หน้าแรก บทความสาระ
เอกสารแนบหมายเลข ๖
28 พฤษภาคม 2549 21:53 น.
 

ต้นกำเนิดของ
       

“ระบบเผด็จการทางรัฐสภาโดยพรรคการเมือง (นายทุน)” ของไทย
       

รัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๔๐-ค.ศ. ๑๙๙๗
       

                                               
       

 
       

 
       

วิวัฒนาการจาก พ.ศ. ๒๕๑๗ - พ.ศ. ๒๕๔๙ (๓๐ ปีเศษ)
       

 
       

 
       

-          พ.ศ. ๒๕๑๗ – ๒๕๓๔ : นักวิชาการเอาใจรัฐบาล (ทหาร)  ด้วยการเขียนรัฐธรรมนูญบังคับให้ ส.ส. ต้องสังกัดพรรคการเมือง เพื่อสร้างเสถียรภาพให้แก่รัฐบาล (ทหาร) ในระบบรัฐสภา – parliamentary system
       

 
       

-          เหตุการณ์ “พฤษภาทมิฬ” พ.ศ. ๒๕๓๔ : ทหารหมดบทบาททางการเมือง 
       

 
       

-          พ.ศ. ๒๕๓๔-๒๕๔๐ : นักวิชาการไทยมีความเห็นว่า “ความเป็นประชาธิปไตย” คือ การต้องมีนายกรัฐมนตรีที่มาจาก ส.ส.    
              ดังนั้น จึงได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๓๔ (แก้ไขเพิ่มเติม ฉบับที่ ๔- ๒๕๓๕) เพิ่มบทบัญญัติกำหนดบังคับว่า
“นายกรัฐมนตรีต้องเป็น ส.ส.” (มาตรา ๑๕๙)
       

นักวิชาการไทยละเลยความสำคัญของ “สภาพ (อ่อนแอ) ทางสังคมวิทยาการเมือง
       ของสังคมไทย
” ที่มีผลต่อการเลือกตั้งที่ต้องใช้เงิน  และขาดความสนใจใน“สภาพ (พิกลพิการ) ของกฎหมายที่เกี่ยวกับ law enforcement ของประเทศ ที่มีผลต่อการเลือกตั้งภายใต้อิทธิพลท้องถิ่นและเจ้าหน้าที่ของรัฐ (ที่ไม่เป็นกลาง)
       

 
       

-          พ.ศ. ๒๕๔๐ : ความไม่รอบรู้ ของนักวิชาการ ประกอบกับความเห็นแก่ตัวของนักการเมือง (นายทุนธุรกิจระดับท้องถิ่น)ในขณะนั้น    ได้เขียนรัฐธรรมนูญที่ก่อกำเนิด “ระบบเผด็จการทางรัฐสภาโดยพรรคการเมือง” (บังคับ ส.ส. ให้สังกัดพรรค และกำหนดให้พรรคการเมืองมีอำนาจ มีมติให้ ส.ส. ต้องพ้นจากสภาพการเป็น ส.ส. ได้ ฯลฯ)
       

 
       

-          พ.ศ. ๒๕๔๔ – ปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๔๙ “ระบบเผด็จการทางรัฐสภาโดยพรรคการเมือง”
       ตาม รธน. ๒๕๔๐ ได้เปลี่ยนจากระบบเผด็จการโดยการรวมตัวของพรรคการเมือง (นายทุนท้องถิ่น)  ๒-๓ พรรค ในระยะแรกๆ  มาเป็น ระบบเผด็จการโดยพรรคการเมือง (นายทุนระดับชาติ) พรรคใหญ่เพียงพรรคเดียว

       

ในช่วงเวลาที่ผ่านมา  พรรคการเมือง (นายทุนระดับชาติ)ได้ใช้เงิน “ซื้อ” ส.ส. ของพรรคการเมือง (นายทุนท้องถิ่น)    และยุบเลิกพรรคการเมือง (นายทุนท้องถิ่น) เกือบทั้งหมด
       

                            
       

(ก)
       

 
       

วิวัฒนาการของบทบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ
       

ที่แสดง “แนวความคิด” เกี่ยวกับการบังคับให้ ส.ส. ต้องสังกัดพรรค
       

                                               
       

 
       

[ตั้งแต่ รธน. (พ.ศ. ๒๕๑๗) ฉบับที่ ๑๐ ถึง รธน. ปัจจุบัน (๒๕๔๐) ฉบับที่ ๑๖ รวม ๓๐ ปีเศษ]
       

