[๑] ปัจจุบันเหตุผลประการนี้ได้ถูกหยิบยกมาเป็นข้อสนับสนุนเพื่อให้รัฐต้องรับผิดโดยปราศจากความ (la responsabilité sans faute) ตามกฎหมายฝรั่งเศส
[๒] ดังที่ปรากฏในคำพิพากษาศาลชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล คดี Blanco ลงวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ค.ศ. ๑๘๗๓ คำพิพากษาสภาแห่งรัฐ คดี Lemonnier ลงวันที่ ๒๖ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๑๘ คำพิพากษาสภาแห่งรัฐ คดี Delville ลงวันที่ ๒๘ กรกฎาคม ค.ศ. ๑๙๕๑ และคำพิพากษาสภาแห่งรัฐในหลายคดีซึ่งมีผลเป็นการวางหลักในเรื่องความรับผิดของรัฐทั้งสิ้น
[๓] ประเทศสเปนใช้ระบบศาลเดี่ยว[๓] โดยมีศาลฎีกาเป็นศาลสูงสุด รองลงมาเป็นศาลระดับประเทศ ศาลอุทธรณ์ภาคแห่งแคว้นอิสระ ศาลจังหวัด และศาลชำนัญพิเศษต่างๆ ส่วนศาลรัฐธรรมนูญและศาลตรวจเงินแผ่นดินนั้น จะแยกออกมาจากระบบศาลยุติธรรม ในส่วนขององค์กรวินิจฉัยคดีปกครองนั้น พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีปกครองในชั้นศาล ค.ศ. ๑๙๙๘ (Ley 29/1998, de 13 de julio, reguladora de la Jurisdicción Contencioso-Administrativa) ได้วางหลักเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์กรตุลาการที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาคดีปกครองของสเปนไว้ โดยบัญญัติให้มีองค์กรวินิจฉัยคดีปกครอง จำนวน ๕ องค์กร คือ (๑) ศาลปกครองชำนัญพิเศษ (Juzgados de lo Contencioso-administrativo) (๒) ศาลปกครองกลางชำนัญพิเศษ (Juzgados Centrales de lo Contencioso-administativo) (๓) ศาลอุทธรณ์แห่งแคว้นปกครองตนเองแผนกคดีปกครอง (Salas de lo Contencioso-administrativo de los Tribunales Superiores de Justicia) (๔) ศาลอุทธรณ์แห่งชาติแผนกคดีปกครอง (Sala de lo Contencioso-administrativo de la Audiencia Nacional) และ (๕) ศาลฎีกาแผนกคดีปกครอง (Sala de lo contencioso-administrativo del Tribunal Supremo)
[๔] « le régime juridique des administrations publiques et la procédure administrative générale »
[๕] « la procédure suivie par l’administration en matière administrative »
[๖] ประเทศโปรตุเกสใช้ระบบศาลคู่ ศาลยุติธรรมมี ๓ ชั้นศาล โดยแบ่งเป็นศาลฎีกา ศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้น ศาลปกครองมีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีปกครองและคดีภาษีอากร โดยประกอบด้วย ศาลปกครองสูงสุด ศาลปกครองชั้นอุทธรณ์ และศาลปกครองและภาษีอากรชั้นต้น ศาลปกครองสูงสุดมีอำนาจในการพิจารณาคดีอุทธรณ์คำพิพากษาคดีปกครอง ภาษีและศุลกากร พิจารณาความไม่ชอบด้วยกฎหมายของกฎต่างๆ พิจารณาคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองและความรับผิดทางแพ่ง การบังคับคดีตามคำพิพากษา แต่ไม่ได้มีอำนาจในการให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่รัฐบาล (โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ พัชราภรณ์ ศิริวิมลกุล, สาธารณรัฐโปรตุเกส,
