เอกสารประกอบการอภิปราย
รำลึก 1 ปี ผศ.ดร.พนม เอี่ยมประยูร
"ปฏิรูปการเมืองไทย ฤาจะไปไม่ถึงจุดหมาย?"
ความผิดพลาดในการออกแบบ (Design) "ระบบสถาบันการเมือง"
ในรัฐธรรมนูญ ฉบับปัจจุบัน (พ.ศ.2540)
โดย ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์
แนวการบรรยาย
(1) บทนำ
1.1 ทำไม ข้าพเจ้าจึงเห็นควรแก้ไข ร.ธ.น.ฉบับปัจจุบัน ในขณะที่ชนชั้นนำ - elite ของสังคมไทย (เกือบ) ทั้งหมด เห็นว่า ยังไม่ควรแก้ไข ร.ธ.น.
1.2 ทำไม ข้าพเจ้าจึงเห็นควรแก้ไข ร.ธ.น.ในส่วนที่เกี่ยวกับ"ระบบสถาบันการเมือง" ก่อนการแก้ไขในประเด็นอื่นๆ ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่อง การสรรหาตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ - อำนาจของ ก.ก.ต. - อำนาจของ ป.ป.ช. - ฯลฯ
(2) ทำไม ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องใช้รูปแบบการปกครองใน "ระบบรัฐสภา - Parliamentary system" และจะต้องเป็นระบบรัฐสภาที่มี Strong Prime Minister
(3) ความผิดพลาดในการออกแบบ(design) "โครงสร้างของระบบสถาบันการเมือง ใน ร.ธ.น.2540" ได้แก่ การสร้าง ระบบรัฐสภาที่มี Strong Prime Minister พร้อมกับการสร้างการเผด็จการโดยรัฐสภา (ไม่ว่าจะโดยพรรคเดียวเสียงข้างมากหรือหลายพรรครวมกลุ่มกัน)
3.1 สาเหตุของความผิดพลาดในการเขียนรัฐธรรมนูญ 2540
(ก) สาเหตุพื้นฐาน ของความผิดพลาด (คุณภาพของชนชั้นนำในสังคม)
- ความเห็นแก่ตัวของนักการเมืองที่คุมอำนาจรัฐอยู่ในปัจจุบัน (ทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาล)
- ระดับวิชาการ (เชิงวิเคราะห์) ของวงการวิชาการไทย ยังสูงไม่พอ
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จะต้องพิจารณาถึงสาเหตุที่มาจากระดับวิชาการของนักวิชา การของไทย ซึ่งมีหน้าที่ในการอธิบายและชี้นำความถูกต้องตามหลักวิชาการให้ แก่สังคมไทย(คนส่วนใหญ่) มากกว่าที่จะพิจารณาจากสาเหตุที่มาจากพฤติกรรม ของ "นักการเมือง"
(ข) สาเหตุโดยตรง ได้แก่ การจัดองค์กรที่มีอำนาจในการให้รัฐธรรมนูญ - pouvoir constituant (ความผิดพลาดของรูปแบบการจัดองค์กรเพื่อการจัดทำ ร.ธ.น.ฉบับใหม่ตาม ร.ธ.น. พ.ศ.2534 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 6) พ.ศ. 2539
3.2 ทำไม ร.ธ.น.(พ.ศ.2540) จึงเกิดเผด็จการทางรัฐสภาโดยนักธุรกิจการเมือง
- การกำหนด "มาตรการ" ที่ผิดพลาดสำคัญ 2 ประการ คือ
(1) การบังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคการเมือง และ
(2) การกำหนดบังคับไว้ว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง (มาตรา 201)
(4) เราสามารถสร้าง "ระบบรัฐสภา - Parliamentary system" โดยมี Strong Prime Minister
โดยไม่เกิดเผด็จการทางรัฐสภา ได้อย่างไร (?)
4.1 การบังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค เป็น"มาตรการ"ที่ขัดกับหลักเสรีประชาธิปไตย และเป็นมาตรการของประเทศเผด็จการ
4.2 ความคิดเรื่อง"การบังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค"ของวงการวิชาการไทย มาจากที่ใด (?)
