พันธกิจ
(Missions)
สมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศตั้งขึ้นในปี 1983 ปัจจุบันมีศาลปกครองสูงสุดและองค์การระหว่างประเทศมากกว่า 80 ประเทศ เข้าร่วมเป็นภาคี
สมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาความร่วมมือระหว่างศาลปกครองสูงสุดของทุกประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคี เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว สมาคมฯ จึงส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาค้นคว้าด้านกฎหมาย เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในด้านการจัดโครงสร้างองค์กร การดำเนินงาน และแนวคำวินิจฉัยของศาลให้แก่บรรดาภาคีและบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสนับสนุนให้มีการประสานงานระหว่างตุลาการ
ศาลปกครองสูงสุดจากประเทศต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้ สมาคมฯ จะจัดรวมคำพิพากษาเปรียบเทียบ โดยยึดเนื้อหาตามหัวข้อการอภิปรายในการประชุมสัมมนาทางวิชาการ เพื่อพัฒนาความรู้ทางด้านกฎหมายปกครองระหว่างประเทศต่างๆ
ข้อบังคับ
(Statutes)
สืบเนื่องการประชุมของสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์นานาชาติ ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 1980 ณ กรุงมาดริด ได้มีข้อเสนอแนะการจัดตั้งสมาคมศาลปกครองสูงสุดจากทั่วโลก เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาหลักกฎหมาย โดยการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ระหว่างศาลปกครองสูงสุดที่เป็นภาคีและศาลแห่งองค์การระหว่างประเทศ ครั้งนั้น จึงมีการลงมติว่าเพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติภารกิจที่ซ้ำซ้อนกัน และโดยตระหนักถึงการสนับสนุนจากสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์นานาชาติ จึงจัดตั้งสมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศขึ้น ซึ่งมีภารกิจเชื่อมโยงกับสถาบันแห่งนี้ นอกจากนี้ เพื่อให้มีข้อกำหนดเกี่ยวกับความใกล้เคียงกันระหว่างภารกิจของสมาคมฯ และภารกิจของสถาบันรัฐประศาสตร์นานาชาติ จึงได้มีการจัดทำข้อบังคับสมาคมฯ อันมีใจความ ดังจะกล่าวดังนี้
ชื่อ
ข้อ 1
ตามข้อบังคับนี้ ให้สมาคมมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า สมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ ให้เรียก International Association of Supreme Administrative Jurisdictions-IASAJ) (ภาษาฝรั่งเศส ให้เรียก Association internationale des hautes jurisdictions administratives AIHJA)
วัตถุประสงค์ในการดำเนินการ
ข้อ 2
สมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน
การดำเนินงานของศาลปกครองต่างๆ ที่อาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป (เช่น สภาแห่งรัฐ
ศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองชั้นต้น องค์คณะของศาลสูง ศาลปกครองแห่งองค์กรระหว่างประเทศ) และเป็นศาลที่มีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยคดีในชั้นสุดท้าย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นคดีที่เกิดจากการกระทำของฝ่ายปกครอง รวมทั้งสนับสนุนให้มีการแลกเปลี่ยนทัศนคติและประสบการณ์เกี่ยวกับข้อปัญหาต่างๆ ที่ส่งมายังศาลปกครองสูงสุดรวมทั้งอุปสรรคเกี่ยวกับการจัดโครงสร้างและ
