หน้าแรก เวทีทรรศนะ
การไปเรียนกฎหมายมหาชนที่ประเทศฝรั่งเศส
รศ.ดร. นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
30 ธันวาคม 2547 11:10 น.
 
            
       การศึกษากฎหมายมหาชนนั้น เป็นที่เข้าใจและยอมรับกันมานานแล้วว่า หากจะศึกษาต่อภายหลังปริญญาตรีและโทในประเทศไทย ควรไปศึกษาต่อที่ฝรั่งเศสหรือเยอรมัน ด้วยเหตุผลที่ว่า ทั้ง 2 ประเทศเป็นประเทศที่มีการแยกระบบกฎหมายเอกชนออกจากระบบกฎหมายมหาชนอย่างชัดเจนเป็นเวลานานแล้ว และนอกจากนี้ ประเทศไทยเราก็ได้รับอิทธิพลจากระบบกฎหมายมหาชนของทั้งสองประเทศนี้เป็นอย่างมากครับ ลองดูในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันก็ได้ว่า มีหลายอย่างที่ เป็น “ฝรั่งเศส” และบางส่วนก็เป็น “เยอรมัน” ครับ

                   
       เรื่องภาษาก็เป็นอุปสรรคกับทุกคนนั่นแหล่ะครับ แต่อย่าลืมว่ามีคนเรียนหนังสือจบจากทั้งฝรั่งเศสและเยอรมันมาหลายพันคนแล้วในช่วงเวลาร้อยปีที่ผ่านมา คนเหล่านี้ก็มีปัญหาเรื่องภาษาเหมือนกันครับ แต่ส่วนใหญ่ก็เอาชนะอุปสรรคเรื่องภาษาไปได้ครับ ก็ต้องพยายามนะครับหากต้องการเรียนต่อ เรื่องค่าใช้จ่ายก็อย่างที่ทราบนะครับ ฝรั่งเศสเป็น “รัฐสวัสดิการ” ครับ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่รัฐก็จะออกให้ แม้จะเป็นคนต่างชาติก็ตามครับ การเรียนภาษามีหลายที่ที่สอนครับ ลูกชายผมเรียนอยู่ที่สมาคมฝรั่งเศสครับ มีหลายคนไปเรียนที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ หรือคณะศิลปศาสตร์ ธรรมศาสตร์ครับ ลองติดต่อดูแล้วกัน

                   
       สงสัยก็แวะมาคุยกันได้นะครับ อยู่ใกล้กันแค่นี้เอง!!
       




 
 
ความหมายของการกระทำทางปกครอง
คุณสมบัติของตุลาการศาลปกครอง
ความหมายของเจ้าหน้าที่ของรัฐ
ความหมายของ "ตุลาการ" และ "ผู้พิพากษา"
สิทธิการเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ
   
 
 
 
รัฐธรรมนูญมาตรา 268 (ผลผูกพันของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ต่อศาลรัฐธรรมนูญเอง)
ความแตกต่างระหว่างองค์กรชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลของไทยและฝรั่งเศส
การอายัดเงินประกันค่าก่อสร้าง
"สภารัฐธรรมนูญ" ของประเทศฝรั่งเศส
การมีคำสั่งทางปกครองโดยมีเงื่อนไข
ปัญหาในการตอบข้อสอบวิชากฎหมายมหาชน
สิทธิการเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ
คำแนะนำในการศึกษากฎหมายมหาชน
คำสั่งทางปกครองกับมาตรการภายใน
เสรีภาพทางศาสนาในประเทศฝรั่งเศส
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544