[1] คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ, ข่าวการประชุมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ [ออนไลน์], 27 สิงหาคม 2556, แหล่งที่มา
http://www.nacc.go.th.
[2] ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติ หน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ โดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ หนึ่งปีถึงสิบปี หรือปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับ
[3] คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญาภาคความผิด, พิมพ์ครั้งที่ 10 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2555), หน้า 787.
[4] คำพิพากษาฎีกาที่ 1005/2549 ความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 จะต้องเป็นการปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่ซึ่งอยู่ในหน้าที่ของเจ้าพนักงานนั้นเองโดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหาย แก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือโดยทุจริต
ถ้าไม่เกี่ยวกับหน้าที่ของเจ้าพนักงานผู้นั้นโดยตรงแล้วย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรานี้ เมื่อขณะที่จำเลยทั้งสองมาเอารถยนต์แท็กซี่จากโจทก์ไป จำเลยที่ 2 แต่งเครื่องแบบตำรวจเท่านั้น ทั้งตามฎีกาโจกท์ยังยอมรับด้วยว่าจำเลยที่ 2 กระทำไปโดยไม่มีกฎหมายรองรับ ไม่มีอำนาจหน้าที่จะต้องทำแสดงว่าการไปเอารถยนต์แท็กซี่จากโจทก์นั้น มิใช่การกระทำที่เกี่ยวกับหน้าที่ของจำเลยที่ 2 ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จึงไม่มีมูลเป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
[5] ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 ผู้ใดเป็นเจ้าพนักงาน มีหน้าที่จัดการหรือดูแลกิจการใด เข้ามีส่วนได้เสียเพื่อประโยชน์สำหรับตนเองหรือผู้อื่น เนื่องด้วยกิจการนั้น ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่สองพันบาทถึงสองหมื่นบาท
[6] ประเด็นเกี่ยวกับความรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 152 นี้ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไม่ได้วินิจฉัยเอาไว้ในคดีดังกล่าว
[7] คณิต ณ นคร, กฎหมายอาญาภาคความผิด, พิมพ์ครั้งที่ 10, หน้า 777
[8] ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 59 วรรค 3 ถ้าผู้กระทำมิได้รู้ข้อเท็จจริง อันเป็นองค์ประกอบของความผิดจะ ถือว่าผู้กระทำประสงค์ต่อผล หรือย่อมเล็งเห็นผลของการกระทำ นั้นมิได้
[9] ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 17 บทบัญญัติในภาค 1 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ให้ใช้ ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย เว้นแต่กฎหมายนั้นๆ จะได้บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น
[10] ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความ อันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งและโดยการหลอก ลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวง หรือบุคคลที่สามหรือ ทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทำ ถอนหรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
[11] อาจารย์จิตติ ติงศภัทิย์ ได้อธิบายเอาไว้ในหนังสือกฎหมายอาญา ภาค 2 ตอน 2 และภาค 3 หน้า 870-871 ในทำนองที่ว่า โดยหลักแล้ว ผู้ที่จะได้ทรัพย์สินไปก็คงจะเป็นผู้หลอกลวงนั่นเอง อย่างไรก็ตาม มาตรา 341 ก็ไม่ได้บัญญัติเอาไว้เช่นนั้นตรงๆ ดังนั้น ผู้ที่ได้ทรัพย์สินไปจึงอาจจะเป็นบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่ผู้ถูกหลอกก็ได้ ซึ่งการตีความเช่นนี้สอดคล้องกับกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ. 127 มาตรา 304 ซึ่งบัญญัติไว้ชัดเจนว่า หลอกลวงให้ผู้หนึ่งผู้ใดส่งทรัพย์อย่างหนึ่งอย่างใดให้แก่ตัวมันเองหรือแก่ผู้อื่นก็ดี… ดังนั้น แม้ผู้ถูกกล่าวหาจะไม่ใช่ผู้ที่ได้รับค่าตอบแทนจากการหลอกลวง แต่บุตรชายเป็นคนได้รับ ก็อาจถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ได้
[12] คณิต ณ นคร, กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา, พิมพ์ครั้งที่ 7 (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์วิญญูชน, 2549), หน้า 50
[13] มีข้อสังเกตว่าในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2543 มาตรา 88 ได้ให้อำนาจแก่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติในการริเริ่มไต่สวนข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับความผิดฐานทุจริตต่อหน้าที่ได้เอง ซึ่งแสดงให้เห็นแนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาแบบตรวจสอบ (Examination Principle) ในการทำงานของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติอย่างชัดเจน