การดำเนินงานของศาล
ที่ตั้ง
ข้อ 3
สมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศตั้งอยู่ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ทั้งนี้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ หากที่ประชุมใหญ่ออกเสียงลงมติจำนวน 2 ใน 3
การดำเนินงาน
ข้อ 4
เพื่อตอบสนองวัตถุประสงค์ดังกล่าว สมาคมฯ จะส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับข้อปัญหาต่างๆ ตามที่กำหนดในข้อ 2 และรายงานข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการจัดโครงสร้าง การดำเนินงาน และแนวคำวินิจฉัยของศาลตามที่กำหนดในข้อ 2 ไปยังประเทศภาคีและบุคคลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสนับสนุนให้มีการประสานงานระหว่างตุลาการศาลปกครองสูงสุดจากประเทศต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้ สมาคมฯ มีหน้าที่จัดรวบรวมเอกสารต่างๆ ตามวัตถุประสงค์ของสมาคมฯ รวมทั้งจัดตั้งศูนย์ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศภาคี
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมาคมฯ เป็นผู้จัดการประชุมระหว่างหน่วยงานปฏิบัติการ
ของสมาคมฯ ตามวาระ และจัดการประชุมใหญ่เป็นประจำทุก 3 ปี เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกันเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้น
ข้อ 5
สมาคมฯ ประกอบด้วยศาลปกครองสูงสุดตามที่กำหนดในข้อ 2
ทั้งนี้ ให้มีเฉพาะประเทศต่างๆ หรือองค์กรระหว่างประเทศเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกเท่านั้น
ในการประชุมใหญ่ ศาลปกครองสูงสุดในแต่ละประเทศหรือองค์กรระหว่างประเทศที่เป็นภาคีสมาชิกมีสิทธิออกเสียงลงมติได้แห่งละ 1 เสียง
ในการประชุมใหญ่หรือในที่ประชุมใหญ่ ประเทศหรือองค์การระหว่างประเทศที่เป็นภาคีสมาชิกสามารถส่งตัวแทนเข้าร่วมประชุมได้ไม่เกิน 3 คน (มติที่ประชุมใหญ่ ลงวันที่ 28 เมษายน 2004)
ข้อ 6
สมาคมฯ อาจกำหนดให้ภาคีสมาชิกสังเกตการณ์ ภาคีสมาชิก หรืออดีตภาคีสมาชิกของสถาบันที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมใหญ่
ข้อ 7
ที่ประชุมใหญ่ประกอบด้วยตัวแทนจากภาคีสมาชิกตามที่กำหนดในข้อ 5 ซึ่งหารือร่วมกันในระหว่างการประชุมใหญ่ตามที่กำหนดในข้อ 4 ที่ประชุมใหญ่จะเลือกคณะกรรมการบริหาร ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกทั้งเก่าและใหม่เป็นตัวแทนจากศาลปกครองสูงสุด ซึ่งจะปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีการประชุมในวาระต่อไป ทั้งนี้ เว้นแต่ตัวแทนดังกล่าวลาออก หรือศาลแจ้งต่อเลขาธิการ สมาคมฯ ว่าให้มีผู้ปฏิบัติหน้าที่นั้นแทน
สำหรับการประชุมใหญ่นั้น จะมีการแต่งตั้งเลขาธิการ เหรัญญิกของสมาคม และผู้สอบบัญชี
กรณีตำแหน่งดังกล่าวว่างลง คณะทำงานของคณะกรรมการบริหารจะกำหนดให้มีผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนจนกว่าจะมีการประชุมครั้งถัดไป ทั้งนี้ ตามที่กำหนดในข้อ 11
