|
|
ความเคลื่อนไหวในหน้าที่ขององค์การกลางการบริหารงานบุคคลภาครัฐกิจไทย
(Central Personnel Agency)[1]
ภายใต้สภาวะทางสังคมที่หลากหลายด้วยสถาบันอันซับซ้อน ระบบอันซับซ้อน รวมกับวิวัฒนาการของระบบการบริหารงานบุคคลซึ่งส่วนใหญ่มาจากระบบอุปถัมภ์ ส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆอันขาดประสิทธิภาพในการบริหารงานภาครัฐ[2] อาทิ การไม่สามารถปรับตัวเข้ากับองค์กร การแทรกแทรงของฝ่ายการเมือง การไม่มีความมั่นคงในงาน การดำเนินงานโดยไม่ได้ดูตามความเชี่ยวชาญหรือความถนัด ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาระบบอุปถัมภ์ จึงมีการนำแนวคิดระบบคุณธรรมเข้ามาเป็นหลักในการดำเนินการ ซึ่งระบบคุณธรรมนี้มีจุดมุ่งหมายให้บรรดาข้าราชการสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากที่สุด โดยยึดหลักเกณฑ์ที่สำคัญ 4 ประการ ได้แก่ หลักความเสมอภาค หลักความสามารถ หลักความมั่นคง และหลักความเป็นกลางทางการเมือง[3]
แต่ในทางปฏิบัตินั้น เพียงหลักการของระบบคุณธรรมคงยังไม่เพียงพอต่อการดำเนินของบุคคลากรภาครัฐให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล มีมาตรฐานเดียวกัน จึงมีความจำเป็นในการก่อตั้งองค์กรพิเศษเพื่อเป็นหน่วยงานกลางที่ทำให้การบริหารงานบุคคลในส่วนภาครัฐต่างๆดำเนินตามระบบคุณธรรมได้อย่างเคร่งครัด โดยองค์กรนี้จะเป็นกลไกสำคัญในการกำหนดกฎระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรฐานในการบริหารงานบุคคล ตลอดจนควบคุม ตรวจสอบ แนะนำให้คำปรึกษา[4] รวมถึงเพื่อให้มีฐานะเป็นกลางอย่างแท้จริง จึงควรเป็นหน่วยงานอิสระ มีกฎหมายรับรองอย่างชัดเจน ชื่อว่าองค์การกลางการบริหารงานบุคคลภาครัฐ[5] ทั้งนี้หน่วยงานดังกล่าวในประเทศไทยปัจจุบัน จะพบว่ามีหลากหลายตามลักษณะงานต่างๆ แต่ที่เปรียบเสมือนต้นแบบให้คณะกรรมการอื่นๆคือ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน หรือเรียกย่อๆว่า ก.พ.[6] ซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธานคณะกรรม
ก.พ.นั้น เดิมทำหน้าที่ครอบคลุมทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐ ตั้งแต่ การสรรหาคนเข้ามารับราชการจนกระทั่งบุคคลพ้นจากราชการ การกำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลซึ่งเกี่ยวกับการกำหนดตำแหน่ง ระบบค่าตอบแทน เงินเดือน สวัสดิการ ฯลฯ แต่ปัจจุบันตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ได้จำแนกหน้าที่ของก.พ.ในส่วนของอำนาจกึ่งตุลาการออก กลายเป็นอีกหน่วยงานหนึ่งภายใต้พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว มีชื่อว่า คณะกรรมพิทักษ์ระบบคุณธรรม หรือ ก.พ.ค. อีกทั้งยังมีองค์กรกลางการบริหารงานบุคคลในแต่ละอาชีพซึ่งมีพ.ร.บ.รับรองของแต่ละหน่วยงาน ไม่ได้ขึ้นกับก.พ. เช่น คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ(ก.ตร.) คณะกรรมการข้าราชการอัยการ(ก.อ.) เป็นต้น
ซึ่งอำนาจหน้าที่และตัวอย่างการดำเนินงานในหน้าที่ของทั้ง 3 กลุ่มจะกล่าวตังต่อไปนี้
1.คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)
ตามมาตราที่ 8 ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ได้ระบุให้ ก.พ.มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้[7]
(1)เสนอแนะและให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐในด้านมาตรฐานค่าตอบแทน การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล รวมตลอดทั้งการวางแผนกำลังคนและด้านอื่น ๆ เพื่อให้ส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ
(2)รายงานคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาปรับปรุงเงินเดือน เงินประจำตำแหน่ง เงินเพิ่มค่าครองชีพ สวัสดิการ หรือประโยชน์เกื้อกูลอื่นสำหรับข้าราชการฝ่ายพลเรือน ให้เหมาะสม
(3)กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และมาตรฐานการบริหารและพัฒนาทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือน เพื่อส่วนราชการใช้เป็นแนวทางในการดำเนินการ
(4)ให้ความเห็นชอบกรอบอัตรากำลังของส่วนราชการ
(5)ออกกฎ ก.พ.และระเบียบเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้ รวมตลอดทั้งการให้คำแนะนำหรือวางแนวทางในการปฏิบัติการ ตามพระราชบัญญัตินี้ กฎ ก.พ. เมื่อได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ให้ใช้บังคับได้
(6)ตีความและวินิจฉัยปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจากการใช้บังคับพระราชบัญญัตินี้ รวมตลอดทั้งกำหนดแนวทางปฏิบัติในกรณีที่เป็นปัญหา มติของ ก.พ. ตามข้อนี้ เมื่อได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว ให้ใช้บังคับได้ตามกฎหมาย
(7)กำกับ ดูแล ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนในกระทรวงและกรม เพื่อรักษาความเป็นธรรมและมาตรฐานด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล รวมทั้งตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ในการนี้ให้มีอำนาจเรียกเอกสารและหลักฐานจากส่วนราชการ หรือให้ผู้แทนส่วนราชการ ข้าราชการ หรือบุคคลใด ๆ มาชี้แจงข้อเท็จจริง และให้มีอำนาจออกระเบียบให้กระทรวง และกรมรายงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนที่อยู่ในอำนาจหน้าที่ไปยัง ก.พ.
(8)กำหนดนโยบายและออกระเบียบเกี่ยวกับทุนเล่าเรียนหลวงและทุนของรัฐบาลให้สอดคล้องกับนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือน ตลอดจนจัดสรรผู้รับทุนที่สำเร็จการศึกษาแล้วเข้ารับราชการในกระทรวงและกรมหรือหน่วยงานของรัฐ
(9)ออกข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการจัดการการศึกษาและควบคุมดูแล และการให้ความช่วยเหลือบุคลากรภาครัฐ นักเรียนทุนเล่าเรียนหลวง นักเรียนทุนของรัฐบาล และนักเรียนทุนส่วนตัวที่อยู่ในความดูแลของ ก.พ. ตลอดจนการเก็บเงินชดเชยค่าใช้จ่าย ในการดูแลจัดการการศึกษา ทั้งนี้ ให้ถือว่าเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในการดูแลจัดการการศึกษา เป็นเงินรายรับของส่วนราชการที่เป็นสถานอำนวยบริการอันเป็นสาธารณประโยชน์ ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยวิธีการงบประมาณ
(10)กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเพื่อรับรองคุณวุฒิของผู้ได้รับปริญญา ประกาศนียบัตรวิชาชีพหรือคุณวุฒิอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ในการบรรจุและแต่งตั้งเป็นข้าราชการพลเรือน และการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน รวมทั้งระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่งสำหรับคุณวุฒิดังกล่าว
(11)กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลตามพระราชบัญญัตินี้
(12)พิจารณาจัดระบบทะเบียนประวัติและแก้ไขทะเบียนประวัติเกี่ยวกับ
วัน เดือน ปีเกิด และการควบคุมเกษียณอายุของข้าราชการพลเรือน
(13)ปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้และกฎหมายอื่น การออกกฎ ก.พ. ตาม (5) ในกรณีที่เห็นสมควรให้สำนักงาน ก.พ. หารือกระทรวงที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาของ ก.พ. ด้วย
อีกทั้งก.พ.ยังมีข้าราชการเป็นเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานในหน้าที่ของก.พ.และก.พ.ค. หรือดำเนินงานตามที่ ก.พ.และก.พ.ค.มอบหมาย เรียกว่า สำนักงานข้าราชการพลเรือน หรือ สำนักงาน ก.พ.
