หน้าแรก บทความสาระ
เราจะตั้งชื่อ “ระบอบการปกครองตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540” ว่าระบอบอะไร โดย ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์
ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์
28 พฤษภาคม 2549 21:16 น.
 
(หมายเหตุ เนื่องจากต้นฉบับของผู้เขียนได้รับการจัดทำเป็นรูปแบบของ power point ซึ่งทาง www.pub-law.net ได้คัดลอกเฉพาะเนื้อหามาเพื่อทำการเผยแพร่ลงใน www.pub-law.net หากผู้ใดสนใจต้นฉบับเต็มที่เป็นรูปแบบของ power point สามารถdownloadได้ที่นี่)
       
       เราจะตั้งชื่อ “ระบอบการปกครองตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540” ว่าระบอบอะไร
       
       ส่วนที่ 1 “รูปแบบการปกครอง” ตามรัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ ในยุคปัจจุบัน
       
       ส่วนที่ 2 รูปแบบการปกครอง ตาม “รัฐธรรมนูญปัจจุบัน (พ.ศ.2540)” ของไทย
       
       ส่วนที่ 3 “ทางออกของคนไทย” - การปฏิรูปการเมือง
         
       
       รูปแบบการปกครองตามรัฐธรรมนูญของประเทศต่างๆ ในปัจจุบัน
       -รูปแบบการปกครองของประเทศต่างๆทั่วโลกมีระบอบการปกครองหลายระบบ (system) และเรียก “ชื่อ” ต่างกันตามความแตกต่างของการกำหนด โครงสร้างระบบสถาบันการเมือง
       
- ทุกประเทศต่างเรียกระบอบของตนเองว่าเป็น “ระบอบประชาธิปไตย”
       
       “ระบบ” ของการปกครองในปัจจุบัน (ยกเว้นประเทศไทย) แบ่งได้เป็น 4 ระบบ (system) คือ
       
       
(1) ระบบประธานาธิบดี (presidential system) (สหรัฐอเมริกา)
       
       (2) ระบบรัฐสภา (parliamentary system) มี 2 รูปแบบ
       
       (ก) แบบที่พระมหากษัตริย์ทรงอยู่เหนือการเมือง เช่น ประเทศอังกฤษที่ใช้ “จารีตประเพณีตามรัฐธรรมนูญ – constitutional convention” โดยไม่มีรัฐธรรมนูญเป็นลายลักษณ์อักษร (กลุ่มการเมืองที่มีเสียงข้างมากในสภาจะเป็นฝ่ายบริหารในขณะเดียวกัน)
       
       (ข) แบบที่พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจเป็นฝ่ายบริหาร เช่น ประเทศ เดนมาร์ก (เอกสารแนบหมายเลข 1)
       
       (3) ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองพรรคเดียว (พรรคคอมมิวนิสต์) เช่น ประเทศจีน และเวียดนาม (เอกสารแนบหมายเลข 2)
       
       (4) ระบบผสม (hybrid system) มี 2 แบบ คือ
       
       - ระบบกึ่งรัฐสภา เช่น ประเทศเยอรมัน (เอกสารแนบหมายเลข 3)
        
       - ระบบกึ่งประธานาธิบดี เช่น ประเทศฝรั่งเศส และเกาหลีใต้ (เอกสารแนบหมายเลข 4)
       
       [หมายเหตุ : ตัวอย่างการปรับ “โครงสร้างระบบสถาบันการเมือง” ในรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย พ.ศ.2475 (เอกสารแนบหมายเลข 5)]
       
       ในบรรดา 4 ระบบ ดังกล่าวนี้
       - ระบบประธานาธิบดี / ระบบรัฐสภา / ระบบผสม ในทางวิชาการเรียกว่า “ระบอบเสรีประชาธิปไตย”
       - ระบบเผด็จการโดยพรรคคอมมิวนิสต์ เรียกตนเองว่า เป็น “ระบอบสังคมนิยมประชาธิปไตย”
       
       ระบบที่ 5 มีเพียงประเทศเดียวในโลก และเป็นระบบที่ยังไม่มีการตั้ง “ชื่อ” ระบบนั้น คือ ระบบสถาบันการเมืองตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2540) ของไทย ฉบับที่เราเรียกกันว่า “ฉบับประชาชน”
       
       ระบบสถาบันการเมืองตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 เป็นระบบรัฐสภา แบบที่ 3 คือ “ระบบเผด็จการทางรัฐสภาโดยพรรคการเมือง” (ซึ่งให้พรรคการเมืองแข่งขันเลือกตั้งกันเข้ามากุมอำนาจรัฐทั้งในสภานิติบัญญัติและเป็นรัฐบาล)
       
       รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 (ระบบเผด็จการทางรัฐสภาโดยพรรคการเมือง) บัญญัติให้
       (1) ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง
       (2) ส.ส.ต้องพ้นจากสมาชิกภาพของ ส.ส.เมื่อพรรคการเมืองมีมติให้ ส.ส.พ้นจากสมาชิกของพรรคการเมือง
       (3) กำหนด ให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.
       ระบบนี้ไม่ใช่ “เสรีประชาธิปไตย” และไม่ใช่ “สังคมนิยมประชาธิปไตย”
       
       เราจะเรียกชื่อ “ระบบเผด็จการทางรัฐสภาโดยพรรคการเมือง” ว่าเป็นระบอบอะไร?
       การเลือกตั้งในประเทศไทยในภาวะที่สภาพสังคมวิทยาการเมืองของสังคมไทย อ่อนแอ ประกอบกับการที่มีสภาพกฎหมายที่กำหนดกลไกบริหาร / กระบวนการยุติธรรม / ท้องถิ่นพิกลพิการ ก่อให้เกิดระบบเผด็จการโดยพรรคการเมือง (นายทุนธุรกิจ)
       
       รูปแบบของ “รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน” เชิญชวนให้นักธุรกิจการเมืองลงทุน – invest จัดตั้งพรรคการเมือง
       
       ระบอบการปกครองตามรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2540) เป็น “ระบอบประชาธิปไตย” หรือไม่ (?) เพราะ ส.ส.ที่ได้รับเลือกตั้งไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามมโนธรรมของตนแต่ต้องปฏิบัติตามมติพรรคการเมืองของนายทุนธุรกิจ
       นักการเมืองในประเทศด้อยพัฒนาที่ประสบความสำเร็จและมีชื่อเสียงระดับโลก จนมีหนังสือชีวประวัติให้เราอ่านจะมีนโยบาย 2 ซีก (ด้าน)
       
       ซีกสว่าง ได้แก่ นโยบายเอื้ออาทร (ลด / แลก / แจก / แถม) populist policy เพื่อให้ตนเองได้คะแนนนิยมจากคน (ยากจน) ส่วนใหญ่ของประเทศ เพื่อเป็นฐานของการยึดครองอำนาจทางการเมือง
       
       ซีกมืด ได้แก่ การคอรัปชั่นและแสวงหาประโยชน์ให้แก่ตนเองพรรคพวกและครอบครัว ทั้งทางตรง และทางอ้อม /การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ/การหาประโยชน์ส่วนตัวร่วมกับต่างชาติ / การกินเปอร์เซ็นต์ (%) จากการก่อสร้างของรัฐ / การแต่งตั้งพรรคพวกและญาติพี่น้องของนักการเมือง เข้าดำรงตำแหน่งในส่วนราชการและในรัฐวิสาหกิจเพื่อตอบแทนบุญคุณ – เพื่อเป็นฐานอำนาจ – เพื่อใช้อำนาจหน้าที่ในการแสวงหาผลประโยชน์ (spoils system)
       
       ตามประวัติศาสตร์ นักการเมืองประเภทนี้ในประเทศด้อยพัฒนาจะประสบความสำเร็จทุกราย เนื่องจากเป็นที่ถูกอกถูกใจของคน (ยากจน) ซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศเพราะ กว่าคน (ยากจน) ส่วนใหญ่ของประเทศ จะรู้ถึงผลเสียของนโยบายเอื้ออาทรที่นักการเมืองใช้จ่ายเงินเกินกว่า ความสามารถในการหารายได้ของชาติ (ทั้งปัจจุบันและอนาคต) ฯลฯ ทรัพย์สินของชาติส่วนรวมก็ตกอยู่ในมือของกลุ่มนักการเมืองและต่างชาติ และประเทศถูกยึดครองทางเศรษฐกิจ ภายใต้ภาวะเงินเฟ้อและความยากจนของประชาชนในประเทศ
       
       คำถามสำหรับคนไทย 2 คำถาม
       
คำถามที่ (1) “ระบบเผด็จการทางรัฐสภาโดยพรรคการเมือง(นายทุน)” ตาม รธน.(2540) เกิดขึ้นได้อย่างไร
       