ข้อ 8
ให้คณะกรรมการบริหารทำหน้าที่บริหารสมาคมฯ
คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่ดูแลงานด้านการจัดทำงบประมาณประจำปี
วางมาตรการที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานของสมาคมฯ กำหนดระเบียบการรับสมัครสมาชิกของสมาคมฯ เจรจาตกลงกับสถาบันรัฐประศาสนศาสตร์นานาชาติ เพื่อได้รับความช่วยเหลือจากสถาบันดังกล่าวในการบริหารงานหรือการแลกเปลี่ยนข้อมูล
คณะกรรมการบริหารอาจมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ที่ได้รับเงินค่าตอบแทนจากสมาคมฯ ดำเนินภารกิจของสมาคมฯ
ข้อ 9
คณะกรรมการฝ่ายบริหารประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 30 คน โดยมีประธาน 1 คน และรองประธานอย่างน้อย 2 คน (มติที่ประชุมใหญ่ ลงวันที่ 28 เมษายน 2004)
ข้อ 10
เลขาธิการอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของประธาน คณะกรรมการฝ่ายบริหาร มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานของสมาคมฯ และเป็นผู้บังคับบัญชาของบุคลากรภายในสมาคมฯ ในการนี้ เลขาธิการและเหรัญญิกจะเข้าร่วมการประชุมของคณะกรรมการฝ่ายบริหารเพื่อออกเสียงลงมติ โดยเลขาธิการเป็นผู้ควบคุมดูแลสำนักงานเลขาธิการของคณะกรรมการฝ่ายบริหาร
ข้อ 11
คณะกรรมการฝ่ายบริหารอาจมอบหมายให้คณะทำงานซึ่งประกอบด้วยประธาน รองประธานจำนวน 3 คน เลขาธิการ และเหรัญญิกปฏิบัติหน้าที่ในบางเรื่อง
ข้อ 12
ให้คณะกรรมการฝ่ายบริหารพิจารณาการรับสมาชิกของสมาคมฯ โดยปฏิบัติตามระเบียบที่ประชุม
ข้อ 13
คณะกรรมการบริหารมีหน้าที่จัดการประชุมปีละไม่ต่ำกว่า 1 ครั้ง ทั้งนี้ ตามคำขอของประธานคณะกรรมการฝ่ายบริหารหรือสมาชิกจำนวน 1 ใน 3
ในการลงมติของที่ประชุม ถ้ามีคะแนนเสียงเท่ากัน ให้ประธานออกเสียงเพิ่มขึ้น หนึ่งเสียงเป็นเสียงชี้ขาด
เพื่อในการลงมติของที่ประชุมเป็นไปโดยสมบูรณ์ ต้องมีคะแนนเสียงจากสมาชิกคณะกรรมการบริหารจำนวน 1 ใน 3 ให้ส่งรายงานการประชุมแต่ละครั้งไปยังสมาชิกของสมาคมฯ
ให้ส่งรายงานการประชุมแต่ละครั้งไปยังสมาชิกของสมาคมฯ
ข้อ 14
สมาชิกคณะกรรมการฝ่ายบริหารไม่มีสิทธิได้รับค่าตอบแทนใดๆ อันเนื่องมาจากการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
ส่วนค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของคณะกรรมการฯ มิได้อยู่ในส่วนของสมาคมฯ เว้นแต่กรณีเป็นค่าประกันสมาชิก
นอกจากนี้ ให้ประธานมีอำนาจเรียกเจ้าหน้าที่ที่ได้รับเงินค่าตอบแทนจากสมาคมฯมาให้เสียงสนับสนุนในการประชุมของคณะกรรมการฝ่ายบริหารและคณะทำงาน
ภาษาที่ใช้ในการดำเนินงานของสมาคมฯ
ข้อ 15
ภาษาหลักที่ใช้ในการดำเนินงานของสมาคมฯ และการจัดทำเอกสารต่างๆ คือ ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศส
แหล่งเงินทุนของสมาคมฯ
ข้อ 16
แหล่งเงินทุนของสมาคมฯ ได้แก่
- ค่าธรรมเนียมสมาชิก
- เงินบริจาคและเงินช่วยเหลือจากประเทศภาคี นิติบุคคลมหาชนหรือนิติบุคคล เอกชน ตามความเห็นชอบของคณะกรรมการฝ่ายบริหาร
ข้อ 17