เพื่อให้ง่ายต่อการอธิบายการดำเนินงานของก.พ. ผู้ศึกษาขอสรุปหน้าที่และจำแนกหน้าที่ของก.พ.ออกเป็น 5 ประเภท คือ 1)เป็นที่ปรึกษา ให้คำแนะนำต่างๆด้านการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐรวมถึงการจัดทำรายงานเพื่อให้ความเห็นชอบในด้านต่างๆเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐต่อหน่วยงานต่างๆและสาธารณะ 2)เป็นฝ่ายนิติบัญญัติของการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ ทำหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์ กฎระเบียบ มาตรฐานการดำเนินงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ รวมทั้งการให้คำแนะนำหรือวางแผนในการปฏิบัติต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับนโยบายและยุทธศาสตร์การบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการตีความและวินิจฉัยปัญหาอันเกิดจากการบังคับใช้พ.ร.บ.นี้ 3)เป็นฝ่ายประเมินผล ทำหน้าที่กำกับ ติดตาม ตรวจสอบและประเมินผลการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนรวมทั้งตรวจสอบและติดตามการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ ตลอดจนให้รางวัลข้าราชการดีเด่นด้านต่างๆ 4)เป็นฝ่ายบุคคล ทำหน้าที่จัดระบบทะเบียนประวัติข้าราชการพลเรือน การควบคุมอัตรากำลังคนรวมถึงการกำหนดอัตราเงินเดือนหรือค่าตอบแทน ระดับตำแหน่งและประเภทตำแหน่ง ตลอดจนการดูแลเรื่องการออกจากราชการ อีกทั้งการจัดพัฒนาบุคคลในรูปแบบต่างๆ และ5)เป็นกองทุนสนับสนุนการศึกษาและจัดหาทุนให้กับนักเรียนทุนต่างๆ และจัดสรรผู้รับทุนที่สำเร็จการศึกษาเข้ารับราชการ รวมถึงสนับสนุนกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ
ดังนั้น ตัวอย่างการดำเนินงานในหน้าที่หลักของ ก.พ. ปรากฎดังต่อไปนี้
ประเภท
|
รายการดำเนินงาน
|
ที่มา(หนังสือพิมพ์)
|
1)ที่ปรึกษา
|
การจัดเสวนาเพื่อรับฟังความคิดเห็นเรื่อง การรวมกลุ่มข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อจะได้นำไปปรับปรุงร่างพ.ร.ฎ.กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการรวมกลุ่มข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ. …. ให้มีความเหมาะสมและเป็นที่ยอมรับ ซึ่งในพ.ร.บ.2551 มาตรา 43 ได้กำหนดไว้ว่าข้าราชการพลเรือนสามัญมีเสรีภาพในการรวมกลุ่มตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ แต่ต้องไม่กระทบประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดินและความต่อเนื่องในการจัดทำบริการสาธารณะและต้องไม่มีวัตถุประสงค์ทางการเมือง
|
ข้าราชการ ข้าของแผ่นดิน,มติชน, 27 ต.ค. 2552, น.10.
|
การสำรวจสภาวะการครองชีพของข้าราชการพลเรือนสามัญจากทุกจังหวัดทั่วประเทศ ประจำปี 2551 เพื่อนำข้อมูลไปใช้เป็นแนวทางประกอบการพิจารณากำหนดนโยบายของรัฐเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลภาครัฐต่างๆให้เหมาะสมกับปัจจุบัน โดยกลุ่มตัวอย่างรวม 12,945 คน ยกตัวอย่างผลสำรวจ เช่น พบว่าครอบครัวข้าราชการพลเรือนสามัญร้อยละ 84 มีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 219,737 ล้านบาทโดบสัดส่วนของการมีหนี้สูงสุดอยู่ที่ข้าราชการระดับ 3-5 คิดเป็นร้อยละ 83.8 รองลงมาเป็นข้าราชระดับ 6-8 หนี้ส่วนใหญ่เป็นหนี้สินที่อยู่อาศัยร้อยละ 56.3 เป็นต้น ที่สำคัญข้าราชการร้อยละ 91.5 ต้องการให้รัฐเพิ่มเงินเดือน
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ, 4 พ.ย. 2552,น.12.