วารสารวิชาการศาลปกครอง ฉบับพิเศษ (ตุลาคม ๒๕๕๒) : หน้า ๖๘-๖๙
[๘] ประเทศกรีซหรือสาธารณรัฐเฮเลนิกใช้ระบบศาลคู่ โดยมีองค์กรสูงสุดในการพิจารณากระบวนการยุติธรรมทางแพ่งและทางอาญาคือศาลฎีกา ส่วนองค์กรสูงสุดในการพิจารณากระบวนการยุติธรรมทางปกครองคือ สภาแห่งรัฐ องค์กรวินิจฉัยคดีปกครองของกรีซมี ๓ ชั้นศาล คือ ศาลปกครองชั้นต้น ศาลปกครองชั้นอุทธรณ์และสภาแห่งรัฐ นอกจากนั้นยังมีศาลตรวจเงินแผ่นดินที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวกับการเงินการคลัง เงินบำเหน็จบำนาญของข้าราชการ และความรับผิดในทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐอีกด้วย โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ ณัฐพร อรุณทอง, สาธารณรัฐเฮเลนิก,
วารสารวิชาการศาลปกครอง ฉบับพิเศษ (ตุลาคม ๒๕๕๒) : หน้า ๓๓-๓๕
[๙] โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่ E.Spilotopoulos, Droit administratif hellénique, 2 éd., Athènes-Bruxelles, 2004, p.154 และ 166
[๑๐] « l’autorité de l’Etat n’était pas en cause, mais seulement son patrimoine »
[๑๑] ระบบการศาลของออสเตรียเป็นระบบศาลคู่โดยได้รับอิทธิพลส่วนใหญ่มาจากเยอรมนี มีศาลปกครองสูงสุดซึ่งจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. ๑๘๗๖ หน้าที่พิจารณาพิพากษาข้อพิพาทตามกฎหมายมหาชน ซึ่งเป็นไปตามมาตรา ๑๒๙ ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐออสเตรีย ศาลปกครองมีหน้าที่ในการเป็น หลักประกันความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครองทั้งมวล ศาลปกครองจึงมีหน้าที่ควบคุมความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งทางปกครองและคุ้มครองสิทธิของประชาชนจากการที่ฝ่ายปกครองละเลยต่อหน้าที่ รัฐบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองบัญญัติให้คดีที่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองคือ คดีโต้แย้งคำสั่งทางปกครองและคดีละเมิดหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองหรือคดีละเลยต่อหน้าที่ โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ เบญสุดา เฉลิมวิสุตม์กุล, สาธารณรัฐออสเตรีย,
วารสารวิชาการศาลปกครอง ฉบับพิเศษ (ตุลาคม ๒๕๕๒) : หน้า ๕๓-๕๔
[๑๒] ระบบการศาลของเยอรมนีเป็นระบบศาลคู่ กล่าวคือ ประกอบไปด้วยศาลทั่วไป ๕ ระบบศาล (ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลแรงงาน ศาลสังคม และศาลภาษี) และศาลรัฐธรรมนูญซึ่งต่างก็ไม่ขึ้นต่อกัน อย่างไรก็ดี รัฐธรรมนูญแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีและรัฐบัญญัติการรักษาเอกภาพแห่งคำพิพากษา ได้บัญญัติไว้ในมาตรา ๙๕ (๓) ให้มีการจัดตั้งองค์คณะรวมของศาลสูงสุดสหพันธรัฐ เพื่อธำรงไว้ซึ่งเอกภาพแห่งคำพิพากษา โดยบัญญัติให้องค์คณะดังกล่าวประกอบไปด้วยประธานศาลทั้ง ๕ ระบบ และหากว่าศาลแห่งสหพันธรัฐใดต้องการตัดสินคดีให้แตกต่างกับคำตัดสินของสหพันธรัฐอื่นๆ ศาลแห่งสหพันธรัฐนั้นต้องส่งเรื่องเข้าไปที่องค์คณะรวมของศาลสูงสุดแห่งสหพันธรัฐ สำหรับระบบศาลปกครองนั้นมี ๓ ชั้นศาล คือ ศาลปกครองชั้นต้น ศาลปกครองชั้นสูง (อุทธรณ์) และศาลปกครองแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีเป็นศาลปกครองสูงสุด อำนาจศาลปกครองเป็นไปตามมาตรา ๔๐ วรรคหนึ่งแห่งรัฐบัญญัติวิธีพิจารณาคดีปกครองที่บัญญัติว่า ศาลปกครองมีอำนาจในคดีพิพาทในแดนกฎหมายมหาชนที่มิใช่กรณีพิพาทตามรัฐธรรมนูญ... โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ เชิดวุฒิ สินพิมลบูรณ์, สหพันธสาธารณรัฐเยอรมนี,
วารสารวิชาการศาลปกครอง ฉบับพิเศษ (ตุลาคม ๒๕๕๒) : หน้า ๕๐-๕๒
[๑๓] « lorsqu’une personne, dans l’exercice d’une fonction publique dont elle est investie, viole ses obligations de service envers un tiers »
[๑๔] รัฐธรรมนูญเบลเยียมกำหนดให้ระบบศาลของเบลเยียมในปัจจุบันเป็นระบบศาลเดี่ยว โดยมีสภาแห่งรัฐทำหน้าที่ในการวินิจฉัยชี้ขาดคดีปกครองและเป็นองค์กรที่ปรึกษาทางกฎหมาย โดยรัฐธรรมนูญเบลเยียมบัญญัติรับรองสถานภาพของสภาแห่งรัฐไว้อย่างเป็นทางการว่า สภาแห่งรัฐแผนกคดีปกครองมีสถานะเป็นองค์กรวินิจฉัยคดีปกครองที่เป็นองค์กรอิสระจากฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร แม้ว่าสภาแห่งรัฐจะต้องอาศัยงบประมาณจากฝ่ายบริหารแต่การดำเนินงานของสภาแห่งรัฐก็ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาหรืออำนาจกำกับดูแลจากฝ่ายบริหาร สภาแห่งรัฐอาจถูกตรวจสอบภาระหน้าที่จากศาลฎีกาได้เพียงประการเดียว คือ ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับการวินิจฉัยเกินอำนาจหน้าที่ (outrepasser ses compétences) และสภาแห่งรัฐย่อมไม่มีอำนาจในการพิจารณาในประเด็นความชอบด้วยรัฐธรรมนูญของกฎหมายและมีหน้าที่ต้องส่งประเด็นดังกล่าวไปยังศาลชี้ขาดข้อพิพาท (la Cour d’arbitrage) โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ดร.เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล ดร.บรรเจิด สิงคะเนติและคณะ),
รายงานการศึกษาวิจัย เรื่อง วิธีพิจารณาคดีปกครองเปรียบเทียบ เสนอต่อสำนักงานศาลปกครอง, กันยายน ๒๕๔๙
[๑๕] « les demandes d’indemnité relatives à la réparation d’un dommage exceptionnel, moral ou matériel, causé par une autorité administrative »
[๑๖] « Des lois coordonnées sur le Conseil d’Etat »
[๑๗] ระบบศาลของอิตาลีในอดีตเป็น ระบบศาลเดี่ยว กล่าวคือ มีศาลยุติธรรมเพียงศาลเดียวที่มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีทุกประเภท ซึ่งต่อมาพบว่าการใช้ระบบศาลเดี่ยวก่อให้เกิดปัญหาจำนวนมาก เนื่องมาจากสาเหตุที่ว่า ศาลยุติธรรมมีเพียงอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีปกครองแต่ไม่มีอำนาจเพิกถอนนิติกรรมทางปกครองที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น จึงมีการออกรัฐบัญญัติ เลขที่ ๕๙๙๒ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ค.