สิทธิการเบิกค่าเช่าบ้านของข้าราชการ |
|
|
|
คุณ สิริพร มณีภัณฑ์
สำนักงานศาลปกครอง
|
|
|
|
|
|
|
|
|
สิทธิในการเบิกค่าเช่าซื้อบ้านของข้าราชการนั้น เป็นสิทธิตามพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้าน พ.ศ.2527 ซึ่งตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้กำหนดกรณีที่ข้าราชการไม่อาจเบิกค่าเช่าซื้อบ้านไว้หลายกรณี รวมทั้งกรณีที่ข้าราชการมีเคหสถานเป็นของตนเองอยู่ในท้องที่ที่ได้รับคำสั่งให้ไปรับราชการ ดังเช่นกรณีของคุณสมศักดิ์ฯ
เมื่อสิทธิเบิกค่าเช่าซื้อบ้านของคุณสมศักดิ์มิได้มีมาตั้งแต่ต้นคือ ตั้งแต่คุณสมศักดิ์ฯย้ายมาทำงานในท้องที่ซึ่งคุณสมศักดิ์ฯมีเคหสถานเป็นของตนเอง ดังนั้น ในเวลาต่อมาคุณสมศักดิ์ฯก็ยังคงไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าซื้อบ้านอยู่นั่นเอง อีกทั้งข้อจำกัดการใช้สิทธิเบิกค่าเช่าบ้านเพราะเหตุมีเคหสถานเป็นของตนนี้ยังหมายรวมถึงกรณีที่ข้าราชการเจ้าของเคหสถานได้โอนกรรมสิทธิ์ในเคหสถานนั้นไปแล้วอีกด้วย กล่าวคือ แม้ว่าคุณสมศักดิ์ฯจะไม่ได้สิทธิเบิกค่าเช่าซื้อบ้านเพราะคุณสมศักดิ์ฯมีบ้านเป็นของตนเองอยู่แล้ว และในเวลาต่อมาหากคุณสมศักดิ์ฯได้ขายบ้านหลังดังกล่าวไปแล้วก็ตาม คุณสมศักดิ์ฯก็ยังคงไม่มีสิทธิเบิกค่าเช่าซื้อบ้านภายหลังจากที่ได้ขายบ้านดังกล่าวไปแล้วอีกด้วย ทั้งนี้ เป็นไปตามบทบัญญัติมาตรา 8 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้าน พ.ศ.2527 อย่างไรก็ดี ในกรณีที่ข้าราชการถูกเวนคืนเคหสถานของตน คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะกรรมการร่างกฎหมาย) ได้เคยวินิจฉัยไว้ว่า การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มิใช่เป็นการโอนกรรมสิทธิ์ในเคหสถานให้แก่ผู้หนึ่งผู้ใด แต่เป็นการที่กฎหมายบังคับให้กรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ต้องตกเป็นของรัฐ ดังนั้น หากมีการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นเหตุให้ข้าราชการไม่มีเคหสถานเป็นของตนเองอยู่อาศัยต่อไป ข้าราชการผู้นั้นย่อมมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านหรือค่าเช่าซื้อบ้าน
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|