                                               
       

 
       

 
       

(๑) รธน. (พ.ศ. ๒๕๑๗) ฉบับที่ ๑๐
       

[หมายเหตุ :- ยกร่างโดยคณะกรรมาธิการวิสามัญ แต่งตั้งโดย “สภานิติบัญญัติแห่งชาติ” ตามรัฐธรรมนูญ พุทธศักราช ๒๕๑๕ – หลังตุลาคม พ.ศ. ๒๕๑๖]
       

- มาตรา ๑๑๗ (คุณสมบัติของผู้มีสิทธิรับเลือกตั้งเป็นสภานิติบัญญัติแห่งชาติ)
       

   เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียว (มาตรา ๑๑๗ (๓))
       

- มาตรา ๑๒๔ (การพ้นจากสมาชิกภาพของ ส.ส.)
       

  ลาออกจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง หรือพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็นสมาชิกยุบเลิก (มาตรา ๑๒๔ (๗))
       

  ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองในกรณีที่ศาลมีคำสั่งยุบเลิกพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาพผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็นสมาชิก หรือพรรคการเมืองมีมติให้พ้นจากการเป็นสมาชิกและไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่ง หรือพรรคการเมืองมีมติแล้วแต่กรณี  ฯลฯ (มาตรา ๑๒๔ (๘))
       

 
       

(๒) รธน. (พ.ศ. ๒๕๑๙) ฉบับที่ ๑๑ (คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน – พลเรือเอกสงัด  ชลออยู่)
       

 
       

(๓) ธรรมนูญ (พ.ศ. ๒๕๒๐) ฉบับที่ ๑๒ (คณะปฏิวัติ – พลเรือเอกสงัด  ชลออยู่)
       


       

(๔) รธน. (พ.ศ. ๒๕๒๑) ฉบับที่ ๑๓ – เริ่มต้นระบบเผด็จการโดยพรรคการเมือง
       

[หมายเหตุ :- รธน. (พ.ศ. ๒๕๒๑) ได้ยกร่างขึ้นโดย “คณะกรรมาธิการฯ ที่แต่งตั้งโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่ “ประธานสภานโยบายแห่งชาติ” นำความกราบบังคมทูล (มาตรา ๗ ของธรรมนูญการปกครอง (พ.ศ. ๒๕๒๐) ; “ประธานสภานโยบายแห่งชาติ” ได้แก่ หัวหน้าคณะปฏิวัติ - พลเรือเอก สงัด ชลออยู่]

       

- มาตรา ๙๔ (คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง)
       

                  - เป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๙๕ (หรือพรรคการเมืองตามมาตรา ๑๐๔ วรรคสอง) พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่พรรคเดียว (มาตรา ๙๔ (๓))
       

                - มาตรา ๙๕ (จำนวนผู้สมัครฯ ที่พรรคการเมืองต้องส่งเข้ารับเลือกตั้ง)
       

                  -พรรคการเมืองต้องส่งสมาชิกพรรคการเมืองเข้าสมัครฯ รวมกัน (ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง ของจำนวน ส.ส. ทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น
       

                - มาตรา ๑๐๓ (การขาดจากสมาชิกภาพของ ส.ส.)
       

                  - ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก (มาตรา ๑๐๓ (๗))
       

                  -พรรคการเมืองมีมติให้พ้นจากการเป็นสมาชิก (ด้วยคะแนนเสียงของที่ประชุมร่วมของ “คณะกรรมกรบริหารพรรค” และ “ส.ส.ที่สังกัดพรรคการเมือง” ไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔ – (มาตรา ๑๐๓ (๗))
       

                  - ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งเลิกพรรคการเมือง  ส.ส. ในสังกัดพรรคที่ถูกยุบต้องเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่น (ที่มี ส.ส. อยู่แล้ว) ภายใน ๖๐ วัน (มาตรา ๑๐๓ (๙))   
       

[- มาตรา ๑๐๔ วรรคสอง (การเลือกตั้งซ่อม)
       

                  - ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ต้องเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกในสังกัดเป็น ส.ส. อยู่แล้วจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งก่อน]
       

 (๕) ธรรมนูญการปกครองฯ (พ.ศ. ๒๕๓๔) ฉบับที่ ๑๔)
       


       