4.3 ความสับสนในความคิดของนักวิชาการเกี่ยวกับบทบาทของพรรคการเมือง ที่ปรากฏอยู่ในบทบัญญัติ ร.ธ.น.2540 (มาตรา 47, มาตรา 107(4), มาตรา 118 (4) (8) (9) และบทเฉพาะกาลมาตรา 328 (1) (2) (5) )
4.4 "มาตรการ"ที่สำคัญๆ ในการสร้างระบบรัฐสภา ที่มี Strong Prime Minister โดยไม่เกิดเผด็จการทางรัฐสภา มีอย่างไรบ้าง
- มาตรการที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสภาผู้แทนราษฎรกับ "Strong Prime Minister" โดยไม่มีการบังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค
- มาตรการที่เกี่ยวกับการป้องกันการ abuse of power และการผูกขาดอำนาจโดย "Strong Prime Minister"
- มาตรการเกี่ยวกับการตรากฎหมายของประเทศ เพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมในระยะยาว (มิใช่การตรากฎหมายตาม populist policy เพื่อสร้างความนิยมเฉพาะตัวในระยะสั้น และเป็นผลเสียในระยะยาว)
- มาตรการอื่น ในการพัฒนาระบบพรรคการเมืองตามแนวทางเสรีประชาธิปไตย ฯลฯ
(5) บทสุดท้าย
- ความเข้าใจในวิชา"กฎหมายมหาชน" ในฐานะที่เป็นวิชาที่ว่าด้วยเทคโนโลยีในการออกแบบ - design การเขียนกฎหมาย (ร.ธ.น.และ พ.ร.บ.)
- สภาพสังคมวิทยาการเมืองของสังคมและของ elite เป็น"เงื่อนไข - element" สำคัญ ในการออกแบบ-design "ระบบสถาบันการเมืองของไทย" และนักกฎหมายมหาชนในระดับผู้เชี่ยวชาญ เปรียบเสมือน "สถาปนิก"ของสังคม
- ความโปร่งใส - transparency ในการบริหาร เกิดจากกระบวนการ(process) ที่ดีที่กำหนดไว้ในตัวบทกฎหมาย มิใช่เกิดจาก"คำพูดและคำรับรอง"ของนักการเมือง
- คำว่า"การเมืองภาคประชาชน" เป็นคำพูดทางการเมือง มิใช่เป็นเทคโนโลยีในการเขียนกฎหมาย
- ความเข้าใจบทบัญญัติมาตรา 107(4) (ที่ขัดกับหลักเสรีประชาธิปไตย) ของ elite ไทย
- "สาเหตุ" ที่ทำให้ elite ไทย ไม่ประสงค์จะแก้ ร.ธ.น.2540
- สภาพการบริหารประเทศภายใต้ "ระบบสถาบันการเมือง(การเผด็จการทางรัฐสภา) ตาม ร.ธ.น.2540" ที่เป็นอยู่ในขณะนี้
คำถามสุดท้าย: ในสภาพปัจจุบัน เราจะแก้ไขความผิดพลาดในการออกแบบ (design) ระบบสถาบันการเมืองตาม ร.ธ.น. 2540 (การปฏิรูปการเมืองครั้งที่สอง) ได้อย่างไร (!) (!)
22 พฤศจิกายน 2545
[หมายเหตุ:- คำบรรยายนี้ พิจารณาเฉพาะ"ประเด็นการเผด็จการในระบบรัฐสภาตาม ร.ธ.น.2540" โดยยังมิได้กล่าวถึงประเด็นการจัดองค์กรของสถาบันอื่นใน ร.ธ.น.หรือตามกฎหมายอื่น ไม่ว่าจะเป็น รัฐสภา / ศาลรัฐธรรมนูญ / ก.ก.ต./ ป.ป.ช./ กฎหมายว่าด้วยการปฏิรูประบบราชการ / กฎหมายที่เรียกกันว่า"กฎหมายขายชาติ 11 ฉบับ" / ฯลฯ ซึ่งแต่ละประเด็นเหล่านี้ ต้องการการอธิบายเชิงวิเคราะห์ตามหลักกฎหมายมหาชนในแต่ละเรื่อง]
11 กุมภาพันธ์ 2546
รัฐธรรมนูญเกาหลีใต้
(1) รัฐธรรมนูญของเกาหลีใต้ ฉบับแรก ค.ศ.1948 (พ.ศ.2491) ซึ่งได้ใช้บังคับมาจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ 1988 (พ.ศ.2531) มี 121 มาตรา
[(หมายเหตุ:- ร.ธ.น.ฉบับนี้มีการแก้ไขมา 5 ครั้ง: 1952 (พ.ศ.2495), 1954 (พ.ศ.2492), 1960 (พ.ศ.2503) 2 ครั้ง, และ1962 (พ.ศ.2505)]
Article 36:-
(1) The National Assembly shall be composed of members elected by universal, equal, direct, and secret elections of the citizens.