       คำถามที่ (2) “ระบบตามรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540” จะใช้ไปอีกนานเท่าใด
       
       คำตอบคำถามที่ (1) ระบบเผด็จการฯ เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
       
       ประการแรก เพราะความล้าหลังของวงการวิชาการไทย (เอกสารแนบหมายเลข 6)
       • ไม่ให้ความสำคัญแก่สภาพสังคมวิทยาการเมืองของสังคมไทย
       • ไม่รู้จักสภาพกฎหมายของไทย (การบริหาร / กระบวนการยุติธรรม / ท้องถิ่น)
       • “คิด” ไม่ลึกพอที่จะออกแบบ – design (เขียน) รัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร constitutionalism สำหรับสังคมไทย
       
       ประการที่สอง เพราะความเห็นแก่ตัวของ “นักการเมือง” (ทั้งฝ่ายค้านและรัฐบาล)
       • มุ่งหวังแต่การแสวงหาประโยชน์และอำนาจให้แก่ตนเอง
       • มิได้มุ่งหวังจะวาง “ระบบ” ให้แก่ประเทศ
       • อ้างแต่คำว่า “ประชาธิปไตย” ที่ตนเองได้รับเลือกตั้ง (ด้วยเงินและอิทธิพล)
       
       คำตอบคำถามที่ (2) ระบบตาม รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 จะใช้อีกนานเท่าใด ?
       
       - ใช้ได้อีกนานเท่านาน ไม่ว่าจะมี “การเลือกตั้งใหม่” หรือไม่ โดยไม่สามารถกำหนดเป็น “ระยะเวลา” ได้ และอาจ “นาน” จนทรัพยากรส่วนรวมของประเทศหมดสิ้น (?)
       ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับคนส่วนใหญ่ของประเทศด้อยพัฒนาจะมองเห็น “ซีกมืด” ที่นักการเมืองเผด็จการนายทุนซ่อนไว้ข้างหลังนโยบาย populist policy เมื่อใด(?)
       
       
       การเล่นเกม “สภาพสังคมวิทยาการเมืองของสังคมไทย” โดยนักการเมืองไทย
       
สภาพสังคมที่อ่อนแอของประเทศด้อยพัฒนา คือ การที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยังขาดประสบการณ์ทางการเมือง และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวตามพฤติกรรมธรรมชาติของมนุษย์ และภายในสังคมย่อมมีความแตกต่างและการขัดแย้งในผลประโยชน์ของประชาชนหลายกลุ่ม
       
       นักการเมืองไทย ไม่มีเจตนาให้คนส่วนใหญ่ของประเทศมองเห็นความเป็นจริงใน “ซีกมืด”และฉวยเอาประโยชน์จากสภาพอ่อนแอของสังคม
       
       นักการเมืองไทยจึงตัดเสรีภาพของสื่อมวลชน / ยุบสภาโดยไม่ให้มีการเปิดอภิปรายในสภา / จัดม็อบต่อต้านการชี้แจงความเป็นจริงในที่ต่างๆ / ฯลฯ เป็นเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงเจตนาและความมุ่งหมายที่ไม่สุจริตของนักการเมือง
       
       ทางออกของ “คนไทย” (การปฏิรูปการเมือง)
       (1) ใครจะเป็นผู้มา “ปฏิรูปการเมือง”
       (2) รูปแบบโครงสร้างของ “ระบบสถาบันการเมืองของไทย” ในอนาคต ควรเป็นอย่างไร
       
       “หลักการ”ในการออกแบบ – design ระบบสถาบันการเมืองในรัฐธรรมนูญ จะต้องคำนึงถึง :-
       (1) สภาพสังคมวิทยาการเมือง ได้แก่ พฤติกรรมของคนไทยส่วนใหญ่ และพฤติกรรมของชนชั้นนำ (elite)
       
       (2) สภาพของบทกฎหมาย (พิกลพิการ) ที่กำหนดกลไกบริหาร / กระบวนการยุติธรรม / ท้องถิ่น ที่เป็นอยู่ในขณะนี้
       
       เพราะการเขียนรัฐธรรมนูญ คือการกำหนดการได้มาซึ่งนักการเมืองที่จะเข้ามาใช้ “อำนาจรัฐ” และการกำหนดการควบคุมพฤติกรรมในการใช้ “อำนาจรัฐ” ของนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ภายใต้สภาพสังคมที่อ่อนแอและความพิกลพิการของบทกฎหมาย
       
       (1) ใครจะเป็นผู้มาปฏิรูปการเมือง
       
“องค์กร” ที่มายกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ (ออกแบบ – design โครงสร้างของระบบสถาบันการเมือง) ควรเป็นอย่างไร และควรมีองค์ประกอบอย่างไร
       

       (2) “โครงสร้างของรัฐธรรมนูญฉบับใหม่” ในอนาคตของไทย (การปฏิรูปการเมือง) ควรเป็นอย่างไร ?
       
