หน้าแรก หนังสือทางกฎหมาย
ศาลรัฐธรรมนูญกับการปฏิบัติพันธกิจของศาลรัฐธรรมนูญ
ศาสตราจารย์ ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ และคณะ
22 ธันวาคม 2547 15:10 น.
 
 
ผู้แต่ง :   ศาสตราจารย์ ดร. สุรพล นิติไกรพจน์ และคณะ
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ :   สำนักพิมพ์วิญญูชน โทรศัพท์ 0-2996-9471 ถึง 3
ปีที่พิมพ์ :   พ.ศ. 2546
จำนวนหน้า :   390 หน้า
ราคา :   365 บาท
 

            
        มิติใหม่ของวงการวิจัยได้เริ่มขึ้นแล้ว ปกติเรามักจะไม่ค่อยได้เห็นงานวิจัยออกมาเผยแพร่เท่าใดนัก เพราะหน่วยงานทั้งหลายที่ "จ้าง" นักวิจัยทำงานวิจัยก็มักจะ "เก็บ" งานวิจัยนั้นไว้ดูคนเดียว การ "เก็บ" งานวิจัยไว้ดูคนเดียวส่งผลทำให้มีงานวิจัยที่ "ไม่มีคุณภาพ" จำนวนหนึ่งเพราะผู้วิจัยกับหน่วยงานมีความ "เข้าใจ" ตรงกัน จึงทำให้บทสรุปของงานวิจัย "หันเห" ไปในทิศทางที่สนองความต้องการของหน่วยงาน ซึ่งหน่วยงานก็จะอ้างผลการวิจัยเหล่านั้นเป็นฐานข้อมูลสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมทั้งหลายของตนต่อไป

                   
        หนังสือเล่มนี้เป็น "งานวิจัย" ชิ้นหนึ่งที่ผู้วิจัยทำให้กับสถาบันพระปกเกล้า ก็ต้องขอแสดงความชื่นชมต่อสถาบันพระปกเกล้าที่ไม่ "เก็บ" งานวิจัยไว้ดูแต่ผู้เดียว และขอแสดงความชื่นชมต่อสำนักพิมพ์วิญญูชนที่มีส่วนรวมในการจัดพิมพ์งานวิจัยนี้ออกเผยแพร่ครับ

                   
        สาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้อยู่ที่การ "ติดตาม" และ "ตรวจสอบ" การดำเนินงานของศาลรัฐธรรมนูญว่าเป็นไปตาม "เป้า" ที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ โดยคณะผู้วิจัยได้แบ่งสาระสำคัญออกเป็นสองภาค ภาคแรกจะเป็น "ภาคทฤษฎี" ที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญ คือ หลักและแนวความคิดทั้งหลายที่เกี่ยวข้องกับศาลรัฐธรรมนูญ ความเป็นมาในการจัดตั้งศาลรัฐธรรมนูญในประเทศไทย โครงสร้างอำนาจหน้าที่และวิวัฒนาการของศาลรัฐธรรมนูญ สำหรับภาคสองจะเป็น "ภาคปฏิบัติ" ของรัฐธรรมนูญ คือการศึกษาวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญใน 6 ประเด็นด้วยกันคือ ประเด็นเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายก่อนและหลังการใช้บังคับ ประเด็นเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ ประเด็นเกี่ยวกับการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญในการดำเนินกิจกรรมของพรรคการเมือง ประเด็นเกี่ยวกับการดำเนินงานภายในวงงานของรัฐสภา ประเด็นเกี่ยวกับการตรวจสอบความสมบูรณ์ในการดำรงตำแหน่งของสมาชิกรัฐสภา รัฐมนตรี และคณะกรรมการการเลือกตั้ง ประเด็นสุดท้ายเป็นประเด็นต่างๆเกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ เช่น การไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เป็นต้น ในกรณีภารกิจ 6 ประเด็นข้างต้น ผู้วิจัยได้นำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องมาศึกษาวิเคราะห์อย่างละเอียดและในบทสุดท้ายของภาคสอง คณะผู้วิจัยก็ได้จัดทำข้อเสนอแนะในการปรับปรุงระบบและกระบวนการใช้อำนาจของศาลรัฐธรรมนูญเอาไว้หลายประการด้วยกัน

                   
        ก็คงต้องขอแสดงความยินดีอีกครั้งสำหรับคณะผู้วิจัย สถาบันพระปกเกล้า และสำนักพิมพ์วิญญูชนที่ "เปิดโอกาส" ให้คนทั่วไปได้ "รับรู้" งานวิจัยที่มีคุณภาพดีเช่นงานวิจัยชิ้นนี้ด้วยครับ


                   
        ขอขอบคุณสำนักพิมพ์วิญญูชนที่ได้กรุณาส่งหนังสือเล่มนี้มาให้ครับ


 
 
กฎหมายปกครอง
กฎหมายมหาชน : ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ
กฎหมายการปกครองท้องถิ่น
กฎหมายปกครอง
สัญญาทางปกครอง
   
 
 
 
ผลงานตำรากฎหมายของศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์
กฎหมายปกครอง
สัญญาทางปกครอง
กฎหมายมหาชน : ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ
รวมกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะระดับชาติ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ: แนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ
กฎหมายมหาชน : แนวประยุกต์
หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและความเป็นมนุษย์
หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง
แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544