ในการประชุมแต่ละครั้ง มีการกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมสมาชิกตามเกณฑ์ของประเทศต่างๆ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม โดยพิจารณาตามความสามารถในการจ่ายของแต่ละประเทศ ทั้งนี้ ให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาจัดกลุ่มขององค์การระหว่างประเทศ
ข้อ 18
ประเทศที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรับผิดชอบค่าใช้จ่ายต่างๆ เกี่ยวกับการจัดเตรียมและการดำเนินการประชุม รวมทั้งการแปล การจัดพิมพ์ และการเผยแพร่เอกสารต่างๆ ในการประชุม (มติที่ประชุมใหญ่ ลงวันที่ 28 เมษายน 2004) อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริหารอาจเสนอให้สมาคม ฯ รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในบางส่วนที่เกี่ยวกับการจัดประชุม ทั้งนี้ ตามจำนวนที่คณะกรรมการบริหารเห็นสมควร
การพิจารณาทบทวนระเบียบข้อบังคับ การยุบสมาคมฯ
ข้อ 19
ให้คณะกรรมการบริหารพิจารณาทบทวนในเรื่องระเบียบข้อบังคับและการยุบสมาคมฯ โดยต้องมีการลงคะแนนเสียง จำนวน 2 ใน 3 และพิจารณาการโอนทรัพย์สินและเงินทุนของสมาคมฯ ไปเป็นของสถาบันใดสถาบันหนึ่งในระดับเดียวกัน
ข้อ 20
ปัจจุบัน สมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศ จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายฝรั่งเศส
คณะกรรมการอำนวยการ
(Board of Directors)
พฤษภาคม 2547
1. Prof.Dr. Ackaratorn Chularat ประธานศาลปกครองสูงสุดแห่งราชอาณาจักรไทย
(ศ.ดร. อักขราทร จุฬารัตน) ดำรงตำแหน่ง ประธานสมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศ
2. Mr. Renaud DENOIX de SAINT MARC รองประธานสภาแห่งรัฐฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง รองประธานสมาคมศาลปกครองสูงสุด
ระหว่างประเทศ
3. Mr. Abdel Rahman Osman AZOUZ ประธานสภาแห่งรัฐอียิปต์
ดำรงตำแหน่ง รองประธานสมาคมศาลปกครองสูงสุด
ระหว่างประเทศ
4. Mr. Taïeb ELLOUMI ประธานคนที่ 1 แห่งศาลปกครองตูนีเซีย
ดำรงตำแหน่ง รองประธานสมาคมศาลปกครองสูงสุด
ระหว่างประเทศ
5. Mr. Alier Eduardo HERNÁNDEZ ENRIQUEZ สมาชิกสภาแห่งรัฐโคลัมเบีย
ดำรงตำแหน่ง รองประธานสมาคมศาลปกครองสูงสุด
ระหว่างประเทศ
6. Mr. Patrick FRYDMAN เลขาธิการสภาแห่งรัฐฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง เลขาธิการสมาคมศาลปกครองสูงสุด
ระหว่างประเทศ โทร. (33) 1.40.20.80.02
แฟกซ์ (33) 1.40.20.83.60
7. Mr. Yves KREINS หัวหน้าคณะพิจารณาคดี/สภาแห่งรัฐเบลเยียม
ดำรงตำแหน่ง เหรัญญิกของสมาคมศาลปกครองสูงสุด
ระหว่างประเทศ
8. Mr.Gustaf SANDSTRÖM ตุลาการศาลปกครองสูงสุดสวีเดน
ดำรงตำแหน่ง ผู้ตรวจสอบบัญชีสมาคมศาลปกครองสูงสุด
ระหว่างประเทศ
9. Mrs. Chantal LÉVÊQUE Attachée dAdministration สภาแห่งรัฐฝรั่งเศสฝรั่งเศส
ดำรงตำแหน่ง เลขานุการสมาคมศาลปกครองสูงสุด
ระหว่างประเทศ โทร. (33) 1.40.20.80.11
แฟกซ์ (33) 1.40.20.81.34
อีเมล์ : chantal.leveque@conseil-etat.fr
คณะกรรมการบริหาร
(Members of the Board)
สมาชิกถาวรของสมาคมฯ ที่ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการบริหารชุดปัจจุบัน ประกอบด้วย
1. Austria
2. Belgium
3. Colombia
4. Cyprus
5. Egypt