(๖) รธน. (พ.ศ. ๒๕๓๔) ฉบับที่ ๑๕ – Version I
       

[หมายเหตุ :-รธน. (พ.ศ. ๒๕๓๔) ยกร่างขึ้นโดย “คณะกรรมาธิการ (จำนวนไม่เกิน ๒๐ คน)” ซึ่งแต่งตั้งโดย “สภานิติบัญญัติแห่งชาติ” (จำนวน ๒๐๐ ถึง ๓๐๐ คน)  ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่ “ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ” นำความกราบบังคมทูล ตามบทบัญญัติมาตรา ๗ ของธรรมนูญการปกครองฯ พ.ศ. ๒๕๓๔ ; “ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ” ได้แก่ หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ – พล.อ.สุนทร  คงสมพงษ์]
       

                - มาตรา ๑๐๕ (คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง)
       

                  - เป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา ๑๐๖ (หรือพรรคการเมืองตามมาตรา ๑๑๕ วรรคสอง)
       

                - มาตรา ๑๐๖ (จำนวนผู้สมัครฯ ที่พรรคการเมืองต้องส่งเข้ารับเลือกตั้ง)
       

                  - พรรคการเมืองต้องส่งสมาชิกพรรคการเมืองเข้าสมัครรวมกันไม่น้อยกว่า ๑๒๐ คน (หรือ ๑ ใน ๓ ของจำนวน ส.ส. ๓๖๐ คนที่กำหนดไว้ในมาตรา ๙๙)
       

                - มาตรา ๑๑๔ (การขาดจากสมาชิกภาพของ ส.ส.)
       

                  - ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก (มาตรา ๑๑๔ (๗))
       

                  - พรรคการเมืองมีมติให้พ้นจากการเป็นสมาชิก (ด้วยคะแนนเสียงของที่ประชุมร่วมของ “คณะกรรมการบริหารพรรค” กับ “ส.ส. ที่สังกัดพรรคการเมือง” ไม่น้อยกว่า ๓ ใน ๔) (มาตรา ๑๑๔ (๗)) และวรรคสุดท้าย)
       

                  - ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง ส.ส. ในสังกัดพรรคการเมืองที่ถูกยุบต้องเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่น (ที่มี ส.ส. อยู่แล้ว) ภายใน ๖๐ วัน (มาตรา ๑๑๔ (๗)
       

[- มาตรา ๑๑๕ วรรคสอง (การเลือกตั้งซ่อม)
       

                  -ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกในสังกัดเป็น ส.ส. อยู่แล้วจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งก่อน]
       

 
       

(๗) รธน. (พ.ศ. ๒๕๓๔/๒๕๓๘) – Version II แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๘
       

[หมายเหตุ :- บทบัญญัติมีหลักการเช่นเดียวกับ Version I เพียงแต่แก้ “เลขมาตรา” และลดจำนวนผู้สมัครที่พรรคการเมืองต้องส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้ง – มาตรา ๑๑๒]
       

 (๘) รธน. (พ.ศ. ๒๕๔๐) : ระบบเผด็จการเบ็ดเสร็จโดยพรรคการเมือง
       

[หมายเหตุ :- ยกร่างโดย สสร. ที่จัดตั้งขึ้น ตาม รธน. (พ.ศ. ๒๕๓๔) Version II ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดย
       (ฉบับที่ ๖)
พ.ศ. ๒๕๓๙
]
       

                - มาตรา ๑๐๗ (คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง)
       

                  - เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับเลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่าเก้าสิบวัน
       

                  - มาตรา ๑๑๘ (การขาดจากสมาชิกภาพของ ส.ส.)
                            -  ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก หรือพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิกมีมติ (ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่าสามในสี่ของที่ประชุมร่วมของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองนั้น) ให้พ้นจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก ในกรณีเช่นนี้ ให้ถือว่าสิ้นสุดสมาชิกภาพนับแต่วันที่ลาออกหรือพรรคการเมืองมีมติ (เว้นแต่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นได้อุทธรณ์ต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสามสิบวันนับแต่วันที่พรรคการเมืองมีมติคัดค้านว่ามติดังกล่าวมีลักษณะตามมาตรา ๔๗ วรรคสาม ฯลฯ) (มาตรา ๑๑๘ (๘))

       

                     - ขาดจากการเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุบพรรคการเมืองที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรผู้นั้นเป็นสมาชิก และไม่อาจเข้าเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองอื่นได้ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่ง ฯลฯ (มาตรา ๑๑๘ (๙))

       

(ข) 
       

วิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงบทบัญญัติเกี่ยวกับ
       

“สถานภาพของ ส.ส.” และ “คำปฏิญาณ”
       

ตาม รธน.ฉบับต่าง ๆ
       

                                               
       

