หน้าแรก บทความสาระ
833 เรื่อง หน้าที่ 61 จากทั้งหมด 167 หน้า
61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70
 
   
 
 
ปัญหาการอุทธรณ์คำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (หน้า 2)
31 กรกฎาคม 2554
 
 
๔. ทางออกของปัญหา ปัญหาว่าจะทำอย่างไรต่อระบบอุทธรณ์ที่ไม่มีผู้ใดได้รับประโยชน์ นั้น ผู้เขียนเห็นว่า มีวิธีการแก้ไขปัญหาอยู่หลายแนวทางด้วยกัน ขึ้นอยู่กับว่า โดยหลักการแล้ว เราเห็นสมควรให้คำสั่งให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็น “คำสั่งทางปกครอง” หรือไม่ และในกรณีที่เป็นคำสั่งทางปกครอง เราเห็นสมควรให้มีการอุทธรณ์คำสั่งก่อนฟ้องคดีต่อศาลหรือไม่ ซึ่งแนวทางแก้ไขปัญหาอาจแยกได้ตามข้อพิจารณาข้างต้นเป็น ๓ กรณี ดังนี้
ไทยกับการละเมิดสิทธิมนุษยชน
17 กรกฎาคม 2554
 
 
เมื่อต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาแอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล(Amnesty International)หรือที่เรารู้จักกันโดยทั่วไปว่าองค์การนิรโทษกรรมสากล ได้จัดทำรายงานประจำปี 2554 เพื่อรายงานสถานการณ์การละเมิดสิทธิมนุษยชนของประเทศต่างๆทั่วโลก ซึ่งรวมถึงประเทศไทยเราด้วย
การใช้และการตีความกฎหมายปกครอง (หน้าที่ 1)
03 กรกฎาคม 2554
 
 
การนำเสนอบทความนี้ สืบเนื่องจากผู้เขียนได้สำรวจบทความกฎหมายและเอกสารทางวิชาการเกี่ยวกับการตีความกฎหมายพบว่า นับแต่มีการตีพิมพ์ในการตีความกฎหมายพบว่า ไม่มีบทความกฎหมายใดที่เขียนเกี่ยวกับการตีความกฎหมายปกครองโดยตรงเลย จะมีแต่บทความกฎหมายว่าด้วยการใช้และการตีความกฎหมายมหาชน ของ รศ.ดร. วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ซึ่งถือว่าครอบคลุมถึงการใช้และการตีความกฎหมายปกครองด้วย แต่ทำให้เกิดคำถามสำคัญว่า เมื่อมีหลักการใช้และการตีความกฎหมายมหาชนแล้ว จะมีหลักเฉพาะการใช้และการตีความกฎหมายปกครองหรือไม่
ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาจริงหรือ ?
03 กรกฎาคม 2554
 
 
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ ในกรณีเจ้าหน้าที่ปฏิบัติหน้าที่แล้วเกิดการละเมิดไม่ว่าจะโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เมื่อหน่วยงานของรัฐ(ซึ่งมีฐานะเป็น กระทรวง ทบวง กรม หรือส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็นกรม และราชการส่วนภูมิภาค) ได้ออกคำสั่งทางปกครองให้เจ้าหน้าที่รับผิด ตามความเห็นของกระทรวงการคลังแล้ว คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครอง เจ้าหน้าที่ผู้รับคำสั่งมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ เจ้าหน้าที่ผู้ทำคำสั่งต้องพิจารณาและเสนอความเห็นต่อผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์
การใช้และการตีความกฎหมายปกครอง (หน้าที่ 2)
03 กรกฎาคม 2554
 
 
การใช้กฎหมายในกรณีนี้เป็นการใช้กฎหมายเพื่ออุดช่องว่าง ที่เกิดจากการไม่มีบทบัญญัติที่เป็นข้อยกเว้นไว้ในกฎหมายลายลักษณ์อักษร (ช่องว่างแบบ contra verba legis) การใช้กฎหมายในกรณีนี้เห็นได้ชัดว่าเป็นการใช้กฎหมายในทางตรงกันข้ามกับถ้อยคำที่ปรากฏชัดแจ้ง ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกฎหมาย ข้อที่ต้องเน้นย้ำไว้ก็คือ การใช้กฎหมายในกรณีนี้ผู้ใช้กฎหมายไม่ได้ตรวจสอบวัตถุประสงค์ของกฎหมายว่าเหมาะสมถูกต้องหรือไม่ แต่เป็นกรณีที่ผู้ใช้กฎหมายตรวจสอบและลดรูปถ้อยคำของบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของกฎหมาย เพราะถ้าใช้กฎหมายตามถ้อยคำนั้นแล้ว ย่อมจะเกิดผลอันประหลาดและไม่อาจยอมรับได้
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544