6. Finland
7. France
8. Greece
9. Hungary
10. Indonesia
11. Israel
12. Italy
13. Ivory Coast (The)
14. Luxembourg
15. Mali
16. Netherlands
17. Poland
18. Portugal
19. Senegal
20. Slovenia
21. Spain
22. Sweden
23. Thailand
24. Tunisia
25. Turkey
การประชุมสามัญ
(Congresses)
นับตั้งแต่มีการก่อตั้งสมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศขึ้น สมาคมฯ ได้จัดการประชุมหมุนเวียนสับเปลี่ยนกันทุก 3 ปี ระหว่างประเทศสมาชิกตลอดมาจนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 8 ครั้ง โดยมีหัวข้อการประชุมดังต่อไปนี้
(1) การประชุมครั้งที่ 1 (ค.ศ. 1983) จัดขึ้นที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส โดยมีหัวข้อการประชุม คือ การควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองฝ่ายเดียวโดยองค์กรตุลาการ
(2) การประชุมครั้งที่ 2 (ค.ศ. 1986) จัดขึ้นที่เมืองตูนีส ประเทศตูนีเซีย โดยมีหัวข้อการประชุม คือ โอกาสของประชาชนในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง
(3) การประชุมครั้งที่ 3 (ค.ศ. 1989) จัดขึ้นที่เมืองเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ โดยมีหัวข้อการประชุม คือ การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีในศาลปกครอง
(4) การประชุมครั้งที่ 4 (ค.ศ. 1992) จัดขึ้นที่ประเทศลักซัมเบริ์ก โดยมีหัวข้อ
การประชุม คือ ผลทางกฎหมายของคำพิพากษาในคดีปกครอง
(5) การประชุมครั้งที่ 5 (ค.ศ. 1995) จัดขึ้นที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี โดยมีหัวข้อการประชุม คือ มาตรการชั่วคราวในคดีปกครอง
(6) การประชุมครั้งที่ 6 (ค.ศ. 1998) จัดขึ้นที่เมืองลิสบอน ประเทศโปรตุเกส
โดยมีหัวข้อการประชุม คือ การบังคับใช้กฎหมายระหว่างประเทศโดยศาลปกครอง
(7) การประชุมครั้งที่ 7 (ค.ศ. 2001) จัดขึ้นที่เมืองดาการ์ ประเทศเซเนกัล
โดยมีหัวข้อการประชุม คือ การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของปัจเจกชนโดยศาลปกครอง
(8) การประชุมครั้งที่ 8 (ค.ศ. 2004) จัดขึ้นที่กรุงมาดริด ประเทศสเปน โดยมีหัวข้อการประชุม คือ การบังคับคดีปกครอง
(9) การประชุมครั้งที่ 9 (ค.ศ. 2007) จะจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย โดยหัวข้อการประชุมจะกำหนดภายหลัง
สมาชิกของสมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศ
สมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศ มีประเทศต่าง ๆ และองค์การระหว่างประเทศเข้าร่วมเป็นภาคีสมาชิกรวม 88 ประเทศ/องค์กร โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
- ภาคีสมาชิกถาวร
- ภาคีสมาชิกสังเกตการณ์
- ภาคีสมาชิกรับเชิญ
ภาคีสมาชิกถาวร
(Member Jurisdictions)
ปัจจุบัน สมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศมีประเทศและองค์การระหว่างประเทศเป็นภาคีสมาชิกถาวรรวม 55 แห่ง โดยสามารถแบ่งตามทวีปได้ดังนี้
ก. ทวีปแอฟริกา มีภาคีสมาชิกจำนวน 22 แห่ง
1. Algeria
2. Benin
3. Burkina Faso
4. Burundi
5. Cape Verde Islands
6. Central African Republic
7. Chad
