[๑]ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๑ ตอน ๘๙ ก วันที่ ๓๐ ธันวาคม ๒๕๕๗ หน้า ๑
[๒]มาตรา ๓๙/๑ การออกคำสั่งทางปกครองเป็นหนังสือในเรื่องใด หากมิได้มีกฎหมายหรือกฎกำหนดระยะเวลาในการออกคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้นไว้เป็นประการอื่น ให้เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งทางปกครองนั้นให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ได้รับคำขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน
ให้เป็นหน้าที่ของผู้บังคับบัญชาชั้นเหนือขึ้นไปของเจ้าหน้าที่ ที่จะกำกับดูแลให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามวรรคหนึ่ง
[๓]ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาทางปกครอง พ.ศ. .... มาตรา ๑๕ กำหนดให้คณะรัฐมนตรีวางระเบียบกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อให้เจ้าหน้าที่กำหนดเวลาสำหรับการพิจารณาและทำคำสั่งทางปกครองตามความเหมาะสมแก่กรณี สำหรับรายละเอียด โปรดดู เรื่องเสร็จที่ ๖๙/๒๕๓๕
[๔]ความเห็นคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่องเสร็จที่ ๖๘๑/๒๕๕๖
[๕]คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๗๓/๒๕๔๗
[๖]คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๒๗๔/๒๕๕๗
[๗]คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๔๖๖/๒๕๕๗
[๘]คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๓๑๘/๒๕๕๒ และ อ.๕๖๖-๕๖๙/๒๕๕๔
[๙]คณะกรรมการพัฒนากฎหมายเป็นองค์กรที่กำหนดขึ้นโดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๓๔ มีอำนาจหน้าที่ศึกษาวิจัยและจัดทำรายงานพร้อมร่างกฎหมายตามโครงการหรือแผนงานพัฒนากฎหมาย ในด้านต่าง ๆ เสนอคณะรัฐมนตรี โดยมีสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาปฏิบัติหน้าที่เป็นหน่วยงานเลขานุการ
[๑๐]ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๓๒ ตอน ๔ วันที่ ๒๒ มกราคม ๒๕๕๘ หน้า ๑
[๑๑]สำหรับความเป็นมาและสาระสำคัญของพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ โปรดดู พงษ์สวาท กายอรุณสุทธิ์,
การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ, www. krisdika.go.th
[๑๒]มีข้อควรสังเกตว่า โดยหลักแล้ว ตำแหน่งแห่งที่ ของบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาในการออกคำสั่งทางปกครองน่าจะอยู่ในส่วนที่ ๓ การพิจารณา มากกว่าจะอยู่ในส่วนที่ ๔ รูปแบบและผลของคำสั่งทางปกครอง เพราะระยะเวลาในการออกคำสั่งทางปกครองเป็นเรื่อง
ขั้นตอนการออกคำสั่ง มิใช่เรื่อง
รูปแบบของคำสั่ง
[๑๓]ตัวอย่างอีกกรณีหนึ่งที่สนับสนุนข้อสันนิษฐานนี้ ก็คือ แนวทางของผู้ยกร่างในการบัญญัติหลักเกณฑ์เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในการแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอแก้ไขคำขอและส่งเอกสารหรือหลักฐานเพิ่มเติม รวมทั้งบรรดาการดำเนินการ ที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งผู้ยกร่างได้บัญญัติหลักเกณฑ์ในเรื่องดังกล่าวไว้ในมาตรา ๘ และมาตรา ๙ ของพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ แล้ว แต่ก็ยังบัญญัติหลักเกณฑ์ทำนองเดียวกันไว้อีกชั้นหนึ่งในมาตรา ๒๗ วรรคสอง ของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า ผู้ยกร่างมีความกังวลว่าลำพังบทบัญญัติของพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ อาจจะเป็นฐานทางกฎหมายที่มีสภาพบังคับไม่เพียงพอ หรืออาจมีปัญหาในเรื่องหลักประกันความเป็นธรรมหรือมาตรฐานในการปฏิบัติราชการเมื่อเทียบกับพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ จึงต้องกำหนดหลักเกณฑ์ในกฎหมายทั้งสองฉบับให้มีความสอดคล้องกันไว้ก่อน
