรมนูญ คศ.1946 อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับสิทธิพลเมืองมานำเสนอไว้ด้วย
สาระสำคัญทั้ง 6 บทนี้ เป็นสิ่งที่ผู้เขียนได้เรียบเรียงขึ้นมาจากตำราของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งตำราในด้านดังกล่าวนี้ แม้จะมีอยู่มากในประเทศฝรั่งเศส แต่ก็ ขาดแคลน ในบ้านเรา จึงเป็นหนังสือดีที่น่าสนใจอีกเล่มหนึ่งสำหรับนักกฎหมายมหาชนครับ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|