หน้าแรก หนังสือทางกฎหมาย
ศาลรัฐธรรมนูญไทยในสถานการณ์การปฏิรูปการเมือง
21 ธันวาคม 2547 15:12 น.
 
 
ผู้แต่ง :  
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ :   สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ โทรศัพท์ 0-2623-9600-9
ปีที่พิมพ์ :   พ.ศ. 2546
จำนวนหน้า :   530 หน้า
ราคา :   ติดต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ
 

            
        หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ศาลรัฐธรรมนูญจัดทำขึ้นเพื่อใช้แจกในงานครบรอบ 5 ปี
       ศาลรัฐธรรมนูญเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมาครับ

                   
        บทความจำนวนทั้งสิ้น 16 บทความที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้เป็นบทความที่ได้ลงเผยแพร่ไปแล้วใน "วารสารศาลรัฐธรรมนูญ" ในระหว่างปี พ.ศ. 2542 ถึง ปัจจุบัน โดยได้มีการนำบทความดังกล่าวมาจัดแบ่งกลุ่มใหม่ แยกได้เป็น 4 ส่วนคือ


                   
        ส่วนที่ 1 ภาคการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน : ประกอบด้วยบทความ 3 บทความ คือ

                   
       (1) คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญสหพันธ์ของเยอรมัน : ศึกษากรณีการควบคุมความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมาย โดย ดร.บรรเจิด สิงคะเนติ

                   
       ศาลรัฐธรรมนูญกับการคุ้มครองสิทธิ และเสรีภาพของประชาชน โดย นายพิมล ธรรมพิทักษ์พงษ์

                   
       (3) การจำกัดสิทธิ และเสรีภาพ โดย ผศ.ดร.เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์


                   
       ส่วนที่ 2 ภาคการมีส่วนร่วมของการเมืองภาคประชาชน : ประกอบด้วยบทความ 4 บทความ คือ

                   
       (1) รัฐสัญญาประชาคมกับการปลุกกระแสสำนึกใหม่ของการเมืองภาคประชาชน
        โดย ดร.เชาวนะ ไตรมาศ

                   
       (2) แนวคิดสิทธิชุมชนของไทย โดย นายวิชช์ จีระแพทย์

                   
       (3) การเมืองภาคประชาชน ประชาธิปไตย และสื่อมวลชน
        โดย นายวรุตตม์ เสตสุวรรณ

                   
       (4) การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน โดย ดร.เชาวนะ ไตรมาศ


                   
       ส่วนที่ 3 ภาคการสร้างการเมืองที่มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพ : ประกอบด้วยบทความ 5 บทความ คือ

                   
       (1) ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการบังคับใช้กฎหมาย โดย ศ.ดร.อิสสระ นิติทัณฑ์ประภาศ

                   
       (2) ศาลรัฐธรรมนูญไทยในสถานการณ์การปฏิรูปการเมือง โดย ดร.เชาวนะ ไตรมาศ

                   
       (3) การวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลและตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ โดย รศ.ดร.วิรัช วิรัชนิภาวรรณ

                   
       (4) บทบาทและอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญตามแนวความคิดรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด โดย นายวุฒิชัย จิตตานุ

                   
       (5) รัฐธรรมนูญกับการออกแบบการเมืองใหม่ โดย ดร.เชาวนะ ไตรมาศ


                   
       ส่วนที่ 4 ภาคการตรวจสอบควบคุมการใช้อำนาจรัฐ : ประกอบด้วยบทความ 4 บทความ คือ

                   
        (1) ปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติแห่งกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ หรือการกระทำของบุคคล ตามมาตรา 198 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) โดย รศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์

                   
       (2) รัฐธรรมนูญ : ทำไมต้องตีความ โดย ดร.เชาวนะ ไตรมาศ

                   
       (3) องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญใหม่ : คนไทยใช้ประโยชน์ได้อย่างไร โดย ดร.เชาวนะ ไตรมาศ

                   
       (4) รัฐธรรมนูญกับมิติใหม่แห่งการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ โดย นายกล้า สมุทวณิช

                   
        จะเห็นได้ว่า บทความทั้งหมดที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้เป็นบทความที่น่าสนใจและเขียนโดยนักวิชาการชั้นนำของประเทศไทยครับ สนใจหนังสือเล่มนี้คงต้องลองติดต่อไปที่
       สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญครับ




 
 
กฎหมายปกครอง
กฎหมายมหาชน : ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ
กฎหมายการปกครองท้องถิ่น
กฎหมายปกครอง
สัญญาทางปกครอง
   
 
 
 
ผลงานตำรากฎหมายของศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์
กฎหมายปกครอง
สัญญาทางปกครอง
กฎหมายมหาชน : ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ
รวมกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะระดับชาติ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ: แนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ
กฎหมายมหาชน : แนวประยุกต์
หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและความเป็นมนุษย์
หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง
แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544