[๑๔]บันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกฯ ได้อ้างถึงอุปสรรคของประชาชน ในการยื่นคำขออนุญาตดำเนินการต่าง ๆ เนื่องจากปัจจุบันมีกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตเป็นจำนวนมาก การประกอบกิจการของประชาชนจะต้องขออนุญาตจากส่วนราชการหลายแห่ง อีกทั้งกฎหมายว่าด้วยการอนุญาตบางฉบับไม่ได้กำหนดระยะเวลา เอกสารและหลักฐานที่จำเป็นรวมถึงขั้นตอนในการพิจารณาไว้
[๑๕]โปรดดู รายงานการประชุมคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย ครั้งที่ ๑๑๓-๑/๒๕๕๖ วันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๖ หน้า ๑๑
[๑๖]ความเห็นคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่องเสร็จที่ ๑๕๔๕/๒๕๕๘
[๑๗]สำหรับขอบเขตของ การอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับยกเว้นว่าได้แก่เรื่องใดและขั้นตอนใด โปรดดู ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เรื่องเสร็จที่ ๙๘๑/๒๕๕๘
[๑๘]สำหรับบทวิเคราะห์ข้อยกเว้นในเรื่องการดำเนินงานเกี่ยวกับราชการทหารตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ โปรดดู ศุภวัฒน์ สิงห์สุวงษ์,
ราชการทหารกับกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง, วารสารกฎหมายปกครอง เล่ม ๓๐ ตอน ๑, ๒๕๕๖, หน้า ๑๒๑-๑๓๗
[๑๙]คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๒๗๑/๒๕๕๖
[๒๐]มาตรา ๓๐ ในกรณีที่คำสั่งทางปกครองอาจกระทบถึงสิทธิของคู่กรณี เจ้าหน้าที่ต้องให้คู่กรณีมีโอกาสที่จะได้ทราบข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอและมีโอกาสได้โต้แย้งและแสดงพยานหลักฐานของตน
ความในวรรคหนึ่งมิให้นำมาใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่เจ้าหน้าที่จะเห็นสมควรปฏิบัติเป็นอย่างอื่น
ฯลฯ ฯลฯ
(๒) เมื่อจะมีผลทำให้ระยะเวลาที่กฎหมายหรือกฎกำหนดไว้ในการทำคำสั่งทางปกครองต้องล่าช้าออกไป
ฯลฯ ฯลฯ
[๒๑]มีความเห็นทางวิชาการที่ตีความบทบัญญัติมาตรา ๒๘ วรรคสอง (๒) ของรัฐบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองของประเทศเยอรมันซึ่งเป็นต้นแบบในการยกร่างมาตรา ๓๐ วรรคสอง (๒) ของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครองฯ ของประเทศไทยในแนวทางนี้ โปรดดู EISENBERG (E.),
L’audition du citoyen et motivationdes décisions administratives individuelles - Étude comparative en France et en Allemagne, (Paris : L’Harmattan, 2000), p.134.
[๒๒]สำหรับฝ่ายตำราที่มีความเห็นตามแนวทางนี้ เช่น วรเจตน์ ภาคีรัตน์,