8. Congo (Brazaville)
9. Egypt
10. Gabon
11. Guinea
12. Ivory Coast (The)
13. League of Arab States
14. Madagascar
15. Mali
16. Mauritania
17. Morocco
18. Mozambique
19. Rwanda
20. Senegal
21. Togo
22. Tunisia
ข. ทวีปเอเชีย มีภาคีสมาชิกจำนวน 5 แห่ง
1. China
2. Indonesia
3. Israel
4. Lebanon
5. Thailand
ค. ทวีปออสเตรเลีย มีภาคีสมาชิกจำนวน 1 แห่ง คือ Australia
ง. ทวีปยุโรป มีภาคีสมาชิกรวม 22 แห่ง
1. Austria
2. Belgium
3. Bulgaria
4. Cyprus
5. European Union
6. Finland
7. France
8. Germany
9. Greece
10. Hungary
11. Italy
12. Luxembourg
13. Malta
14. Netherlands
15. Norway
16. Poland
17. Portugal
18. Slovenia
19. Spain
20. Sweden
21. Switzerland
22. Turkey
จ. ทวีปอเมริกาเหนือ มีภาคีสมาชิก 2 แห่ง
1. Canada
2. Mexico
ฉ. ทวีปอเมริกาใต้ มีภาคีสมาชิก 3 แห่ง
1. Argentina
2. Brazil
3. Colombia
ภาคีสมาชิกสังเกตการณ์
(Observers)
ปัจจุบัน สมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศมีประเทศและองค์การระหว่างประเทศเป็นภาคีสมาชิกสังเกตการณ์ รวม 15 แห่ง แบ่งตามทวีปได้ดังนี้
ก. ทวีปแอฟริกา มีภาคีสมาชิกสังเกตการณ์ จำนวน 3 แห่ง
1. Cameroon (The)
2. Gambia
3. Kenya
ข. ทวีปเอเชีย มีภาคีสมาชิกสังเกตการณ์ จำนวน 1 แห่ง คือ Pakistan
ค. ทวีปยุโรป มีภาคีสมาชิกสังเกตการณ์ จำนวน 6 แห่ง
1. Czech Republic
2. Monaco
3. Council of Europe
4. ILO
5. Lithuania
6. Vatican
ง. ทวีปอเมริกาเหนือ มีภาคีสมาชิกสังเกตการณ์ จำนวน 1 แห่ง คือ UNO
จ. ทวีปอเมริกาใต้ มีภาคีสมาชิกสังเกตการณ์ จำนวน 4 แห่ง คือ
1. Costa Rica
2. EI Savador
3. Uruguay
4. Nigaragua
ภาคีสมาชิกรับเชิญ
(Invited Jurisdictions)
ปัจจุบัน สมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศมีประเทศและองค์การระหว่างประเทศเป็นภาคีสมาชิกรับเชิญ จำนวน 18 แห่ง โดยแบ่งตามทวีปได้ดังนี้
ก. ทวีปแอฟริกา มีภาคีสมาชิกรับเชิญ จำนวน 4 แห่ง
1. Niger
2. Nigeria
3. Angola
4. Congo (Kinshasa)
ข. ทวีปเอเชีย มีภาคีสมาชิกรับเชิญ จำนวน 3 แห่ง
1. Bangladesh
2. Japan
3. Malaysia
ค. ทวีปออสเตรเลีย มีภาคีสมาชิกรับเชิญ จำนวน 1 แห่ง คือ New Zealand
ง. ทวีปยุโรป มีภาคีสมาชิกรับเชิญ จำนวน 6 แห่ง
1. Denmark
2. Great Britain
3. Iceland
4. IIAS
5. Ireland
6. Romania
จ. ทวีปอเมริกาเหนือ มีภาคีสมาชิกสังเกตการณ์ จำนวน 1 แห่ง คือ United States
ฉ. ทวีปอเมริกาใต้ มีภาคีสมาชิกสังเกตการณ์ จำนวน 3 แห่ง
1. Bolivia
2. Panama
3. Venezuela
แก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ
แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 5
(หัวข้อ การดำเนินงาน)
เหตุผล
ประสบการณ์จากการประชุมใหญ่สองครั้งที่ผ่านมาของสมาคมศาลปกครองสูงสุดระหว่างประเทศทำให้เรียนรู้ว่า จำนวนบุคคลของคณะผู้แทนจากภาคีแต่ละประเทศนั้นมากเกินไป ซึ่งสร้างภาระค่าใช้จ่ายให้กับประเทศเจ้าภาพอย่างมาก ฉะนั้น เพื่อลดปริมาณค่าใช้จ่ายดังกล่าว จะต้องลดจำนวนตัวแทนจากภาคีแต่ละประเทศจาก 5 คนเหลือ 3 คน
