๑. ความนำ
เมื่อได้ยินคำว่า จังหวัดปกครองตนเอง หลายคนคงตกอกตกใจว่า นี่คิดจะแบ่งแยกประเทศกระไรหรือ? แต่หากกล่าวคำว่า จังหวัดจัดการตนเอง คงมีคนจำนวนไม่น้อยที่อาจจะพอเคยได้ยินได้ฟังถ้อยคำดังกล่าวอยู่บ้างตามสื่อสาธารณะ หรือตามข่าวสารการรณรงค์ขับเคลื่อนของภาคประชาสังคม เช่น การรณรงค์เข้าชื่อเสนอกฎหมายร่างพระราชบัญญัติเชียงใหม่มหานคร พ.ศ. ....
[๑] หรือการรณรงค์เรื่องเขตปกครองพิเศษปัตตานีมหานคร เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดปกครองตนเอง หรือ จังหวัดจัดการตนเอง ต่างเป็นแนวคิดที่ให้ท้องถิ่นมีการปกครองตนเองโดยมีหลักการสำคัญ คือ (๑) ให้ยุบเลิกราชการส่วนภูมิภาค (๒) ให้มีผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน (๓) ให้มี สภาพลเมือง เป็นอีกองค์กรหนึ่งภายในจังหวัดปกครองตนเอง (ปัจจุบันองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นประกอบไปด้วยสององค์กรหลัก คือ สภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น) โดยให้สภาพลเมืองมีที่มาจากการสรรหาจากตัวแทนทุกภาคส่วนภายในท้องถิ่น เพื่อทำหน้าที่ร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเสนอแนะแผนการพัฒนาท้องถิ่นในระยะยาว และกำกับติดตามการดำเนินงานของผู้บริหารท้องถิ่นและสภาท้องถิ่น ที่สำคัญสภาพลเมืองจะมีบทบาทในฐานะที่เป็นองค์กรสนับสนุนบทบาทภาคประชาชนในท้องถิ่นให้มีส่วนร่วมทางการเมืองและสร้างเสริมกระบวนการเรียนรู้ประชาธิปไตยในท้องถิ่น และ (๔) ให้มีการจัดความสัมพันธ์ทางการคลังและรายได้ระหว่างรัฐส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นใหม่ โดยให้จังหวัดปกครองตนเองมีหน้าที่หลักในการจัดเก็บภาษีเพื่อไว้ในเป็นรายได้ของท้องถิ่นนั้น ๆ ในอัตราร้อยละ ๗๐ และให้ส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดินร้อยละ ๓๐ ให้จังหวัดปกครองตนเองมีอิสระในทางการบริหารจัดการ และการจัดทำบริการสาธารณะจากรัฐส่วนกลาง ตามหลักการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยรัฐส่วนกลางคงไว้ซึ่งอำนาจในการกำกับดูแล (pouvoir de tutelle) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ใช้อำนาจกำกับดูแลจังหวัดปกครองตนเองและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นภายในจังหวัดปกครองตนเอง และที่สำคัญคือการให้อำนาจจังหวัดปกครองตนเองเป็นหน่วยงานหลักในการการจัดทำบริการสาธารณะในเขตองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในทุก ๆ เรื่อง ยกเว้นภารกิจด้านความมั่นคงและการป้องกันประเทศ ภารกิจด้านการคลังและระบบเงินตราของรัฐ ภารกิจด้านตุลาการ และภารกิจด้านกิจการระหว่างประเทศ เป็นต้น
ข้อเสนอเรื่องการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในรูปแบบจังหวัดจัดการตนเอง (หรือจังหวัดปกครองตนเอง) ข้างต้น เป็นข้อเสนอจากฐานคิดที่เห็นว่า กลไกที่เป็นอยู่ปัจจุบันไม่สามารถแปลงเจตนารมณ์ตามรัฐธรรมนูญในเรื่องการกระจายอำนาจให้ปรากฏผลเป็นจริง อีกทั้งยังเป็นข้อเสนอที่ท้าทายยากที่จะเป็นไปได้ เพราะข้อเสนอหลายประการไปเปลี่ยนแปลงสถานะเดิมที่เป็นอยู่ (status quo) หรือเปลี่ยนแปลงรูปการแบบแผนปัจจุบัน ของระเบียบกฎเกณฑ์การบริหารประเทศ ดังนั้น จึงเป็นไปได้ง่ายที่จะถูกต่อต้านหรือคัดค้านจากสังคมและผู้ที่ต้องเสียประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ดีก่อนที่ท่านผู้อ่านจะตัดสินใจเห็นด้วย หรือเห็นต่างจากแนวความคิดดังกล่าว ผู้เขียนมีความปรารถนาที่จะให้ผู้อ่านได้พิจารณาด้วยเหตุผลเพื่อร่วมถกเถียงแลกเปลี่ยนอย่างอารยะอันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีต่อไป
๒. การก่อตัวของแนวความคิด จังหวัดปกครองตนเอง
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๔๐ หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ มาตรา ๗๘ กำหนดให้
รัฐต้องกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและตัดสินใจในกิจการท้องถิ่นได้เอง พัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่นและระบบสาธารณูปโภคและสาธารณูปการตลอดทั้งโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศในท้องถิ่นให้ทั่วถึงและเท่าเทียมกันทั่วประเทศ รวมทั้งพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่
โดยคำนึงถึงเจตนารมณ์ของประชาชนในจังหวัดนั้น
รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวเป็นรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทยที่มีบทบัญญัติในลักษณะที่ให้การรองรับการพัฒนาจังหวัดที่มีความพร้อมให้เป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ทั้งจังหวัด โดยในที่ประชุมของคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญได้มีกรรมาธิการคนหนึ่งอภิปรายเสนอให้มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองท้องถิ่นขนาดใหญ่โดยยกเลิกการบริหารราชการส่วนภูมิภาค ซึ่งที่ประชุมไม่ได้ให้ความเห็นชอบในแนวความคิดดังกล่าวแต่ให้นำมาบรรจุในแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐแทน
[๒]
[๓] รายงานการประชุมร่วมกันของรัฐสภา ครั้งที่ ๔ (สมัยสามัญ ครั้งที่สอง) วันจันทร์ที่ ๘ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๐ . ในส่วนคำอภิปรายของนายถวิล ไพรสณฑ์ สมาชิกรัฐสภา. หน้า ๑๐ -๑๖. ศูนย์ชวเลขและพิมพ์ดีด สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
[๔] Clive J. Christie, A Modern History of Southeast Asia : Decolonization, Nationalsim and Separatism, p.183 อ้างใน ธเนศ อาภรสุวรรณ.(๒๕๕๑) สมัยของการสมานฉันท์ว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม, ๒๔๘๘-๒๔๙๐.
