การปกครองส่วนท้องถิ่นกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
|
|
|
รศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ และ ดร.แก้วคำ ไกรสรพงษ์
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผู้แต่ง : |
|
รศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ และ ดร.แก้วคำ ไกรสรพงษ์
|
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ : |
|
สำนักพิมพ์วิญญูชน โทร. 9969471-4
|
ปีที่พิมพ์ : |
|
พ.ศ. 2544
|
จำนวนหน้า : |
|
164
|
ราคา : |
|
160 บาท |
|
|
|
|
|
นานๆครั้งเราจะเห็นหนังสือที่ผลิตร่วมกันโดยนักวิชาการต่างสาขา หนังสือเล่มนี้เป็นผลผลิตร่วมกันระหว่างนักกฎหมายมหาชน คือ อาจารย์นันทวัฒน์ฯ กับนักรัฐศาสตร์ คือ อาจารย์แก้วคำฯ โดยมี ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เขียนคำนิยมให้
pub-law.net อยากเขียนแนะนำหนังสือเล่มนี้อย่างมาก แต่เกรงว่าผู้ใช้บริการจะเข้าใจว่า pub-law.net นั้นไม่มีความเป็นกลาง แนะนำแต่หนังสือของอาจารย์นันทวัฒน์ฯคนเดียว ซึ่งจะกลายเป็นอาการ "เชียร์กันเอง" ด้วยเหตุดังกล่าว จึงต้องหา "คนกลาง" มาแนะนำหนังสือเล่มนี้ pub-law.net จึงขอคัดลอกคำนิยมส่วนหนึ่งของอาจารย์ชัยอนันต์ฯ ที่เขียนให้กับหนังสือเล่มนี้มาลงไว้ ณ ที่นี้ เพื่อแนะนำสาระสำคัญของหนังสือ โดยอาจารย์ชัยอนันต์ ฯ ได้กล่าวไว้ในตอนหนึ่งว่า "
..เป็นที่น่ายินดีว่า ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ นักกฎหมายมหาชน และ ดร.แก้วคำ ไกรสรพงษ์ นักรัฐศาสตร์ผู้สนใจนโยบายสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกันเขียนหนังสือเล่มนี้ขึ้น เป็นการบุกเบิกศึกษาเรื่องสำคัญที่ยังไม่เคยมีผู้กระทำในมิตินี้มาก่อน ทั้งนี้เนื่องจากการกระจายอำนาจการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใหม่ หนังสือนี้ได้ให้ภาพรวมครอบคลุมหัวข้อที่จำเป็นต้องรู้ อธิบาย แยกแยะ วิเคราะห์ ลักษณะการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายสำคัญรองรับไว้อย่างละเอียดลึกซึ้ง อีกทั้งยังได้หยิบยกประเด็นที่ควรมีการพิจารณาศึกษาวิจัยต่อไปอีกด้วย ประเด็นสำคัญๆที่ผู้เขียนทั้งสองกล่าวไว้ทั้ง 6 เรื่องในส่วนที่ 3 ของหนังสือนี้ ถือว่าเป็น "การบ้าน" สำหรับการเมืองภาคพลเมือง ที่จะต้องขบคิดกันต่อไป โดยบทวิเคราะห์ในส่วนสุดท้าย ได้ตั้งโจทย์ที่สำคัญไว้ว่า ทำอย่างไรจึงจะให้การใช้ทรัพยากรร่วมกันเป็นไปโดยมีดุลยภาพระหว่างประโยชน์ส่วนตัวกับประโยชน์ชุมชน ดุลยภาพนี้ชนเผ่าบางเผ่าที่อยู่กับป่ามาดั้งเดิมเข้าใจดีและสามารถจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน แต่ในโลกปัจจุบัน ประชากรที่เข้าไปใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติไม่ได้มีแต่ประชากรที่อยู่กับชุมชนมาแต่ดั้งเดิมเท่านั้น ยังมีบุคคลและบริษัทจากภายนอกที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรธรรมชาติของชุมชนต่างๆอีกด้วย บทวิเคราะห์ของหนังสือนี้จึงพยายามเสนอความคิดที่จะช่วยลดความขัดแย้ง ทั้งระหว่างรัฐกับประชาชน และระหว่างประชาชนด้วยกันเอง โดยสรุปว่า ฐานความคิดซึ่งเป็นพื้นฐานของบทบัญญัติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน ต่างไปจากฐานความคิดเดิมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยที่ผ่านมา โดยฐานความคิดใหม่เน้นบทบาทของประชาชนและชุมชนท้องถิ่นซึ่งเป็นผู้ใช้และได้รับผลจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการที่จะดูแลรักษาให้การบริหารจัดการเป็นไปอย่างยั่งยืน ความคิดใหม่นี้เป็นความคิดใหม่นี้เป็นความคิดที่มีศรัทธา ความเชื่อมั่นและความไว้วางใจว่า ประชาชนและชุมชนท้องถิ่นสามารถกำกับควบคุมการใช้ทรัพยากรส่วนรวมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพได้ ผู้เขียนชี้ให้เห็นว่า แนวทางนี้มิได้ปฏิเสธอำนาจรัฐหรือสิทธิส่วนบุคคลแต่อย่างใด หากถือว่าบุคคลสามารถสร้างเงื่อนไขร่วมกันเพื่อให้หลุดพ้นจากสภาพเดิมซึ่งถือว่ารัฐต้องเป็นฝ่ายใช้อำนาจรัฐเป็นหลักในการบริหารจัดการ และมีการกำหนดหลักความผิดทางการปกครองและหลักความผิดเด็ดขาดทางแพ่ง ตลอดจนสภาพบังคับของกฎหมายในทางเศรษฐกิจเป็นหลัก"
คำแนะนำของอาจารย์ชัยอนันต์ฯ ดังกล่าวคงเป็น "ตราประทับ" ที่ดีสำหรับหนังสือเล่มนี้ว่ามีความน่าสนใจเพียงไร
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|