ในทางกลับกัน ไม่ควรลดจำนวนบุคคลลงน้อยกว่า 3 คน เพราะว่าแต่ละคณะจะมี ตัวแทนเข้าร่วมคณะอภิปรายตามหัวข้อ 3 คณะในการประชุมใหญ่
ข้อ 5 วรรค 4
ตามข้อ 5 วรรค 4
ให้ใช้ 3 แทน 5
แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 9
เหตุผล
ข้อ 9 ของข้อบังคับ กำหนดให้คณะกรรมการบริหารประกอบด้วยสมาชิกไม่เกิน 25 คน ซึ่งในปัจจุบันกำหนดให้เหลือ 23 คน อนึ่ง ศาลปกครองสูงสุดที่เป็นเจ้าภาพจัดประชุมใหญ่ เป็นสมาชิกโดยกฎหมายของคณะกรรมการบริหาร เนื่องจากดำรงตำแหน่งประธานสมาคมศาลปกครองระหว่างประเทศ และตามธรรมเนียมปฏิบัติแล้ว ศาลจะเป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะกรรมการบริหารจะเป็นสมาชิกของคณะกรรมการบริหารไปพร้อมกัน กรณีที่ศาลนั้นยังไม่เคยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมดังกล่าว ทั้งนี้ในการประชุมอีก 3 ปีข้างหน้า ให้ประเทศฮังการีและประเทศสโลวาเนียเป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะกรรมการบริหารตามลำดับ และประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุมใหญ่ อย่างไรก็ดี ดูเหมือนจะเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่ต้องคำนึงถึง หากจะดึงสมาชิกปัจจุบันบางคนของคณะกรรมการบริหารออก ทั้งที่เป็นศาลที่เข้าร่วมการประชุมอย่างสม่ำเสมอ ฉะนั้น เพื่อสร้างบูรณภาพให้กับสามประเทศเจ้าภาพดังกล่าว ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับ เพื่อกำหนดให้จำนวนสมาชิกของคณะกรรมการบริหารมีเพิ่มขึ้น หากพิจารณาในเรื่องความจำเป็นที่จะจำกัดจำนวนสมาชิกดังกล่าว ความมีประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และเพื่อเปิดกรอบกว้างให้แก่การเพิ่มจำนวนสมาชิกในอนาคต เห็นควรให้เพิ่มสมาชิกคณะกรรมการบริหารให้มีจำนวนไม่เกิน 30 คน
ข้อ 9
ตามข้อ 9
ให้ใช้คำว่า ไม่เกิน 30 คน แทนคำว่า 15 ถึง 25 คน
แก้ไขเพิ่มเติมข้อ 18
(หัวข้อ การเงินของสมาคมฯ)
เหตุผล
การจัดการประชุมใหญ่ของสมาคมฯ สร้างภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประเทศเจ้าภาพ และตามข้อบังคับสมาคมฯ ข้อ 18 ฉบับปัจจุบัน กำหนดว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวมีอยู่ในภาระรับผิดชอบของสมาคมฯ เว้นแต่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับค่าประกันสมาชิก รวมถึงการแปล การจัดพิมพ์ และเผยแพร่เอกสารที่เกี่ยวกับการประชุม อนึ่ง กรณีสถานะด้านการเงินของสมาคมฯ เข้มแข็ง สมาคมฯ อาจเข้ามามีส่วนร่วมในการให้เงินสนับสนุนการจัดประชุมดังกล่าว
อย่างไรก็ดี ควรกำหนดขอบเขตในการเข้ามามีส่วนร่วมในการให้เงินสนับสนุนการจัดการประชุมใหญ่ในจำนวนที่สอดคล้องกับความสามารถทางการเงิน ฉะนั้น กรณีที่ประเทศเจ้าภาพยกเหตุผลความจำเป็นขึ้นเสนอต่อเหรัญญิกของสมาคมฯ คณะกรรมการบริหารอาจกำหนดจำนวนเงินสนับสนุนของสมาคมฯ เป็นกรณีไป
ฉะนั้น เห็นควรอนุมัติในหลักการและสาระของการแก้ไขเพิ่มเติม ดังนี้
ข้อ 18
ประโยคที่สองของข้อ 18 มีความดังต่อไปนี้
อย่างไรก็ตาม สมาคมฯ อาจรับผิดชอบค่าใช้จ่ายบางส่วนที่เกี่ยวกับการจัดการประชุมใหญ่ ทั้งนี้
ตามจำนวนที่กำหนดโดยคณะกรรมการบริหาร
|