กฎหมายปกครอง ภาคทั่วไป, (กรุงเทพฯ : นิติราษฎร์, ๒๕๕๔) หน้า ๑๗๔ อย่างไรก็ดี ผู้เขียนมีความเห็นว่า การใช้ข้อยกเว้นตามมาตรา ๓๐ วรรคสอง (๒) กับการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่ให้ประโยชน์คงเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ เพราะเมื่อเจ้าหน้าที่มีเวลาถึงเก้าสิบวันนับแต่รู้ถึงเหตุแห่งการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่จะเพิกถอนคำสั่งนั้น เจ้าหน้าที่ย่อมมีเวลาเพียงพอที่จะรับฟังคู่กรณีก่อนออกคำสั่งเพิกถอนได้ นอกจากนี้ หากเจ้าหน้าที่ได้รู้ถึงเหตุแห่งการเพิกถอนมาเป็นเวลานานแล้ว แต่ไม่ได้ดำเนินการแจ้งข้อเท็จจริงให้คู่กรณีทราบและให้โอกาสโต้แย้งแสดงพยานหลักฐาน จนเหลือเวลาอีกไม่มากก่อนจะครบกำหนดเวลาเก้าสิบวัน ย่อมถือว่าความล่าช้าเกิดจากตัวเจ้าหน้าที่เอง เจ้าหน้าที่จึงไม่อาจอ้างว่าต้องข้ามขั้นตอนการรับฟังคู่กรณีเพื่อออกคำสั่งให้ทันก่อนจะครบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด
[๒๓]หลักการนี้ย่อมนำไปใช้กับกรณีที่กฎหมายเฉพาะได้กำหนดระยะเวลาในการออกคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็น ระยะเวลาเร่งรัด ได้เช่นเดียวกัน
[๒๔]คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๗๓/๒๕๔๗ : กรณีหน่วยงานของรัฐพิจารณาสั่งจ่ายบำนาญล่าช้าเกินสมควร ; คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๓๑๘/๒๕๕๒ และ อ.๕๖๖-๕๖๙/๒๕๕๔ : กรณีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยพิจารณาคำขอขึ้นทะเบียนเป็นเจ้าหน้าที่หลักทรัพย์ล่าช้าเกินสมควร
[๒๕]ในฝรั่งเศส ประมวลกฎหมายว่าด้วยการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและหน่วยงานทางปกครอง (code des relations entre le public et l’administration - CRPA) มาตรา L ๑๑๒-๓ บัญญัติให้หน่วยงานทางปกครองออก ใบรับคำขอ (accusé de réception de la demande) แก่ผู้ยื่นคำขอ โดยมาตรา R ๑๑๒-๕ กำหนดให้ใบรับคำขอจะต้องระบุรายการดังต่อไปนี้ (๑) วัน เดือน ปีที่ได้รับคำขอ และวันที่จะครบกำหนดเวลา ซึ่งหากไม่มีการออกคำสั่งโดยชัดแจ้ง จะถือว่ามีการเห็นชอบกับคำขอหรือปฏิเสธคำขอโดยปริยาย (๒) ชื่อ สถานที่ติดต่อ หรือที่อยู่ทางอิเล็กทรอนิกส์ และหมายเลขโทรศัพท์ของหน่วยงานทางปกครองที่รับผิดชอบเรื่อง (๓) รายการที่กำหนดในมาตรา L ๑๑๔-๕ ซึ่งได้แก่ เอกสารหลักฐานที่เจ้าหน้าที่แจ้งให้ผู้ยื่นคำขอนำมายื่นเพิ่มเติมให้ครบถ้วน กำหนดเวลาในการยื่นเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม รวมทั้งหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการนับระยะเวลาในการเกิดคำสั่งโดยปริยายที่เห็นชอบคำขอหรือปฏิเสธคำขอ ทั้งนี้ มาตรา R ๑๑๒-๔ กำหนดข้อยกเว้นให้หน่วยงานทางปกครองไม่จำต้องออกใบรับคำขอแก่ผู้ยื่นคำขอในสองกรณีด้วยกัน ได้แก่ (๑) กรณีที่กฎหมายกำหนดให้เกิดคำสั่งโดยปริยายหรือโดยชัดแจ้งเพื่อประโยชน์ของผู้ยื่นคำขอภายในกำหนดเวลาเท่ากับหรือน้อยกว่าสิบห้าวันนับแต่วันยื่นคำขอ และ (๒) กรณีที่เป็นการยื่นคำขอให้หน่วยงานทางปกครองจัดหาเอกสารหรือให้บริการหรือดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนด โดยหน่วยงานทางปกครองไม่มีอำนาจพิจารณาเป็นอย่างอื่นไปได้นอกจากตรวจสอบว่าผู้ยื่นคำขอเข้าเงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนดที่จะได้รับเอกสารหรือบริการหรือการดำเนินการตามที่ร้องขอนั้นหรือไม่
[๒๖]ร่างพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาทางปกครอง พ.ศ. .... ซึ่งจัดทำขึ้นร่างแรกในปี ๒๕๓๔ ได้บัญญัติในมาตรา ๑๗ ว่า
เมื่อมีผู้ยื่นคำขอ เจ้าหน้าที่ต้องจัดให้มีการออกใบรับคำขอให้ไว้เป็นหลักฐาน ใบรับคำขอต้องระบุ วัน เดือน ปี ที่รับคำขอ และลงลายมือชื่อของผู้รับ สำหรับรายละเอียดของร่างฯ โปรดดู เรื่องเสร็จที่ ๖๙/๒๕๓๕