(2) The number of the members of the National Assembly shall be determined by law within the range of no less than one hundred and fifty and no more than two hundred persons.
(3) Any person desiring to become a candidate for the National Assembly shall be recommended by the political party to which he belongs.
(4) Matters pertaining to the election of the members of the National Assembly shall be determined by law.
Article 38:-
A person shall lose his membership in the National Assembly during his tenure when he leaves or changes his party, or when his party is dissolved. However, the provisions of this article shall not apply in cases of changes in party membership caused by amalgamation of parties or in case a person has been expelled from his party.
(หมายเหตุ:
- มีสภาเดียว (เรียกว่า National Assembly)
- วาระ 4 ปี
- สภามีอำนาจไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี (มาตรา 59)
- สภามีอำนาจริเริ่ม impeachment (ส.ส. 30 คน เสนอและมีมติด้วยเสียงเกิน กว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกทั้งหมด)
- องค์กรชี้ขาด อิมพีชเม้นท์ (Impeachment Council) ประกอบด้วย ผู้ พิพากษา 4 คนและ ส.ส. 5 คน รวม 9 คน; มติลงโทษต้องได้คะแนนเสียง 6 เสียง คือ สองในสาม
- โดยหลักการ ประธานาธิบดี(เลือกตั้งโดยตรง) เป็นประมุขของฝ่ายบริหาร และต้องสังกัดพรรค (มาตรา 63(3)) และมีวาระ 4 ปี
- คณะรัฐมนตรีมีได้ไม่เกิน 20 คน และไม่น้อยกว่า 10 คน
- ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และมีอำนาจแต่งตั้งรัฐมนตรีตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรี (มาตรา 84)
(2) รัฐธรรมนูญเกาหลีใต้ฉบับที่สอง ค.ศ.1988 (พ.ศ.2531 จนถึงปัจจุบัน)
รัฐธรรมนูญปี 1945 ถือกันว่าเป็นรัฐธรรมนูญเผด็จการและไม่เป็นประชาธิปไตย authoritarian and undemocratic constitution) และได้ถูกวิจารณ์อย่างมากในปี 1983(พ.ศ.2526) แต่ยังมิได้มีการเสนอให้มีการปฏิรูปการเมือง
การปฏิรูปการเมืองได้มีการพิจารณาอย่างจริงจังในระหว่างปี 1984-1988(พ.ศ.2527-2531) ; และรัฐธรรมนูญ ค.ศ.1988 ฉบับปัจจุบันของเกาหลีใต้มีความเป็นประชาธิปไตยด้วยการยกเลิกการสังกัดพรรค และเน้นความเป็นผู้นำของประธานาธิบดี
Article 46:- (ยกเลิกสังกัดพรรค)
(1) Members of the National Assembly shall have the duty to maintain high standards of integrity.
(2) Members of the National Assembly shall give preference to national interests and shall perform their duties in accordance with conscience.
(3) Members of the National Assembly shall not acquire, through abuse of their positions, or assist other persons to acquire the same, by means of contracts with or dispositions by the State, public organizations or industries.
Article 42:- (วาระของสภา)
The term of office of members of the National Assembly shall be four years.
Article 70:- (วาระของประธานาธิบดี)
The term of office of the President shall be five years, and the President shall not be reelected.
Article 72:- (อำนาจของประธานาธิบดี)
The President may submit important policies relating to diplomacy, national defense, unification and other matters relating to the national destiny to a national referendum if the deems it necessary.
Article 86:- (ฐานะของประธานาธิบดี / นายกรัฐมนตรี)
(1) The Prime Minister shall be appointed by the President with the consent of the National Assembly.
(2) The Prime Minister shall assist the President and shall direct the Executive Ministries under order of the President.
(3) No member of the military shall be appointed Prime Minister unless he is retired form activity duty.
Article 87:- (ฐานะของประธานาธิบดี / นายกรัฐมนตรี / รัฐมนตรี)
(1) The members of the State Council shall be appointed by the President on the President on the recommendation of the Prime Minister.
(2) The members of the State Council shall assist the President in the conduct of State affairs and, as constituents of the State Council, shall deliberate on State affairs.
