หลักกฎหมายปกครองจากข้อสังเกตของ ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ |
|
|
|
ชูเกียรติ รัตนชัยชาญ และคณะ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผู้แต่ง : |
|
ชูเกียรติ รัตนชัยชาญ และคณะ
|
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ : |
|
สำนักพิมพ์วิญญูชน โทรศัพท์ 0-2996-9471-3
|
ปีที่พิมพ์ : |
|
พ.ศ. 2546
|
จำนวนหน้า : |
|
115 หน้า
|
ราคา : |
|
110 บาท |
|
|
|
|
|
ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ เป็นนักกฎหมายมหาชนระดับแนวหน้าของประเทศไทยที่มีบทบาทสำคัญที่สุดในการพัฒนาแนวความคิดและหลักกฎหมายมหาชนในช่วงระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา
นอกเหนือจากผลงานทางวิชาการจำนวนมากที่ได้ลงพิมพ์เผยแพร่ในวารสารกฎหมายและสิ่งพิมพ์ต่างๆแล้ว ในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีการะหว่างปี พ.ศ. 2523 ถึง พ.ศ. 2533 ท่านได้ให้ "ข้อสังเกต" ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับการพิจารณาคดีปกครองอันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคณะกรรมการกฤษฎีกาไว้หลายร้อยเรื่อง ข้อสังเกตประกอบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์เหล่านี้ เป็นข้อสังเกตที่มีคุณค่าทางวิชาการเป็นอย่างยิ่งเพราะท่านอาจารย์อมรฯ ได้นำเสนอแนวคิดและทฤษฎีรวมทั้งยังได้วางหลักกฎหมายปกครองที่อาจกล่าวได้ว่า ข้อสังเกตเหล่านี้ได้กลายมาเป็นที่มาของกฎหมายปกครองที่สำคัญในระบบกฎหมายปกครองไทยในปัจจุบัน
หนังสือเล่มนี้จัดทำโดย คณะผู้ศึกษาจำนวน 10 คนที่รับราชการและเคยรับราชการอยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยคณะผู้ศึกษาได้ทำการศึกษา รวบรวมข้อสังเกตของท่านอาจารย์อมรฯ แล้วนำมาสรุปสาระสำคัญและแบ่งกลุ่มออกเป็น 3 กลุ่ม คือ หลักกฎหมาย ปกครองภาคสารบัญญัติ ซึ่งประกอบด้วย ข้อสังเกตและความเห็นเกี่ยวกับนิติกรรมทางปกครอง สัญญาทางปกครอง การเยียวยาภายในฝ่ายปกครอง ความรับผิดของรัฐ ดุลพินิจ การบริหารงานบุคคล วินัยและสิทธิประโยชน์ต่างๆ ที่ดินและการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ควบคุมอาคาร ฯลฯ หลักกฎหมายปกครองภาควิธีสบัญญัติ ซึ่งประกอบด้วย ข้อสังเกตและความเห็นเกี่ยวกับเขตอำนาจศาล ผู้เสียหาย อายุความ คำพิพากษาศาลปกครอง ฯลฯ และหลักกฎหมายปกครองในส่วนที่ว่าด้วยองค์กรต่างๆ ซึ่งประกอบด้วยข้อสังเกตและความเห็นเกี่ยวกับคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาท องค์กรควบคุมการประกอบวิชาชีพ ฯลฯ
ข้อสังเกตและความเห็นทั้งหลายของท่านอาจารย์อมรฯ ที่กล่าวมาแล้ว คณะผู้ศึกษาได้นำมาสรุปย่อและแบ่งเป็นหมวดหมู่เพื่อความสะดวกในการศึกษาค้นคว้า หากผู้สนใจได้อ่านหนังสือเล่มนี้แล้วก็จะพบว่า ข้อสังเกตทั้งหลายที่ท่านอาจารย์อมรฯ ได้ทำขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้วยังคงเป็นสิ่งที่ "ทันสมัย" และ "ใช้ได้" อยู่ในปัจจุบัน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|