วารสารศาลรัฐธรรมนูญ ปีที่ 3 เล่มที่ 8 พฤษภาคม-สิงหาคม 2544 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผู้แต่ง : |
|
|
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ : |
|
สำนักศาลรัฐธรรมนูญ โทร.02- 623-9600-9
|
ปีที่พิมพ์ : |
|
พ.ศ.2544 |
จำนวนหน้า : |
|
133 หน้า
|
ราคา : |
|
120 บาท
|
|
|
|
|
|
วารสารศาลรัฐธรรมนูญเล่มนี้ออกมาในช่วงที่ศาลรัฐธรรมนูญกำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์ทั้งในแง่บวกและแง่ลบจากจากสาธารณชนสืบเนื่องมาจากการวินิจฉัยคดี "ซุกหุ้น" ของนายกรัฐมนตรี แต่สาระสำคัญของวารสารมีเพียงเรื่องเดียวที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวคือ บทความเรื่อง "ปัญหาข้อกฎหมายสำคัญในคดีหุ้นของพันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร" ที่เขียนโดย คุณณกฤช เศวตนันทน์ ซึ่งดูจากประวัติแล้วเป็น "นักกฎหมายเอกชน" บทความดังกล่าวเป็นบทความที่ดีบทความหนึ่งที่ให้แง่คิดหลายประการในด้านกฎหมายมหาชนโดยผู้เขียนได้กำหนดประเด็นไว้รวม 7 ประเด็น ซึ่งการกำหนดประเด็นและการเขียนบทความนี้เกิดขึ้นก่อนที่ศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยคดีดังกล่าว pub-law.net ต้องขอ "ปรบมือ" ให้กับนักกฎหมายเอกชนผู้นี้ด้วยที่ได้แสดงความสามารถทางวิชาการด้านกฎหมายมหาชนไว้เป็นอย่างดี
นอกจากบทความดังกล่าวแล้ว วารสารศาลรัฐธรรมนูญฉบับนี้ยังมีบทความของ
คุณวรุตตม์ เสตสุวรรณ เรื่อง "การเมืองภาคประชาชน ประชาธิปไตยและสื่อมวลชน" อันเป็นบทความที่มีลักษณะค่อนไปทางกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากผู้เขียนเป็นนักรัฐศาสตร์ ส่วนบทความเรื่อง "อนาคตการเมืองใหม่ของไทย : ในบริบทของรัฐธรรมนูญฉบับปฏิรูป" โดย ดร.เชาวนะ ไตรมาศ นั้น ผู้เขียนก็ได้สะท้อนให้เห็นถึงสภาพการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) ที่มุ่งหวังจะยกระดับมาตรฐานการเมืองใหม่ขึ้นมาให้กับสังคมรวมสามด้านด้วยกันคือ มาตรฐานการเมืองใหม่ขององค์กรที่ใช้อำนาจทางการเมือง มาตรฐานการเมืองใหม่ขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและมาตรฐานการเมืองใหม่ของฝ่ายประชาชน ส่วนบทความสุดท้ายที่เราขอแนะนำสำหรับวารสารเล่มนี้ คือ บทความของอาจารย์นันทวัฒน์ แห่ง pub-law.net ที่ได้นำงานวิจัยเรื่อง "ปัญหาความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของบทบัญญัติของกฎหมาย กฎ ข้อบังคับ หรือการกระทำของบุคคลตามมาตรา 198 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540)" ซึ่งได้เสนอต่อสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญไปเมื่อปี พ.ศ.2543 มาสรุปย่อเอาไว้ในวารสารเล่มนี้แล้วโดยบทความดังกล่าวได้มีการนำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 24/2543 เกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งมาวิเคราะห์ไว้อย่างละเอียดด้วย คำวินิจฉัยนี้นับเป็นหนึ่งในบรรดาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีผู้คนให้ความสนใจมากโดยเฉพาะในแง่ "คุณภาพ" ของคำวินิจฉัย
นอกเหนือจากบทความทั้งหลายดังกล่าวมาแล้ว ผู้อ่านสามารถศึกษาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับกรณีความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายรวม 2 เรื่องที่ได้นำมาบรรจุไว้ในวารสารเล่มนี้ด้วยแล้ว
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|