(3) The Prime Minister may recommend to the President the removal of a member of the State Council from office.
(4) No member of the military shall be appointed a member of the State Council unless he is retired from active duty.
Article 88:- (ประธานาธิบดีเป็นผู้บริหารโดยตรง)
(1) The State Council shall deliberate on important policies that fall within the power of the Executive.
(2) The State Council shall be composed of the President, the Prime Minister, and other members whose number shall be no more than thirty and no less than fifteen.
(3) The President shall be the Chairman of the State Council, and the Prime Minister shall be the Vice-Chairman.
Article 89:- (อำนาจของ ครม.)
The following matters shall be referred to the State Council for deliberation:
1. Basic plans for state affairs, and general polices of the Executive ;
2. Declaration of war, conclusion of peace and other important matters pertaining to foreign policy ;
3. Draft amendments to the Constitution, proposals for national referendums, proposed treaties, legislative bills, and proposed presidential decrees;
4. Budgets, closing of accounts, basic plans for disposal of state properties, contracts incurring financial obligation on the State, and other important financial matters;
etc. etc. etc.
Article 90:- ("ที่ปรึกษา"ของประธานาธิบดี)
(1) An Advisory Council of Elder Statesmen, composed of elder statesmen, may be established to advise the President on important affairs of state.
(2) The immediate former President shall become the Chairman of the Advisory Council of Elder Statesmen: except that, if there is no immediate former President, the President shall appoint the Chairman.
(3) The organization, function and other necessary matters pertaining to the Advisory Council of Elder Statesmen shall be determined by law.
etc. etc. etc.
11 กุมภาพันธ์ 2546
เอกสารแนบ 2
(2/1)
|
"แนวความคิด"เกี่ยวกับการบังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค
[ร.ธ.น.(พ.ศ.2517) ฉบับที่ 10 ถึง ร.ธ.น.ปัจจุบัน (2540) ฉบับที่ 16]
***********************************
วงการวิชาการไทย มีแนวความคิด เกี่ยวกับการบังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรค มาตั้งแต่ ร.ธ.น.พ.ศ.2517 จนถึงรัฐธรรมนูญปัจจุบัน พ.ศ.2540 เป็นเวลาเกือบ 30 ปี
และนับตั้งแต่ปี พ.ศ.2535 (กันยายน) หลังพฤษภาทมิฬ ได้มีการแก้ไข ร.ธ.น.(พ.ศ.2534) กำหนดบังคับให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจาก ส.ส.(มาตรา 159) จนถึงขณะนี้เป็นเวลา 10 ปีเศษ
(1) ร.ธ.น.(พ.ศ.2517) ฉบับที่ 10
- มาตรา 117 (คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง)
- เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแค่พรรคเดียว (มาตร 117 (3))
- มาตรา 124 (การขาดจากสมาชิกภาพของ ส.ส)
- ลาออกจากการสมาชิกของพรรคการเมือง (มาตรา 124(7))
- พรรคการเมืองที่ ส.ส.เป็นสมาชิกยุบเลิก (มาตรา 124(7))
- พรรคการเมืองมีมติให้พ้นจากการเป็นสมาชิก ส.ส.เป็นสมาชิก (หรือศาลมีคำสั่งให้ ยุบเลิกพรรคการเมือง) ต้องเข้าเป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่นภายใน 60 วัน (มาตรา 124(9))
(2) (รัฐ)ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย(พ.ศ.2519) ฉบับที่ 11 : ไม่มีบทบัญญัติ
(3) ธรรมนูญการปกครอง (พ.ศ.2520) ฉบับที่ 12 : ไม่มีบทบัญญัติ
(4) ร.ธ.น.(พ.ศ.2521) ฉบับที่ 13
- มาตรา 94 (คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง)
เป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 95 (หรือ พรรคการเมืองตามมาตรา 104 วรรคสอง) พรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่ พรรคเดียว (มาตรา 94(3))
- มาตรา 95 (จำนวนผู้สมัครฯ ที่พรรคการเมืองต้องส่งเข้ารับเลือกตั้ง)
- พรรคการเมืองต้องส่งสมาชิกพรรคการเมืองเข้าสมัครฯ รวมกัน ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่ง
ของจำนวน ส.ส.ทั้งหมดที่จะพึงมีในการเลือกตั้งครั้งนั้น
- มาตรา 103 (การขาดจากสมาชิกภาพของ ส.ส.)
- ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชก(มาตรา 103(7))
- พรรคการเมืองมีมติให้พ้นจากการเป็นสมาชิก(ด้วยคะแนนเสียงของที่ประชุมร่วม ของ"คณะกรรมการบริหารพรรค" และ "ส.ส.ที่สังกัดพรรคการเมือง" ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4) (มาตรา 103(7))
-ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งเลิกพรรคการเมือง ส.ส.ในสังกัดพรรคที่ถูกยุบต้องเข้าเป็น
สมาชิกพรรคการเมืองอื่น(ที่มี ส.ส.อยู่แล้ว) ภายใน 60 วัน (มาตรา 103(9))
[- มาตรา 104 วรรคสอง (การเลือกตั้งซ่อม)
- ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ต้องเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกในสังกัดเป็น ส.ส. อยู่แล้วจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งก่อน]
[หมายเหตุ:- ร.ธ.น.(พ.ศ.2521) ได้ยกร่างขึ้นโดย"คณะกรรมาธิการ"ที่แต่งตั้งโดยสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่"ประธานสภานโยบายแห่งชาติ" นำความกราบบังคมทูล(มาตรา 7 ของธรรมนูญการปกครอง(พ.ศ.2520);
"ประธานสภานโยบายแห่งชาติ" ได้แก่ หัวหน้าคณะปฏิวัติ(มาตรา 17)], พลเรือเอก สงัด ชลออยู่]
(5) ธรรมนูญการปกครองฯ (พ.ศ.2534) ฉบับที่ 14 : ไม่มีบทบัญญัติ
(6) ร.ธ.น.(พ.ศ.2534) ฉบับที่ 15 - Version I
- มาตรา 105 (คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง)
- เป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 106 (หรือ พรรคการ
เมืองตามมาตรา 115 วรรคสอง)
- มาตรา 106 (จำนวนผู้สมัครฯ ที่พรรคการเมืองต้องส่งเข้ารับเลือกตั้ง)
- พรรคการเมืองต้องส่งสมาชิกพรรคการเมืองเข้าสมัครรวมกันไม่น้อยกว่า 120 คน (หรือ 1 ใน 3 ของจำนวน ส.ส. 360 คนที่กำหนดไว้ในมาตรา 99)
- มาตรา 114 (การขาดจากสมาชิกภาพของ ส.ส.)
- ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก (มาตรา 114(7))
- พรรคการเมืองมีมติให้พ้นจากการเป็นสมาชิก(ด้วยคะแนนเสียงของที่ประชุมร่วมของ
"คณะกรรมการบริหารพรรค" กับ "ส.ส.ที่สังกัดพรรคการเมือง"ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4)
(มาตรา 114 (7) และวรรคสุดท้าย)
- ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง ส.ส.ในสังกัดพรรคการเมืองที่ถูกยุบต้องเข้า เป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่นที่มี ส.ส.อยู่แล้วภายใน 60 วัน(มาตรา 114(7))
- มาตรา 115 วรรคสอง (การเลือกตั้งซ่อม)
- ผู้สมัครรับเลือกตั้งต้องเป็นสมาชิกของพรรคการเมืองที่มีสมาชิกในสังกัดเป็น ส.ส. อยู่แล้วจากการเลือกตั้งทั่วไปครั้งก่อน]
[หมายเหตุ:- ร.ธ.น.พ.ศ.2534 ได้ยกร่างขึ้นโดย"คณะกรรมาธิการ" (จำนวนไม่เกิน 20 คน)ซึ่งแต่งตั้งโดย"สภานิติบัญญัติแห่งชาติ" ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภา(จำนวน 200 ถึง 300 คน) ซึ่งพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งตามที่"ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ"นำความกราบบังคมทูล(มาตรา 7 ของธรรมนูญการปกครองฯ พ.ศ.2534) ; "ประธานสภารักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ" ได้แก่ หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (มาตรา 18 วรรค 3 ของธรรมนูญการปกครอง พ.ศ.2534)-พล.อ.สุนทร คงสมพงษ์ ; ร.ธ.น. พ.ศ.2534 ใช้บังคับวันที่ 9 ธันวาคม 2534 ก่อนพฤษภาทมิฬ พ.ศ.2535]
(7) ร.ธ.น.(พ.ศ.2534 / 2538) -Version II แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 พ.ศ.2538
- มาตรา 111 (คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง)
- เป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ส่งสมาชิกเข้าสมัครรับเลือกตั้งตามมาตรา 106 (หรือ พรรคการ
เมืองตามมาตรา 115 วรรคสอง)
- มาตรา 112 (จำนวนผู้สมัครฯ ที่พรรคการเมืองต้องส่งเข้ารับเลือกตั้ง)
- พรรคการเมืองต้องส่งสมาชิกพรรคการเมืองเข้ารับสมัครรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 (1 ใน 4) ของจำนวน ส.ส. ที่จะพึงมี (ตาม ร.ธ.น.Version II นี้) จำนวน ส.ส.ที่จะพึงมี ตามมาตรา 105 ไม่ได้กำหนดจำนวนตายตัว แต่ได้กำหนดให้ถือเกณฑ์จำนวน ราษฎร 150,000 คนต่อ ส.ส. 1 คน)
- มาตรา 120 (การขาดจากสมาชิกภาพของ ส.ส.)
- ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก (มาตรา 114(7))
- พรรคการเมืองมีมติให้พ้นจากการเป็นสมาชิก(ด้วยคะแนนเสียงของที่ประชุมร่วมของ
"คณะกรรมการบริหารพรรค" กับ "ส.ส.ที่สังกัดพรรคการเมือง"ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4) (มาตรา 114(7)) และวรรคสุดท้าย)
- ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งยุบพรรคการเมือง ส.ส.ในสังกัดพรรคการเมืองที่ถูกยุบต้องเข้า
เป็นสมาชิกพรรคการเมืองอื่น(ที่มี ส.ส.อยู่แล้ว) ภายใน 60 วัน(มาตรา 114(7))
(8) ร.ธ.น.(พ.ศ.2540) ฉบับปัจจุบัน ฉบับที่ 16
- มาตรา 107 (คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง)
- เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่งแต่เพียงพรรคเดียวนับถึงวันสมัครรับ เลือกตั้งเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า 90 วัน (มาตรา 107(4))
[หมายเหตุ:- ร.ธ.น.ปัจจุบันไม่ได้กำหนดจำนวนขั้นต่ำของสมาชิกพรรคการเมืองที่พรรคการเมืองจะต้องส่งเข้าสมัครไว้]
- มาตรา 118 (การขาดจากสมาชิกภาพของ ส.ส.)
- ลาออกจากพรรคการเมืองที่ตนเป็นสมาชิก(ม.118 (8))
- พรรคการเมืองมีมติให้พ้นจากการเป็นสมาชิก(ด้วยคะแนนเสียงของที่ประชุมร่วมของ
"คณะกรรมาธิการบริหารพรรค" และ "ส.ส.สังกัดพรรคการเมือง" ไม่น้อยกว่า 3 ใน 4)
- ในกรณีที่ศาล(รัฐธรรมนูญ)มีคำสั่งยุบพรรคการเมือง ส.ส.ในสังกัดพรรคที่ถูกยุบต้องเข้าเป็น
สมาชิกพรรคการเมืองอื่น (ร.ธ.น.ไม่ได้กำหนดให้ต้องเป็นพรรคการเมืองที่มี ส.ส.อยู่แล้ว)
ภายใน 60 วัน(มาตรา 118(9))
11 กุมภาพันธ์ 2546
เอกสารแนบ 3
(3/1)
|
รัฐธรรมนูญไทยเปรียบเทียบกับรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้
(บทบัญญัติที่เกี่ยวกับ "สถานภาพ"ของสมาชิกสภา)
รัฐธรรมนูญของไทย มีทั้งหมด 16 ฉบับ แบ่งได้เป็น 3 ช่วง
[ หมายเหตุ :- ยกเว้น ร.ธ.น.(พ.ศ.2475) ฉบับที่ 1 พ.ร.บ.ธรรมนูญการปกครอง
แผ่นดินสยามชั่วคราว ซึ่งใช้บังคับอยูเพียง 6 เดือน (มิถุนายน - ธันวาคม 2475)]
มาตรา 11 คุณสมบัติของผู้สมัครรับเลือกเป็นผู้แทนประเภทที่ 1 คือ
(1) สอบไล่วิชาชีพการเมืองได้ตามหลักสูตรซึ่งสภาจะได้ตั้งไว้
(2) มีอายุ 20 ปี บริบูรณ์
ฯลฯ ฯลฯ ฯลฯ
(6) เฉพาะผู้เลือกตั้งเป็นผู้แทนประเภทที่ 1 ในสมัยที่ 2 จะต้อง;
ได้รับความเห็นชอบของสมาชิกในสมัยที่ 1 เสียก่อนว่าเป็น
ผู้ที่ไม่ควรสงสัยว่าจะนำมาซึ่งความไม่เรียบร้อย
(หมายเหตุ:- "สมาชิกในสมัยที่ 1" ได้แก่ ผู้ที่คณะราษฎรที่มี
คณะผู้รักษาพระนครฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจแทน แต่งตั้งขึ้นมีจำนวน 70 นายเป็นสมาชิกในสภา)]
[1] ช่วงที่หนึ่ง (ส.ส.ใช้ความเห็นโดยอิสระของตนเองในการทำหน้าที่ในรัฐสภา)
ฉบับที่ 2 ถึงฉบับที่ 9
- ร.ธ.น.(พ.ศ.2475) ฉบับที่ 2
มาตรา 20 (สถานภาพ) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมเป็นผู้แทน
ปวงชนชาวสยาม มิใช่แทนแต่เฉพาะผู้ที่เลือกตั้งตนขึ้นมา ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจมิใช่;อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใดๆ
|
มาตรา 20
|
มาตรา 19 (คำปฏิญาณ) ก่อนเข้ารับหน้าที่ ส.ส.ต้องปฏิญาณในที่ประชุม
