กรอบแนวคิดการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (พ.ศ. 2550) |
|
|
|
รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรี รูปสุวรรณ |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ผู้แต่ง : |
|
รองศาสตราจารย์ ดร.มนตรี รูปสุวรรณ |
เจ้าของ หรือผู้พิมพ์ : |
|
สำนักพิมพ์วิญญูชน
โทรศัพท์ 02 996 9471-73 |
ปีที่พิมพ์ : |
|
พ.ศ. 2551 |
จำนวนหน้า : |
|
|
ราคา : |
|
|
|
|
|
|
|
หนังสือ กรอบแนวคิดการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ของรองศาสตราจารย์ ดร.มนตรี รูปสุวรรณ เรียบเรียงขึ้นในช่วงที่มีการยกร่างรัฐธรรมนูญโดยสภาร่างรัฐธรรมนูญในช่วงกลางปี พ.ศ. 2550ผู้เขียนได้นำเสนอกระบวนการขั้นตอนการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 และกรอบแนวคิดการร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็น ข้อเสนอ สำหรับการยกร่างรัฐธรรมนูญของสภาร่างรัฐธรรมนูญในประเด็นสำคัญหลายประเด็น ได้แก่ สิทธิเสรีภาพของประชาชน ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ ระบบการควบคุมการทุจริต การแสดงบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ การถอดถอนออกจากตำแหน่ง การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน การตรวจเงินแผ่นดิน โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรีและความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสภาและคณะรัฐมนตรี
ข้อเสนอหลายประการของผู้เขียนได้รับการนำไปใช้ในการยกร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ไม่ว่าจะเป็น การตัดถ้อยคำ ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ออกจากท้ายบทบัญญัติเรื่องสิทธิเสรีภาพ การกำหนดให้วิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญต้องตราเป็นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ เขตอำนาจของศาลปกครองในการควบคุมการใช้อำนาจขององค์กรตามรัฐธรรมนูญ โครงสร้างที่มาของสมาชิกวุฒิสภา แต่ข้อเสนออีกหลายประเด็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และอำนาจหน้าที่ของรัฐสภาก็ยังไม่ได้รับการนำไปใช้จึงเห็นว่าข้อเสนออื่นของผู้เขียนยังคงเป็นประโยชน์ต่อการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญที่อาจจะมีขึ้นในเร็ววันนี้เป็นอย่างยิ่ง
ขอขอบคุณสำนักพิมพ์วิญญูชนที่ได้ส่งหนังสือเล่มนี้มาให้ครับ
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|