2475 การปฏิวัติสยาม |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผู้แต่ง : |
|
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
|
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ : |
|
มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ โทร.02-433-8713
|
ปีที่พิมพ์ : |
|
พิมพ์ครั้งที่สอง พ.ศ.2543
|
จำนวนหน้า : |
|
241 หน้า
|
ราคา : |
|
150 บาท
|
|
|
|
|
|
รายละเอียดการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ถูกนำเสนออย่างละเอียดในหนังสือเล่มนี้ รวมทั้งภาพประกอบจำนวนมากซึ่งในปัจจุบันนับว่าหาดูได้ยากพอสมควร เช่น ภาพเกี่ยวกับเหตุการณ์ในวันเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือแม้กระทั่งภาพอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยขณะกำลังก่อสร้างอยู่ เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทั้งหลายที่บรรจุอยู่ในหนังสือเล่มนี้เป็นสิ่งซึ่งดีมากๆที่ผู้สนใจประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทยทุกคนไม่อาจพลาดได้ หนังสือเล่มนี้มีเนื้อหาที่วิเคราะห์ถึงสาเหตุต่างๆที่เกี่ยวข้องและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทยไว้หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการเงินการคลังของประเทศ ปัญหาอันเกิดจากการตั้ง อภิรัฐมนตรีสภา ขึ้นจากเชื้อพระวงศ์ชั้นผู้ใหญ่เพื่อทำหน้าที่ในการถวายคำปรึกษาในเรื่องการบริหารราชการแผ่นดินอันเป็นการเปลี่ยนแปลงจากสมัยรัชกาลที่ 6 ที่ทรงตั้งสามัญชนหรือเชื้อสายขุนนางชั้นผู้น้อยจนมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นการ เล่นพรรคเล่นพวก ในหมู่เจ้านาย (หน้า 52) รวมทั้งปัญหาอื่นๆอีกมากมายหลายประการทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมของไทย
ในตอนท้ายของหนังสือ ได้มีการรวบรวมเอกสารประวัติศาสตร์ 2475 ที่น่าสนใจไว้จำนวนมากซึ่งผู้รวบรวมคือ ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ เอกสารทั้งหลายเหล่านี้ล้วนแต่เป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญทั้งสิ้น เริ่มต้นจากเอกสารสำคัญที่มีขึ้นก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เช่น ประกาศเรื่องความอัตคัตฝืดเคืองลงวันที่ 2 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับสถานะทางการคลังของประเทศช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยในประกาศได้แสดงให้เห็นถึงความเดือนร้อนของผู้คนในประเทศทั้งหมดว่า แม้แต่เจ้าหรือประชาชนธรรมดาก็ลำบากเหมือนกัน ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้นก็มีเอกสารสำคัญหลายชิ้นที่ถูกนำมาบรรจุไว้ในภาคผนวก เช่น ประกาศฉบับแรกของคณะราษฎรที่มีขึ้นภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองซึ่งมีการ วิพากษ์ กษัตริย์อย่างรุนแรง ประกาศคณะราษฎรลงวันที่ 24 มิถุนายน พุทธศักราช 2475 แก่หนังสือพิมพ์ที่กำหนดให้ ต้องนำต้นเรื่องมาให้ผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารตรวจ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคมก่อนที่จะพิมพ์ พระราชกำหนดนิรโทษกรรมในคราวเปลี่ยนแปลงการปกครอง พุทธศักราช 2475 ที่กำหนดให้ บรรดาการกระทำทั้งหลายทั้งสิ้นเหล่านั้นไม่ว่าของบุคคลใดๆในคณะราษฎรนี้ หากว่าจะเป็นการละเมิดบทกฎหมายใดๆก็ดี ห้ามมิให้ถือว่าเป็นการละเมิดกฎหมายเลย รวมทั้งยังมีข้อมูลเกี่ยวกับรายชื่อคณะราษฎรจำนวน 102 คนไว้ด้วย
หนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือดีอีกเล่มที่มีข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปีพุทธศักราช 2475 อย่างครบถ้วน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|