หน้าแรก หนังสือทางกฎหมาย
องค์การเอกชนเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภค
รศ.สุษม ศุภนิตย์
20 ธันวาคม 2547 10:41 น.
 
 
ผู้แต่ง :   รศ.สุษม ศุภนิตย์
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ :   สำนักพิมพ์วิญญูชน โทร.996-9471-4
ปีที่พิมพ์ :   พ.ศ. 2544
จำนวนหน้า :   91 หน้า
ราคา :   70 บาท
 

งานเขียนชิ้นนี้เริ่มต้นจากการที่มาตรา 57 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540) ได้บัญญัติถึงสิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคในการได้รับการคุ้มครองโดยกฎหมายและกำหนดให้ผู้บริโภคมีโอกาสแสดงความเห็นผ่านทาง "องค์การอิสระ" ซึ่งประกอบด้วย "ตัวแทนผู้บริโภค" เป็นผู้ทำหน้าที่ให้ความเห็นเกี่ยวกับการตรากฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ดังนั้นผู้เขียนจึงได้นำเสนอแง่มุมที่น่าสนใจเกี่ยวกับ "องค์การอิสระ" ดังกล่าวว่าควรจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร โดยผู้เขียนได้นำเสนอรูปแบบและการทำงานขององค์การเอกชนในการคุ้มครองผู้บริโภคของต่างประเทศหลายประเทศ เช่น ประเทศญี่ปุ่น ประเทศออสเตรเลีย ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา รวมทั้งองค์กรระดับโลกอย่างเช่น Consumers International ซึ่งมีประเทศสมาชิกเกือบ 100 ประเทศในขณะนี้ดังปรากฏรายชื่ออยู่ในตอนท้ายหนังสือด้วย
       ในบทสรุปของหนังสือ ผู้เขียนได้ให้ข้อเสนอแนะที่จำเป็นไว้หลายประการที่เกี่ยวข้องกับ "องค์กรอิสระ" ตามมาตรา 57 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ.2540)
       หนังสือเล่มนี้จึงเป็นหนังสือดีอีกเล่มหนึ่งที่ชาว pub-law.net ขอปรบมือให้ด้วยความชื่นชม


 
 
กฎหมายปกครอง
กฎหมายมหาชน : ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ
กฎหมายการปกครองท้องถิ่น
กฎหมายปกครอง
สัญญาทางปกครอง
   
 
 
 
ผลงานตำรากฎหมายของศาสตราจารย์ ดร.ชาญชัย แสวงศักดิ์
กฎหมายปกครอง
สัญญาทางปกครอง
กฎหมายมหาชน : ความเป็นมา ทฤษฎี และหลักการที่สำคัญ
รวมกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำบริการสาธารณะระดับชาติ
กฎหมายรัฐธรรมนูญ: แนวคิดและประสบการณ์ของต่างประเทศ
กฎหมายมหาชน : แนวประยุกต์
หลักพื้นฐานเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและความเป็นมนุษย์
หลักกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมฝ่ายปกครอง
แนวคำวินิจฉัยของศาลปกครองเกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544