เศรษฐศาสตร์รัฐธรรมนูญ : บทวิเคราะห์รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เล่ม 2 |
|
|
|
ศาสตราจารย์ รังสรรค์ ธนพรพันธุ์ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผู้แต่ง : |
|
ศาสตราจารย์ รังสรรค์ ธนพรพันธุ์ |
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ : |
|
สำนักพิมพ์มติชน ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย
|
ปีที่พิมพ์ : |
|
พ.ศ. 2546 |
จำนวนหน้า : |
|
423 หน้า |
ราคา : |
|
275 บาท |
|
|
|
|
|
เมื่อสองสัปดาห์ที่แล้ว ผมได้แนะนำหนังสือเล่มนี้ไปแล้ว แต่เป็นเล่มแรกของหนังสือชุด 3 เล่มนี้ครับ
สำหรับในเล่มสองนี้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎกติกาและสิ่งจูงใจต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดยผู้เขียนได้นำเสนอกฎกติกาต่าง ๆ ไว้ในบทแรกของหนังสือเล่ม 2 นี้ คือบทที่ 4 กฎกติกาที่ว่านี้ได้แต่กฎกติกาที่กำกับตลาดการเมืองตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน เช่น กฎกติกาว่าด้วยการเลือกตั้ง กฎกติกาว่าด้วยการใช้สิทธิเลือกตั้ง กฎกติกาว่าด้วยพรรคการเมือง สมาชิกรัฐสภา และรัฐบาล รวมทั้งกฎกติกาว่าด้วยการทุจริตและประพฤติมิชอบ ส่วนบทต่อมาก็เป็นสิ่งจูงใจทางการเมืองตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่อ่านแล้วชวนติดตามเป็นอย่างยิ่ง เช่น สิ่งจูงใจในการขายเสียง สิ่งจูงใจในการซื้อปริญญาบัตร สิ่งจูงใจในการแทรกแซงการบริหารงานบุคคลภาครัฐ เป็นต้น ที่เราคงไม่แนะนำในรายละเอียดว่าเป็นอย่างไร เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ควรจะต้องอ่านด้วยตนเองครับ ส่วนในบทสุดท้ายของเล่มสองก็เป็นการนำเสนอบทบัญญัติว่าด้วยแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ที่ผู้เขียนนำเสนอ ทฤษฎี ต่าง ๆ ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ที่ปรากฏอยู่ในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐไว้หลายทฤษฎี เช่น รัฐสวัสดิการ หรือการพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นต้น
อ่านสนุกพอ ๆ กับเล่มแรก และได้รับความรู้ความเข้าใจทางด้านเศรษฐศาสตร์เป็นอย่างดีครับ สมควรที่จะมีไว้ให้ครบชุดทั้ง 3 เล่มครับ เข้าใจว่าหนังสือเล่มแรกขาดตลาดไปแล้วนะครับ สงสัยคงเป็นเพราะแฟน ๆ pub-law.net ที่อ่านการแนะนำหนังสือแล้วก็แห่กันไปซื้อจนหมด
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|