|
การจัดสัมมนาเรื่องมาตรฐานการกำหนดค่าใช้จ่ายและสิทธิประโยชน์ในการรักษาพยาบาลของข้าราชการ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและกำหนดแนวทางที่เป็นข้อเสนอร่วมกัน ในการที่จะเสนอแนะเชิงนโยบายต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,28 พ.ย. 2552,น.15.
|
มีการศึกษาข้อมูลในปีงบประมาณ 2552 พบว่าข้าราชการพลเรือนสามัญมีแนวโน้มอายุเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 42.5 ปี โยมีหลายส่วนราชการที่ข้าราชการมีอายุเฉลี่ยเกิน 46 ปี เช่น กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น ขณะเดียวกันมีส่วนราชการจำนวนมากที่มีข้าราชการอายุเกิน 50 ปีในสัดส่วนที่สูงเกินกว่าร้อยละ 40 ของข้าราชการในหน่วยงาน อาทิ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นต้น อีกทั้งในอีก 10 ปีข้างหน้า เกือบครึ่งหนึ่งของราชการจะมีอัตราการเกษียณอายุเกินกว่าร้อยละ 30 โดยบางสายงานมีอัตราการเกษียณเกินกว่าร้อยละ 35 ขึ้นไป เช่น นักวิชาการกงศุล ทั้งนี้ทำการศึกษาเพื่อรองรับโครงสร้างอายุราชการโดยเน้นการใช้กำลังคนสูงอายุให้เกิดประโยชน์สูงสุดและสร้างสมดุลของกำลังคนในแต่ละช่วงอายุในส่วนราชการ
|
ข้าราษฎร,มติชน, 21 ม.ค. 2553, น.22.
|
ข้อมูลจากการศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์เชิงลึกถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุข้าราชการพลเรือนสามัญว่าอยู่ในภาวะวิกฤต ซึ่งเป็นการพิจารณาทั้งอายุเฉลี่ย สัดส่วนข้าราชการในแต่ละช่วงอายุ แนวโน้มการเกษียณในอีก 10 ปีข้างหน้า พบว่ามีส่วนราชการที่มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างอายุอยู่ในภาวะวิกฤตถึง 14 แห่ง อาทิ กรมการค้าภายใน กรมกรกงศุล สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ, 9 มิ.ย. 2553,น.12.
|
การจัดประชุมสัมมนาเรื่อง ทิศทางและรูปแบบการจัดการสังคมผู้สูงอายุของท้องถิ่นไทยในอนาคต เพื่อสร้างรูปแบบที่พึงประสงค์ในการจัดบริการสาธารณะและสวัสดิการแก่ผู้สูงอายุ โดยเป็นการสร้างรูปแบบการบริหารจัดการที่ดีของสถานสงเคราะห์คนชราที่ถ่ายโอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ทำการถ่ายโอนทั้งสิ้น 15 แห่ง
|
ข้าราษฎร,มติชน, 25 มิ.ย. 2553, น.22.
|
2)นิติบัญญัติ
|
การกำหนดให้ส่วนราชการเริ่มใช้หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินผลการปฏิบัติราชการของข้าราชการพลเรือน ซึ่งเป็นหลักใหม่ ออกตามความในมาตราที่ 76 แห่งพ.ร.บ.2551 ในปีงบประมาณ 2553 เป็นต้นไป โดยคำนึงผลสัมฤทธิ์ของงานและสมมถนะเป็นหลัก เพื่อให้ผู้บังคับบัญชาสามารถกำกับติดตามการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาให้บรรลุเป้าหมายตามวิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งนำผลดังกล่าวไปใช้ประกอบการพิจารณาแต่งตั้ง เลื่อนเงินเดือนและการบริหารทรัพยากรบุคคลในเรื่องต่างๆ
|
ข้าราษฎร,มติชน, 25 ก.ย. 2552, น.22.
