เอกสารประกอบการอภิปราย
รำลึก 1 ปี ผศ.ดร.พนม เอี่ยมประยูร
"ปฏิรูปการเมืองไทย ฤาจะไปไม่ถึงจุดหมาย?"
การปฏิรูปการเมือง II
โครงสร้างของ "องค์กรเพื่อยกร่าง ร.ธ.น.ทั้งฉบับ"
(1) คนไทยต้องแสวงหา "statesman" ให้พบ ถ้าหาไม่พบ ก็อย่าเพิ่งคิดปฏิรูปการเมืองเพราะนักวิชาการไม่สามารถทำอะไรได้ ทะเลาะกันเองบ้าง แสวงหาประโยชน์ส่วนตัวบ้าง ฯลฯ
(2) แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 313 ของ ร.ธ.น.ปัจจุบัน (เป็นหมวดใหม่) ทำนองเดียวกันการแก้ไขฯ มาตรา 211 ของ ร.ธ.น.พ.ศ.2534 เพื่อให้มี "องค์กรเพื่อยกร่าง ร.ธ.น."
(3) จัดตั้ง "องค์กรเพื่อยกร่าง ร.ธ.น.ใหม่ทั้งฉบับ" โดยให้องค์กรดังกล่าว มีโครงสร้างที่เหมาะสมกับสภาพสังคมวิทยาการเมืองของสังคมไทย (คือ เหมาะสมกับพฤติกรรมของชุมชน พฤติกรรมของนักการเมือง และพฤติกรรมของ elite ที่มิใช่นักการเมือง)
การออกแบบ(design)"โครงสร้าง" ขององค์กรเพื่อยกร่าง ร.ธ.น.ทั้งฉบับ ที่เคยประสพความสำเร็จมาแล้วในประเทศที่มีปัญหา(พฤติกรรมของนักการเมือง)เหมือนกับประเทศไทย จะอยู่ใน "แนวทาง"ดังนี้
(1) เสนอทางเลือกและยกร่างโดย "คณะกรรมการทางวิชาการ"
(2) ตรวจสอบแนวความคิดโดย "statesman" หรือโดย "องค์กรตัวแทน statesman" ที่เหมาะสมกับสถานภาพทางกฎหมายของ statesman
(3) นำร่าง ร.ธ.น.เสนอต่อรัฐสภา เพื่อพิจารณาให้ความเห็นและเสนอข้อแก้ไขเพิ่มเติม
(4) ปรับร่าง ร.ธ.น.โดยคณะกรรมการทางวิชาการภายใต้การกำกับของ statesman หรือองค์กรตัวแทนของ statesman
(5) เสนอร่าง ร.ธ.น. ต่อประชาชนทั้งประเทศเพื่อออกเสียง referendum
(6)
ทั้งนี้ โดยตลอดกระบวนการยกร่างรัฐธรรมนูญตั้งแต่ต้นจนเสร็จสิ้น จะต้องมีการรับฟังข้อคิดเห็นจากประชาชนทั่วไป และจะต้องมีการชี้แจงและอธิบายเหตุผลในเชิงตรรกทางวิชาการให้ประชาชนและผู้ที่สนใจทราบในทุกประเด็นและทุกมาตรการที่สำคัญในการยกร่าง ร.ธ.น.
"องค์กรเพื่อยกร่าง ร.ธ.น." ในลักษณะนี้ จะสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพื้นฐานทางวิชาการ/อัจฉริยะของ statesman/และประชาชนทั้งประเทศ(ที่มิใช่กลุ่มผลประโยชน์เฉพาะกลุ่ม)
18 กุมภาพันธ์ 2546
ลงเผยแพร่ครั้งแรกใน Public Law Net วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2546
|