แห่งสภาว่า จะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้
|
มาตรา 19
|
- ร.ธ.น.(พ.ศ.2489) ฉบับที่ 3 | |
มาตรา 34 (สถานภาพ) สมาชิกพฤฒสภาและ ส.ส.ย่อมเป็นผู้แทนราษฎรของปวงชนชาวไทย ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใดๆและต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจ
|
มาตรา 34
|
มาตรา 35 (คำปฏิญาณ เหมือน ร.ธ.น.ฉบับที่ 2) ก่อนเข้ารับหน้าที่ ส.ส. ต้องปฏิญาณในที่ประชุมแห่งสภาว่า จะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้
|
มาตรา 35
|
(3/2) |
- ร.ธ.น. (พ.ศ.2490) ฉบับที่ 4 (เหมือนกับ ร.ธ.น.ฉบับที่ 3)
มาตรา 44 (สถานภาพ) สมาชิกวุฒิสภาและ ส.ส.ย่อมเป็นผู้แทนราษฎร
ของปวงชนชาวไทย ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใดๆ
และต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจ เพื่อเป็น
ประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย
|
มาตรา 44
|
มาตรา 43 (คำปฏิญาณ) ก่อนเข้ารับหน้าที่ ส.ส.ต้องปฏิญาณในที่ประชุม
แห่งสภาว่า จะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญนี้
|
มาตรา 43
|
- ร.ธ.น. (พ.ศ.2492) ฉบับที่ 5
มาตรา 101 (สถานภาพ) สมาชิกวุฒิสภาและ ส.ส.ย่อมเป็นผู้แทนราษฎรของปวงชนชาวไทย ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจ เพื่อเป็นประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย
|
มาตรา 101
|
มาตรา 102 (คำปฏิญาณ) "ข้าพเจ้า(ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่าจะปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของข้าพเจ้าโดยบริสุทธิ์ใจเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
|
มาตรา 102
|
- ร.ธ.น. (พ.ศ.2495 แก้ ร.ธ.น.2475) ฉบับที่ 6 (เหมือน ร.ธ.น.ฉบับที่ 2)
มาตรา 79 (สถานภาพ) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวสยาม มิใช่แทนแต่เฉพาะผู้ที่เลือกตั้งตนขึ้นมา / ต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจมิใช่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใดๆ
|
มาตรา 79
|
มาตรา 78 (คำปฏิญาณ) ก่อนเข้ารับหน้าที่ ส.ส.ต้องปฏิญาณในที่ประชุมแห่งสภาว่า จะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้
- ธรรมนูญการปกครอง (พ.ศ.2502) ฉบับที่ 7
|
(ไม่มี)
|
(3/3) |
- ร.ธ.น. (พ.ศ.2511) ฉบับที่ 8
มาตรา 97 (สถานภาพ) สมาชิกพฤฒสภาและ ส.ส.ย่อมเป็นผู้แทนราษฎร
ของปวงชนชาวไทย ไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติมอบหมายใดๆ ;
และต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของตนโดยบริสุทธิ์ใจ เพื่อเป็น
ประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย
|
มาตรา 97
|
มาตรา 98 (คำปฏิญาณ) "ข้าพเจ้า(ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่าจะปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของข้าพเจ้าโดยบริสุทธิ์ใจเพื่อประโยชน์ของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
|
มาตรา 98
|
- ธรรมนูญการปกครอง (พ.ศ.2515) ฉบับที่ 9
|
(ไม่มี)
|
|