ความเป็นมาของทฤษฎีแบ่งแยกดินแดนในภาคใต้ไทย.กรุงเทพ ฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์. หน้า ๘๐.
[๕] คณะกรรมการปฏิรูป.ข้อเสนอการปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ .
แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง. สำนักงานปฏิรูป. ๒๕๕๔. หน้า ๑๕๗
[๖] นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ ๑๗๑/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๕ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เรื่องแต่งตั้ง นายอานันท์
ปันยารชุน เป็นประธานกรรมการปฏิรูป เพื่อทำหน้าที่ดำเนินการขับเคลื่อนการปฏิรูประบบและโครงสร้างต่าง ๆ ในประเทศไทย ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ มุ่งไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย ซึ่งต่อมานายอานันท์ ปันยารชุน ได้มีคำสั่งคณะกรรมการปฏิรูป ที่ ๑/๒๕๕๓ ลงวันที่ ๗ กรกฎาคม ๒๕๕๓ เรื่อง แต่งตั้งกรรมการปฏิรูป โดยได้แต่งตั้งบุคคลต่าง ๆ มาเป็นคณะกรรมการปฏิรูป
[๗] สวิง ตันอุด.
ทำไมเราต้องคิด? ทำเรื่องจังหวัดจัดการตนเอง. เผยแพร่ในสำนักข่าวอิศรา เข้าถึงได้จาก http://www.isranews.org/thaireform
[๘] สภาพัฒนาการเมือง จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาพัฒนาการเมือง พ.ศ. ๒๕๕๑
[๙] สภาองค์กรชุมชน จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. ๒๕๕๑
[๑๐] คณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการปฏิรูปกฎหมาย พ.ศ. ๒๕๕๓
[๑๑] สรุปการแสดงปาฐกถาในหัวข้อ สองทศวรรษแห่งการกระจายอำนาจ : ที่ข้าพเจ้าทำ เห็น และคิด โดย ศ.(พิเศษ) ดร.เอนก
เหล่าธรรมทัศน์ โดยสถาบันพระปกเกล้า เข้าถึงได้จากเว็บไซด์สถาบันพระปกเกล้า http://www.kpi.ac.th
[๑๒] สภาพัฒนาการเมือง. (๒๕๕๕).
จังหวัดจัดการตนเอง (Self-governing Province). แนวคิดเรื่องจังหวัดจัดการตนเอง การกระจายอำนาจและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง. กรุงเทพ ฯ : สำนักงานสภาพัฒนาการเมือง. หน้า ๑๑-๑๒.
นอกจากนี้หากผู้อ่านสนใจศึกษาเกี่ยวกับการสถานการณ์การคลังหรือรายได้ และปัญหาด้านดังกล่าวของจังหวัดต่าง ๆ สามารถศึกษาได้จาก บทความเรื่อง ก้าวข้าม Hamilton Paradox : สู่จังหวัดจัดการตนเอง โดยจรัส สุวรรณมาลา ใน เครือข่ายข้อมูลการเมืองไทย www.tpd.in.th
[๑๓] บทสัมภาษณ์ความเห็นทางวิชาการ ศาสตราจารย์ ดร. สมคิด เลิศไพฑูรย์ เรื่อง
แนวคิดในการปฏิรูปการปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบจังหวัดจัดการตนเองกับสถานะความเป็นรัฐเดี่ยวของประเทศไทย ใน วารสารจุลนิติ ปีที่ ๑๐ ฉบับที่ ๓ พฤษภาคม - มิถุนายน ๒๕๕๖ กลุ่มงานพัฒนากฎหมาย สำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา . กรุงเทพ : สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. ๒๕๕๖. หน้า ๑๕
[๑๔] บทสัมภาษณ์ความเห็นทางวิชาการ หม่อมหลวงปนัดดา ดิศกุล อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ ๑๕
[๑๕] ผู้สนใจ สังคมวิทยากฎหมาย สามารถศึกษาได้จาก ปรีดี เกษมทรัพย์.
นิติปรัชญา. กรุงเทพ ฯ : คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หรือ จรัญ โฆษณานันท์. นิติปรัชญา. กรุงเทพ ฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง