การใช้สิทธิของประชาชนตาม พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของทางราชการ พ.ศ. 2540 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผู้แต่ง : |
|
สมชัย วัฒนการุณ
|
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ : |
|
สำนักพิมพ์วิญญูชน โทร.02-9969471-3
|
ปีที่พิมพ์ : |
|
พ.ศ.2544
|
จำนวนหน้า : |
|
260 หน้า |
ราคา : |
|
245 บาท
|
|
|
|
|
|
นับแต่กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของทางราชการประกาศใช้บังคับในเวลาที่ไล่เลี่ยกับการประกาศใช้บังคับของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2540) การใช้สิทธิของประชาชนในเรื่องการขอข้อมูลข่าวสารของทางราชการดูจะเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งในระบอบประชาธิป ไตยสมัยใหม่ของไทย จะเห็นได้จากการขอข้อมูลข่าวสารในหลายๆเรื่องที่เป็นข่าวในสังคมอย่างต่อเนื่องไม่ว่าจะเป็นกรณีการขอข้อมูลเกี่ยวกับการสอบเข้าเรียนที่โรงเรียนสาธิตเกษตรฯหรือการขอข้อมูลสำคัญๆเกี่ยวกับการทำธุรกรรมต่างๆของหน่วยงานของรัฐในหลายๆรูปแบบ เช่น การให้เช่าที่ดินหรือการให้สัมปทาน เป็นต้น ในช่วง 4 ปีที่ผ่านมาจึงนับได้ว่าเป็นช่วงที่มีการตื่นตัวเป็นอย่างสูงในเรื่องการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการ
แม้จะมีหนังสือ ตำรา หรือคำอธิบายสาระสำคัญของการใช้สิทธิของประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการออกมาหลายต่อหลายเล่ม ซึ่งเขียนโดยนักวิชาการหลายระดับตั้งแต่รุ่นเล็กจนรุ่นใหญ่ แต่ pub-law.net ก็ขอเสนอหนังสือเล่มนี้อีกเล่มหนึ่งโดยมีเหตุผลหลายอย่างหลายประการ กล่าวคือ ในส่วนที่เกี่ยวกับผู้เขียนนั้น งานเขียนชิ้นนี้เป็นงานเขียนที่พัฒนามาจากเอกสารวิชาการส่วนบุคคลที่ผู้เขียนทำเมื่อครั้งเป็นนักศึกษารุ่น 4 ของสถาบันพระปกเกล้าในหลักสูตรการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยสำหรับนักบริหารระดับสูง (ป.ป.ร) และนอกจากนี้ในปัจจุบัน ผู้เขียนยังเป็นตุลาการศาลปกครองอีกด้วย เมื่อดูประวัติผู้เขียนที่ปรากฏอยู่ท้ายหนังสือจะเห็นได้ว่าเป็นผู้มีประสบการณ์เกี่ยวกับเรื่อง "ข้อมูลข่าวสาร" มากพอควร ในส่วนที่เกี่ยวกับเนื้อหานั้น แม้ในช่วงต้น 5 บทแรกจะเป็นการนำกฎหมายมาอธิบายก็ตาม แต่ก็เป็นการอธิบายที่ง่ายแก่การเข้าใจและมีความชัดเจนสมบูรณ์ครบถ้วนเหมาะสำหรับเป็นคู่มือในการใช้สิทธิเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการของประชาชน นอกจากนี้แล้วในตอนกลางของบทที่ 5 ผู้เขียนยังได้นำเอา แนวคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ที่สำคัญๆมาสรุปและแสดงไว้โดยแยกเป็นหมวดหมู่รวม 8 เรื่องด้วยกัน คือ การสอบสวนทางวินัยและการสอบสวนข้อเท็จจริง การดำเนินกระบวนการยุติธรรม การประกวดราคาและจัดซื้อจัดจ้าง คะแนนสอบ การประเมินผลงานทางวิชาการ การเลือกตั้ง การเปิดเผยความเห็นหรือคำแนะนำภายในหน่วยงานของรัฐ และความลับของราชการ ส่วนในตอนท้ายของบทที่ 5 นั้นได้มีการนำเอาคำวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยด้านเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ ด้านการแพทย์และสาธารณสุข และด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี อุตสาหกรรมและการเกษตร ที่สำคัญๆมาสรุปและแสดงไว้เช่นกัน
ใน 3 บทสุดท้าย ผู้เขียนได้ทำการวิเคราะห์ถึงความไม่เข้าใจของประชาชนในการใช้สิทธิขอข้อมูลข่าวสารว่ามีหลายประการด้วยกัน โดยผู้เขียนได้เสนอแนะทางในการแก้ไขปัญหาต่างๆเหล่านั้นไว้ด้วยในบทที่ 6 ส่วนบทที่ 7 นั้น เป็นเรื่องสำคัญที่สุด เรื่องหนึ่งที่ในปัจจุบันยังมีผู้พูดถึงและเขียนถึงน้อยมากนั่นคือเรื่องสิทธิของประชาชนในการร้องเรียน อุทธรณ์และฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งผู้เขียนได้นำเอาสิทธิของประชาชนที่จะร้องเรียนการไม่ปฏิบัติหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการไปยังคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ และมีสิทธิอุทธรณ์การใช้ดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารเป็นผู้ชี้ขาด หรือยื่นฟ้องต่อศาลปกครองด้วยเหตุที่ไม่เปิดเผยข้อมูลข่าวสารตามที่ขอได้ด้วย ส่วนในบทสุดท้าย ก็เป็นบทสรุปการใช้กฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการที่ผู้เขียนได้นำแสดงถึงปัญหาและมีข้อเสนอแนะเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาเอาไว้ด้วย
pub-law.net มีความยินดีขอแนะนำหนังสือเล่มนี้แก่ผู้อ่านทั่วๆไปโดยขอ "ติดดาว" ให้หนังสือเล่มนี้ด้วยว่าเป็นหนังสือเกี่ยวกับกฎหมายมหาชนที่ดีเล่มแรกของปี 2545 นี้เลยครับ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|