ศ. ๑๘๘๙ เพื่อตั้งสภาแห่งรัฐคณะที่สี่ขึ้น (ซึ่งแต่เดิมนั้น สภาแห่งรัฐมีเพียงองค์คณะที่ ๑-๓ และทำหน้าที่ในการเป็นที่ปรึกษากฎหมาย) โดยให้มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีที่เกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายของการกระทำทางปกครอง อาจถือได้ว่ารัฐบัญญัติฉบับดังกล่าวเป็นกฎหมายที่จัดให้มี ศาลปกครอง เป็นเอกเทศจากศาลยุติธรรม และส่งผลให้ระบบศาลของสาธารณรัฐอิตาลีเป็นระบบ ศาลคู่ นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ต่อมาเมื่อสาธารณรัฐอิตาลีมีการตรารัฐธรรมนูญเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. ๑๙๔๘ ก็ได้มีการบัญญัติรองรับอำนาจของศาลปกครองไว้ในรัฐธรรมนูญดังกล่าวโดยบัญญัติให้ระบบศาลในสาธารณรัฐเป็นระบบศาลคู่ (คือศาลยุติธรรมและศาลปกครอง) และกำหนดให้ศาลปกครองมีสองลำดับชั้น กล่าวคือ สภาแห่งรัฐทำหน้าที่เป็นศาลปกครองสูงสุด และศาลปกครองในภูมิภาคทำหน้าที่เป็นศาลปกครองชั้นต้น โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ กาญจนา ปัญญานนท์, สาธารณรัฐอิตาลี,
วารสารวิชาการศาลปกครอง ฉบับพิเศษ (ตุลาคม ๒๕๕๒) : หน้า ๒๒-๒๗
[๑๘] ซึ่งเป็นรัฐบัญญัติที่มีข้อความเช่นเดียวกับรัฐกฤษฎีกา (le décret) เลขที่ ๘๐ ลงวันที่ ๓๑ มีนาคม ค.ศ. ๑๙๙๘
[๑๙] การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองมีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ฝ่ายปกครองออกคำสั่ง (l’effet rétroactif)
[๒๐] ประเทศเนเธอร์แลนด์มีสภาแห่งรัฐซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการให้คำปรึกษาแก่รัฐบาลและทำหน้าที่เป็นศาลปกครองสูงสุดของประเทศ ในส่วนของหน้าที่เป็นศาลปกครองสูงสุดนั้น สภาแห่งรัฐจะทำหน้าที่เป็นศาลปกครองสูงสุด ซึ่งมีเขตอำนาจทั่วไปในประเทศเนเธอร์แลนด์ ในการพิจารณาคดีพิพาททางปกครองที่ฟ้องตรงต่อสภาแห่งรัฐตามที่ระบุในกฎหมาย รวมถึงการฟ้องร้องที่เกี่ยวกับการออกคำสั่งของฝ่ายปกครอง รวมถึงการพิจารณาอุทธรณ์ที่ยื่นโดยเจ้าหน้าที่รัฐ สมาคม หรือบริษัทเอกชน โต้แย้งคำสั่งขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนจังหวัด หรือรัฐบาลกลาง ตลอดจนข้อพิพาทซึ่งเกิดจากองค์กรของรัฐทั้งสองฝ่าย อย่างไรก็ตาม ในการพิจารณาคดีบางประเภทสภาแห่งรัฐจะทำหน้าที่เป็นศาลปกครองชั้นต้นและศาลปกครองสูงสุดในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากสภาแห่งรัฐที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองแล้ว ยังมีศาลอุทธรณ์ส่วนกลางในจังหวัด Utrect ที่เป็นศาลสูงสุดในการพิจารณาคดีเกี่ยวกับข้าราชการพลเรือน ส่วนคดีปกครองที่เกี่ยวกับสังคม-เศรษฐกิจนั้น อยู่ภายใต้อำนาจในการพิจารณาพิพากษาของศาลปกครองสำหรับการค้าและอุตสาหกรรม โปรดดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ พัชราภรณ์ ศิริวิมลกุล, ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์,
วารสารวิชาการศาลปกครอง ฉบับพิเศษ (ตุลาคม ๒๕๕๒) : หน้า ๓๖-๓๘