หน้าแรก หนังสือทางกฎหมาย
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มานิตย์ จุมปา
21 ธันวาคม 2547 12:03 น.
 
 
ผู้แต่ง :   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มานิตย์ จุมปา
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ :   สำนักพิมพ์นิติธรรม โทร. 0-2934-0261-2
ปีที่พิมพ์ :   พิมพ์ครั้งที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2545
จำนวนหน้า :   723 หน้า
ราคา :   450 บาท
 

            
       อาจารย์มานิตย์ฯ ออกหนังสือเล่มนี้เป็นครั้งแรกภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันประกาศใช้ไม่นาน ยังจำได้ว่าในครั้งนั้น บนแผงหนังสือแทบจะไม่มีหนังสือเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันเลย คงมีเพียงตัวบทเท่านั้นที่มีการนำมาขาย ฉะนั้น หนังสือเล่มนี้จึงนับได้ว่าเป็นหนังสือ "เล่มแรกๆ" ของประเทศไทยที่นำเอารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมาอธิบายอย่างละเอียด

                   
       เวลาผ่านไป อาจารย์มานิตย์ ฯ ก็ได้แก้ไขหนังสือไปอีกหลายครั้ง การแก้ไขแต่ละครั้งก็เพื่อปรับปรุงหนังสือให้สอดคล้องกับองค์กรต่างๆที่ตั้งขึ้นใหม่และกฎหมายใหม่ๆ ที่เป็นส่วนขยายหรือส่วนเสริมรัฐธรรมนูญที่ทยอยออกมาในระยะเวลาที่ผ่านมา จนกระทั่งวันนี้ หนังสือเล่มนี้พิมพ์เป็นครั้งที่ 4 และมีจำนวนหน้าที่มากขึ้นกว่าการพิมพ์ครั้งแรกเท่าตัว และนับได้ว่าเป็นหนังสือ "คำอธิบาย" รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันที่สมบูรณ์ที่สุดเล่มหนึ่งของประเทศไทย

                   
       สาระสำคัญของหนังสือแบ่งออกเป็น 18 บท โดยในแต่ละบทผู้เขียนได้ทำการอธิบายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันแยกเป็นรายหมวด มีการสอดแทรกแนวคิด ทฤษฎีของเรื่องต่างๆที่นำมาอธิบายประกอบไว้ด้วย นอกจากนี้แล้ว หากรัฐธรรมนูญมาตราใดมีความเกี่ยวข้องกับกฎหมายอื่น ผู้เขียนก็จะนำเอากฎหมายนั้นขึ้นมาเสนอไว้อย่างเป็นระบบ สิ่งที่ดีอีกสิ่งหนึ่งของหนังสือเล่มนี้ คือ ในส่วนที่เป็นกระบวนการและขั้นตอนต่างๆที่ค่อนข้างยุ่งยากและซับซ้อน ผู้เขียนได้จัดทำเป็นแผนภูมิเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีการนำเอาข้อมูลต่างๆที่จำเป็น เช่น คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ คำพิพากษาศาลปกครอง และคำวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลที่สำคัญๆมาเสนอเอาไว้ด้วย ส่วนในบทสุดท้าย ผู้เขียนได้รวบรวมประเด็นในการแก้ไขรัฐธรรมนูญบางประเด็นที่มีการเสนอในที่ต่างๆไว้รวม 4 ประเด็นเพื่อให้ภาพของการแก้ไขรัฐธรรมนูญชัดเจนยิ่งขึ้น ส่วนในภาคผนวกนั้น ประกอบด้วยเอกสารสำคัญต่างๆ คือ ข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและกรรมาธิการ พ.ศ.2542 คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 11/2542 เรื่อง ประธานรัฐสภาขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยว่า หนังสือแจ้งความจำนงขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการและการเงินที่รัฐบาลมีไปถึงกองทุนการเงินระหว่างประเทศเป็นหนังสือสัญญาที่จะต้องได้รับความเห็นชอบของรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญมาตรา 224 วรรคสองหรือไม่ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 36/2542 เรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานภาพของการเป็นรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 216 (4) คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 50/2542 เรื่องประธานสภาผู้แทนราษฎรส่งความเห็นของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเห็นว่าร่างพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. …. มีข้อความขัดหรือแย้ง หรือตราขึ้นโดยไม่ถูกต้องตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3699-3739 /2541 เรื่องเสรีภาพในการนับถือศาสนา และกรอบเบื้องต้นของการร่างรัฐธรรมนูญที่จัดทำโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญ (สสร.)

                   
       หนังสือเล่มนี้เหมาะสำหรับห้องสมุดต่างๆ (ทั้งนี้เป็นห้องสมุดกฎหมายหรือห้องสมุดธรรมดาเพราะสาระสำคัญของหนังสือมีความจำเป็นสำหรับประชาชนทั่วๆไป) นิสิตนักศึกษาและประชาชนทุกระดับเพราะอ่านแล้วเข้าใจง่ายและมีสาระสำคัญครบถ้วน คุ้มค่ากับการมีไว้ใช้งานครับ


 
 
กฎหมายปกครอง
กฎหมายมหาชน : ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ
กฎหมายการปกครองท้องถิ่น
กฎหมายปกครอง
สัญญาทางปกครอง
   
 
 
 
ผลงานตำรากฎหมายของศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์
กฎหมายปกครอง
สัญญาทางปกครอง
กฎหมายมหาชน : ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ
รวมกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะระดับชาติ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ: แนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ
กฎหมายมหาชน : แนวประยุกต์
หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและความเป็นมนุษย์
หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง
แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544