หน้าแรก บทความสาระ
833 เรื่อง หน้าที่ 62 จากทั้งหมด 167 หน้า
61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70
 
   
 
 
ยุทธศาสตร์การเลือกตั้งแบบหมากัดกัน
03 กรกฎาคม 2554
 
 
การต่อสู้แย่งชิงที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรกันอย่างดุเดือดในขณะนี้ทำให้ผมนึกถึงนิทานอิสปเรื่อง เรื่อง หมาป่ากับสุนัขจิ้งจอกที่แย่งถ้ำที่เก็บเสบียงอาหารไว้อย่างอุดมสมบูรณ์กัน แต่สุดท้ายถูกคนเลี้ยงแกะฆ่าตายทั้งคู่  ที่ผมนึกถึงนิทานอีสปเรื่องนี้เพราะว่าการเลือกตั้งที่มีขึ้นในวันที่ 3 กรกฏาคมที่ผ่านมานี้ เป็นการต่อสู้แย่งชิงอำนาจกันระหว่าง 2 พรรคใหญ่ดังที่เราทราบกัน
การแจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครอง : หลักเกณฑ์ทั่วไปหรือเงื่อนไขความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครอง ?
19 มิถุนายน 2554
 
 
กระบวนการพิจารณาทางปกครองในบางเรื่องอาจมีหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่ซับซ้อน แต่ประชาชนส่วนใหญ่ที่เข้ามาในกระบวนการพิจารณาทางปกครองมักจะไม่มีความรู้ทางกฎหมายหรือขั้นตอนปฏิบัติของทางราชการ ดังนั้น พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ จึงได้บัญญัติในมาตรา ๒๗ ให้เจ้าหน้าที่แจ้งสิทธิและหน้าที่ในกระบวนการพิจารณาทางปกครองแก่คู่กรณี เพื่อที่คู่กรณีจะได้ทราบถึงหลักเกณฑ์และขั้นตอนการดำเนินกระบวนการพิจารณาทางปกครอง ซึ่งจะทำให้เกิดความโปร่งใสในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดสมาชิกภาพตามรัฐธรรมนูญ ฉบับปี พ.ศ. 2550
19 มิถุนายน 2554
 
 
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปในวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554[1] เป็นการแสดงออกซึ่งเจตจำนงทางการเมืองของประชาชนในการเลือกบุคคลเพื่อทำหน้าที่เป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยเข้าไปในสภาผู้แทนราษฎรตามกระบวนทางกฎหมายที่กำหนดไว้ แม้ผู้สมัครรับเลือกตั้งจะได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและเข้าดำรงตำแหน่งแล้วก็ตาม แต่ก็มีเหตุที่ทำให้สมาชิกภาพของความเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลงได้
ต้องออกไปเลือกตั้ง เพื่อยับยั้งอำนาจที่ไม่พึงประสงค์
19 มิถุนายน 2554
 
 
ท่ามกลางฝุ่นควันของการรณรงค์เลือกตั้งที่คลุ้งตลบไปทั่วทุกหัวระแหงของเมืองไทยในขณะนี้ ใครที่ไม่พูดถึงการเลือกตั้งก็จะกลายเป็นคนตกยุคตกสมัยไปในทันที หัวข้อที่สนทนากันก็แล้วแต่ว่าจะอยู่ในวงสนทนาของกลุ่มชนใด บ้างก็ Vote No บ้างก็ No Vote บ้างก็ Vote Yes บ้างก็ Vote Now บ้างก็เชียร์เบอร์ ๑ บ้างก็เชียร์เบอร์ ๑๐ ฯลฯ บ้างก็บอกไม่ชอบเพื่อไทยและไม่พอใจประชาธิปัตย์แต่ไม่อยากVote Noเพราะกลัวจะเข้าทางพันธมิตร ฯก็ยังเลยไม่ตัดสินใจ
กรณีศึกษา - case study คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ ๑๕/๒๕๕๓ (กรณียุบพรรคประชาธิปัตย์) ตอนที่ 5 (หน้าที่ 1)
05 มิถุนายน 2554
 
 
ใน ข้อที่ (๒) และข้อที่ (๓) (ของส่วนที่สาม ) ที่ผ่านมา เราได้ทำ ความรู้จัก กับ ตุลาการของศาลรัฐธรรมนูญ (เสียงข้างมาก) โดยได้วิเคราะห์ “การให้เหตุผลในการวินิจฉัยชี้ขาด” ของตุลาการฝ่ายข้างมาก จำนวน ๔ ท่าน ที่วินิจฉัยให้ยกคำร้องของนายทะเบียนพรรคการเมือง ใน “ประเด็น(ข้อกฎหมาย)” มาแล้ว ; ต่อไปนี้ (ข้อที่ (๔)) เราจะทำความรู้จัก กับ “ตุลาการ”ทุกท่าน รวม ๖ ท่าน โดยจะวิเคราะห์ จาก”การให้เหตุผล ฯ” ของตุลาการแต่ละท่าน ใน “ประเด็น (ข้อเท็จจริง)” ที่ว่า พรรคประชาธิปัตย์ กระทำผิดตามข้อกล่าวหาของนายทะเบียนพรรคการเมือง หรือไม่
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544