[2] ช่วงที่สอง (เป็นระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญเริ่มกำหนดมาตรการบังคับให้ ส.ส.ต้องสังกัดพรรคโดยบทมาตราเกี่ยวกับ"สถานภาพของ ส.ส."จะเปลี่ยนแปลงไป คือ ถูกตัดให้สั้นลง, แต่มาตราเกี่ยวกับคำปฏิญาณคงเดิม)
ฉบับที่ 10 ถึงฉบับที่ 12
- ร.ธ.น.(พ.ศ.2517) ฉบับที่ 10 -เริ่มแนวความคิดเกี่ยวกับการบังคับสังกัดพรรค
| |
มาตรา 127 (สถานภาพ) ส.ว.และ ส.ส.ย่อมเป็นผู้แทนผู้แทนปวงชนชาวไทย มาตรา 127
มาตรา 128 (คำปฏิญาณ) "ข้าพเจ้า(ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่าข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ตามความเห็นของข้าพเจ้าโดยบริสุทธิ์ใจเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
|
มาตรา 128
|
- (รัฐ)ธรรมนูญการปกครอง (พ.ศ.2519) ฉบับที่ 11
(คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน - พล.ร.เอก สงัด ชลออยู่)
|
(ไม่มี)
|
ธรรมนูญการปกครอง (พ.ศ.2520) ฉบับที่ 12
(คณะปฏิวัติ, พล.ร.เอก สงัด ชลออยู่)
|
(ไม่มี)
|
[3] ช่วงที่สาม (เป็นระยะเวลาที่รัฐธรรมนูญบังคับ ส.ส.ให้สังกัดพรรคอย่างเข้ม ; โดยได้มีการเปลี่ยนแปลง มาตราเกี่ยวกับ"สถานภาพของ ส.ส."และมาตราเกี่ยวกับคำปฏิญาณ)
ฉบับที่ 13 ถึงฉบับที่ 16
- ร.ธ.น.(พ.ศ.2521) ฉบับที่ 13 - บังคับสังกัดพรรค
มาตรา 106 (สถานภาพ) ส.ว.และ ส.ส.ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย
มาตรา 107 (คำปฏิญาณ) "ข้าพเจ้า(ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า
ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
|
มาตรา 106
|
- ธรรมนูญการปกครอง (พ.ศ.2543) ฉบับที่ 14
(คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ: พลเอกสุนทร คงสมพงษ์)
|
(ไม่มี)
|
- ร.ธ.น.(พ.ศ.2534) ฉบับที่ 15 (Version I) - บังคับสังกัดพรรค | |
มาตรา 117 (สถานภาพ) ส.ว.และ ส.ส.ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย
และต้องปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย
|
มาตรา 117
|
มาตรา 118 (คำปฏิญาณ) "ข้าพเจ้า(ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า
ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
ของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
|
มาตรา 118
|
- ร.ธ.น.(พ.ศ.2534 / 2538) [มาตรา 123 และมาตรา 124 เหมือนกับมาตรา 117 และมาตรา 118 ของ ร.ธ.น.(พ.ศ.2534) ; แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 พ.ศ.2538
Version I]ฉบับที่ 15 (Version II) บังคับสังกัดพรรค
|
มาตรา 123
|
- ร.ธ.น.(พ.ศ.2540) ฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ 16 บังคับสังกัดพรรค
มาตรา 149 (สถานภาพ) ส.ว.และ ส.ส.ย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทย และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตเพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย
|
มาตรา 149
|
มาตรา 150 (คำปฏิญาณ) "ข้าพเจ้า(ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอปฏิญาณว่า;ข้าพเจ้าจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการ"
|
มาตรา 150
|
11 กุมภาพันธ์ 2546
ลงเผยแพร่ครั้งแรกใน Public Law Net วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2546
|