 
       

(๑) ก่อน พ.ศ. ๒๕๑๗ : รธน. (พ.ศ. ๒๕๑๕) ฉบับที่ ๙ มีบทบัญญัติดังนี้
       

                มาตรา ๙๗  สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใด ๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย
       

                มาตรา  ๙๘  ... “ข้าพเจ้า (ผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของข้าพเจ้าโดยบริสุทธิ์ใจ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”
       

 
       

(๒) รธน. (พ.ศ. ๒๕๑๗) ฉบับที่ ๑๐ (เริ่มมี บทบัญญัติบังคับให้ ส.ส. ต้องสังกัดพรรค)
       

                มาตรา ๑๒๗  สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย
       

                มาตรา ๑๒๘  ... “ข้าพเจ้า (ผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของข้าพเจ้าโดยบริสุทธิ์ใจ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”
       

 
       

(๓) รธน. (พ.ศ. ๒๕๒๑) ฉบับที่ ๑๓
       

                มาตรา ๑๐๖  สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย
       

                มาตรา ๑๐๗  ... “ข้าพเจ้า (ผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”
       

 
       

(๔) รธน. (พ.ศ. ๒๕๓๔) ฉบับที่ ๑๕
       

[หมายเหตุ :- Version I และ Version II – มีข้อความเหมือนเดิม]
       

 
       

                มาตรา ๑๑๗ (Version 2 มาตรา ๑๒๓)  สมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
       ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย และต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย

       

                มาตรา ๑๑๘ (Version 2 มาตรา ๑๒๔)  ... “ข้าพเจ้า (ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ”
       

 
       

                                               
       

 
       


       

                                                    (ค)       
       

 
       

“สถานภาพของ ส.ส.” ตาม รธน. ต่างประเทศ
       

บางประเทศ
       

 
       

 (1) รธน. เยอรมนี (ค.ศ. 1947)
       

                Article 38 (Elections)
       

            (1) The Member of the German Bundestag shall be elected in general, direct, equal and secret elections. They shall be representatives of the whole people; they shall not be bound by any instructions, only by their conscience.
       

            (2) Anybody who has reached the age of eighteen is entitled to vote; anybody of majority age is eligible for election.
       

            (3) Details shall be the subject of a federal law.
       

 
       

(2) รธน. ฝรั่งเศส (ค.ศ. 1958)
       

            Article 27
       

            Any binding instruction is void.
       

            The right to vote of members of Parliament is personal.
       

            An organic law can authorize, in exceptional cases, voting by proxy (délégation de vote). In such a case, no member can receive more than one vote.
       


       

(3) รธน. เกาหลีใต้ (ค.ศ. 1988)
       

                Article 46
       

            (1) Members of the National Assembly shall have the duty to maintain high standards of integrity.
       

            (2) Members of the National Assembly shall give preference to national interests and shall perform their duties in accordance with conscience.
       

            (3) Members of the National Assembly shall not acquire, through abuse of their positions, rights and interests in property or positions, or assist other persons to acquire the same, by means of contracts with or dispositions by the State, public organizations or industries.
       

 

       

(4) รธน. เดนมาร์ก (ค.ศ.1953)
       

                Article 56
       

            The Members of the Folketing shall be bound solely by their own consciences and not by any directions given by their electors.
       

 
       

                            
       

 


 
 
หลักความเสมอภาค
องค์กรอิสระ : ความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมืองและการปฏิรูประบบราชการ โดย คุณนพดล เฮงเจริญ
ปัญหาของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในประเทศไทย
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : ผลในทางปฏิบัติ เมื่อครบรอบหกปีของการปฏิรูปการเมือง
หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
   
 
 
 
PAYS DE BREST : COOPERER VOLONTAIREMENT AU SERVICE DU TERRITOIRE
La violence internationale : un changement de paradigme
การลงทะเบียนเพื่อรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย: มิติด้านกฎหมายและเทคโนโลยี
Tensions dans le cyber espace humanitaire au sujet des logos et des embl?mes
คุณูปการของศาสตราจารย์พิเศษ ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ต่อการพัฒนากฎหมายปกครองและกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง : งานที่ได้ดำเนินการไว้ให้แล้วและงานที่ยังรอการสานต่อ
การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม
ยาแก้โรคคอร์รัปชันยุคใหม่
สหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ คืออะไร
มองอินโด มองไทย ในเรื่องการกระจายอำนาจ
การฟ้องปิดปาก
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544