หน้าแรก บทความสาระ
833 เรื่อง หน้าที่ 68 จากทั้งหมด 167 หน้า
61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70
 
   
 
 
เกร็ดแนวคิดจากกฎหมายนิวเคลียร์ของประเทศเขาเพื่อกฎหมายนิวเคลียร์ของโรงไฟฟ้าประเทศเรา
27 กุมภาพันธ์ 2554
 
 
ปัจจุบันแม้ว่าพลังงานนิวเคลียร์จะถือเป็นพลังงานทางเลือกอันหนึ่งของประเทศเรา แต่เมื่อกล่าวถึงเรื่องนี้ ผู้เขียนเชื่อว่าหลายๆท่าน รวมถึงตัวผู้เขียนเองก็คงอดไม่ได้ที่จะฝันถึง “โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของไทย” ที่จะเข้ามามีบทบาทเป็นเสมือนสิ่งเติมเต็มสร้างความสะดวกสบายในการดำรงชีวิตประจำวันของเราให้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น ฝันถึงยุคเฟื่องฟูแห่งพลังงานไฟฟ้าที่จะทำให้ชีวิตคนเมืองอย่างเราๆซื้ออุปกรณ์เทคโนโลยีไฮเทค เครื่องใช้ไม้สอยรอบตัวรูปร่างทันสมัยแปลกตาที่ใช้ไฟฟ้าเป็นพลังงานอย่างไม่ต้องกลัวตกรุ่น
ยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค
27 กุมภาพันธ์ 2554
 
 
ผู้อ่านที่เป็นชาวเมืองหลวงเห็นหัวข้อบทความนี้อาจจะมองข้ามผ่านเลยไปเพราะไม่รู้สึกถึงผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของตนเอง และคุ้นเคยต่อการบริหาราชการแผ่นดินที่มีเพียงการบริหารราชการส่วนกลางและราชการส่วนท้องถิ่นโดยไม่มีราชการส่วนภูมิภาคมาตลอดระยะเวลาหลายสิบปีมาแล้ว
ระบบกึ่งรัฐสภาเพื่อการพัฒนาประเทศตามแนวเสนอของ ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์
27 กุมภาพันธ์ 2554
 
 
บทความนี้เป็นการแสดงความคิดเห็นสรุปข้อความที่ข้าพเจ้าเข้าใจ ตามที่ท่านศาสตราจารย์ ดร. อมร จันทรสมบูรณ์ ได้เสนอและให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิรูปการเมืองการปกครองของไทยไว้ หากไม่ตรงหรือเข้าใจไม่ถูกต้องข้าพเจ้าต้องขออภัยและขอให้ท่านอาจารย์ได้ช่วยให้ความกระจ่าง เนื่องจากข้าพเจ้ามิใช่ผู้เชี่ยวชาญ (ท่านอาจารย์เป็นผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายมหาชนที่แท้จริง) และทุ่มเท เสียสละพัฒนาองค์กร กฎหมายมหาชนของประเทศตลอดอายุรับราชการของท่านและให้ความรู้ ชี้แนะ เตือนสติแก่วงการนักกฎหมายและสังคมตลอดมา จึงนับได้ว่าท่านอาจารย์เป็นผู้ที่ได้ชื่อว่า “เกิดมาต้องทดแทนบุญคุณแผ่นดิน” ซึ่งอนุชนนักกฎหมายรุ่นหลังจะต้องยึดถือปฏิบัติ
กรณีศึกษา - case study คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ ๑๕/๒๕๕๓ (กรณียุบพรรคประชาธิปัตย์) ตอนที่ 2 (หน้าที่ 1)
27 กุมภาพันธ์ 2554
 
 
ส่วนที่สอง การสรุป “สาระ” ของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ [หมายเหตุ ในการสรุปนี้ จะไม่มีข้อวิจารณ์หรือความเห็นของผู้เขียน ปะปนอยู่ด้วยแต่ประการใด) ผู้เขียนได้กล่าวไว้ใน “บทนำ”แล้วว่า ในการทำ “ความรู้จัก” กับตุลาการที่เขียนคำวินิจฉัยคดี เราต้องอ่านจาก “ข้อความ” ที่ (”ควร” ปรากฎในคำวินิจฉัย แต่) ไม่ปรากฎในคำวินิจฉัย ; แต่อย่างไรก็ดี ก่อนที่เราจะทราบได้ว่า มีข้อความใดบ้างที่ “ควร” จะปรากฏในคำวินิจฉัย แต่ไม่ปรากฎนั้น เราจำเป็นต้องทราบก่อน ว่า ตุลาการได้เขียนอะไรไว้ในคำวินิจฉัย ; หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ ก่อนที่เราจะรู้ว่า ตุลาการต้องการ “ไม่ให้” เรารู้อะไร เราต้องรู้ก่อนว่า ตุลาการต้องการให้เรา “รู้ ”อะไร ; ดังนั้น ในการวิเคราะห์คำวินิจฉัย(หรือคำพิพากษา))ของศาล สิ่งแรกที่ผู้ทำการวิเคราะห์จะต้องทำ ก็คือ ต้อง“อ่าน”คำพิพากษาและทำ “ความเข้าใจ” กับคำพิพากษาทั้งฉบับ การสรุป“สาระ” ของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ แม้จะดูน่าเบื่อสำหรับท่านผู้อ่านทั่วไป แต่เป็นสิ่งจำเป็นต้องทำสำหรับนักวิเคราะห์ และถ้าท่านผู้อ่านคิดว่า น่าเบื่อที่จะอ่าน ผู้เขียนขอแนะนำว่า ท่านผู้อ่านก็ยังไม่จำเป็นจะต้องอ่านความในส่วนนี้ และข้ามส่วนนี้ไปก่อน และเมื่อไปอ่านบทความส่วนที่เป็นการวิเคราะห์คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว และต้องการอยากทราบว่า สาระของคำวินิจฉัย “เขียน”ไว้อย่างไร ก็ค่อยย้อนกลับมาดู การสรุป“สาระ” ของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ในส่วนที่สองนี้ จะแบ่งเป็น ๓ ตอน คือ ตอนที่ ๑ จะเป็นการสรุปสาระสำคัญของ “คำวินิจฉัย (อย่างไม่เป็นทางการ)” ของศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งอ่านในวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ ; ตอนที่ ๒ จะเป็นการสรุปสาระสำคัญของ คำวินิจฉัยที่เป็นทางการ คือ คำวินิจฉัย ที่ ๑๕ / ๒๕๕๓ ลงวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ (แต่เขียนเสร็จและเผยแพร่ในวันที่ ๘ ธันวาคม ๒๕๕๓) ; และตอนที่ ๓ จะเป็นสรุป(โครงสร้าง) ของ “ความเห็นในการวินิจฉัย – ส่วนตน” ของตุลาการแต่ละท่าน อย่างสั้น ๆ
คณะรัฐมนตรีของประเทศฝรั่งเศส (ตอนที่ 1)
11 กุมภาพันธ์ 2554
 
 
คณะรัฐมนตรี (Conseil des ministres) เป็นคณะบุคคลที่ใช้อำนาจบริหาร (pouvoir exécutif) เพื่อทำหน้าที่ในการบริหารแผ่นดิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจอธิปไตย คณะรัฐมนตรีจึงเป็นองค์กรสำคัญที่ดำเนินการบริหารงานและกำหนดนโยบายในการบริหารประเทศ ซึ่งต้องมีความสัมพันธ์กับองค์กรของรัฐประเภทต่างๆ
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544