(ก) จุดมุ่งหมายหลัก ของ รัฐธรรมนูญ ฉบับใหม่
       (ข) จุดมุ่งหมายรอง ของ รัฐธรรมนูญฉบับใหม่
       
       (ก) จุดมุ่งหมายหลัก ได้แก่ ระบบสถาบันการเมืองที่จะไม่ก่อให้เกิดระบบเผด็จการโดยพรรคการเมืองและทำให้การเมืองมีเสถียรภาพ
       ระบบนั้น คือ “Strong Prime Minister” ที่นายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร ที่มีความเป็นอิสระและมีความคล่องตัวในการบริหาร แต่นายกรัฐมนตรีต้องไม่มีอำนาจเหนือ “สภา” ซึ่งเป็นองค์กรกำกับและตรวจสอบฝ่ายบริหาร
       ทั้งนี้ ภายใต้ระบอบการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข (rationalized semi-parliamentary system)
       
       (ข) จุดมุ่งหมายรอง ได้แก่ การวาง “ขั้นตอน” ในการพัฒนาความเป็นอิสระและสร้างประสิทธิภาพในองค์กรที่เป็นพื้นฐานของสถาบันการเมือง คือ การพัฒนาระบบการปกครองท้องถิ่นและระบบการบริหารงานของรัฐ (ได้แก่ ศาล / กระบวนการยุติธรรม / องค์กรอิสระ / ระบบราชการ)
       
       “ปัญหาใหญ่”ของคนไทย
       
ได้แก่วงการวิชาการและพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเรียนรู้และเข้าใจ “กฎหมายมหาชน” และ “การออกแบบรัฐธรรมนูญ – constitutionalism” พอที่จะปฏิรูปการเมือง หรือยัง
       

       
       บทสรุป
       ถ้า “คนไทย” ยังคิดรูปแบบการจัดตั้งองค์กรเพื่อการปฏิรูปการเมือง เพื่อยกร่างรัฐธรรมนูญ ไม่ได้ ก็อย่าเพิ่งข้ามไปคิดว่า “รัฐธรรมนูญของไทยในอนาคต” จะมีรูปแบบอย่างไร
       
       เชิงอรรถ
       1.เอกสารที่ใช้ประกอบปาฐกถาโดย ศาสตราจารย์ ดร.อมร จันทรสมบูรณ์ วันพฤหัสบดี ที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๔๙ ณ ลานปรีดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในงานรำลึก ศ.ดร.ปรีดี พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประจำปี 2549 2. เอกสารแนบหมายเลข 1
       3. เอกสารแนบหมายเลข 2
       4. เอกสารแนบหมายเลข 3
       5. เอกสารแนบหมายเลข 4
       6. เอกสารแนบหมายเลข 5
       7. เอกสารแนบหมายเลข 6


 
 
หลักความเสมอภาค
องค์กรอิสระ : ความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมืองและการปฏิรูประบบราชการ โดย คุณนพดล เฮงเจริญ
ปัญหาของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในประเทศไทย
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : ผลในทางปฏิบัติ เมื่อครบรอบหกปีของการปฏิรูปการเมือง
หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
   
 
 
 
PAYS DE BREST : COOPERER VOLONTAIREMENT AU SERVICE DU TERRITOIRE
La violence internationale : un changement de paradigme
การลงทะเบียนเพื่อรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย: มิติด้านกฎหมายและเทคโนโลยี
Tensions dans le cyber espace humanitaire au sujet des logos et des embl?mes
คุณูปการของศาสตราจารย์พิเศษ ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ต่อการพัฒนากฎหมายปกครองและกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง : งานที่ได้ดำเนินการไว้ให้แล้วและงานที่ยังรอการสานต่อ
การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม
ยาแก้โรคคอร์รัปชันยุคใหม่
สหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ คืออะไร
มองอินโด มองไทย ในเรื่องการกระจายอำนาจ
การฟ้องปิดปาก
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544