|
การประกาศใช้กฎ ก.พ.ว่าด้วยการเลื่อนเงินเดือน พ.ศ.2552 ซึ่งสาระสำคัญคือการเลื่อนขึ้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญให้ทำปีละ 2 ครั้ง แต่ละครั้งห้ามเกินร้อยละ 6 ของฐานในการคำนวณเพื่อเลื่อนเงินเดือน และห้ามใช้วิธีการหารเฉลี่ยเพื่อให้ข้าราชการทุกคนได้รับเงินเดือนในอัตราที่เท่ากัน ทั้งนี้มีหลักเกณฑ์ 9 ข้อ อาทิ ในครึ่งปีต้องมีผลการประเมินไม่ต่ำกว่าระดับพอใช้หรือร้อยละ 60 ในครึ่งปีที่แล้วต้องไม่ถูกสั่งพักราชการเกิน 2 เดือน เป็นต้น
|
ข้าราษฎร,มติชน, 21 ต.ค. 2552, น.22.
|
การประกาศใช้ประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน ตามมาตรา 279 แห่งรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มีทั้งหมด 24 ข้อ ซึ่งมีทั้งข้อกำหนดด้านจริยธรรม องค์กรคุ้มครองด้านจริยธรรมและการบังคับใช้ โดยมีสาระสำคัญ เช่น ข้าราชการพลเรือนต้องปฏิบัติตามประมวลนี้อย่างตรงไปตรงมาและไม่กระทำการเลี่ยงประมวลนี้ หากมีกรณีที่มีข้อสงสัยหรือมีผู้ทักท้วงว่าการกระทำใดอาจขัดประมวลนี้ ต้องไม่กระทำการดังกล่าวหรือหากกำลังจะกระทำ ต้องหยุดกระทำและส่งเรื่องให้คณะกรรมการจริยธรรมวินิจฉัย เมื่อรู้หรือพบเห็นการฝ่าฝืนประมวลนี้ ต้องรายงานการฝ่าฝืนต่อหัวหน้าส่วนราชการหรือคณะกรรมการจริยธรรมพร้อมหลักฐาน(ถ้ามี)โดยทันที เป็นต้น
|
ข้าราษฎร,มติชน, 11 พ.ย. 2552, น.22.
|
การเห็นชอบและให้ส่วนราชการถือปฏิบัติในหลักเกณฑ์และวิธีการในการบรรจุผู้เคยเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ 4 ประเภท ได้แก่ ประเภทบริหาร ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป เพื่อให้เป็นไปตามมาตราที่ 63 วรรคสี่ แห่งพ.ร.บ.2551 ใน 3 กรณี คือ กรณีการบรรจุผู้ไปรับราชการทหาร กรณีการบรรจุผู้ไปปฏิบัติงานตามมติคณะรัฐมนตรี และกรณีการบรรจุผู้ออกจากราชการไปที่มิใช่การออกจากราชการระหว่างทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ ทั้งนี้ให้บรรจุเข้าในตำแหน่งเดิม
|
ข้าราษฎร,มติชน,
22 ธ.ค. 2552, น.22.
|
มีการกำหนดมาตการการบริหารกำลังคนเพื่อรองรับโครงสร้างอายุข้าราชการพลเรือนสามัญ เพื่อแก้ไขปัญหาข้าราชการพลเรือนเข้าสู่วันสูงอายุ ตามมติการประชุมก.พ.ครั้งที่ 1 ประจำปี 2553 โดยจำแนกเป็น 3 มาตรการ ดังนี้ มาตรการบริหารกำลังคนเพื่อรองรับข้าราชการสูงอายุที่เพิ่มมากขึ้น มาตรการเตรียมการรองรับ และมาตรการสร้างความสมดุลของกำลังคน ทั้งนี้ให้มีการนำมาตรการดังกล่าวไปปฏิบัติอย่างจริงจัง
|
ข้าราษฎร,มติชน,
22 ม.ค. 2553, น.22.
|
การประกาศใช้ระเบียบว่าด้วยการรายงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานบุคคล พ.ศ.2553 ซึ่งได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการรายงานเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลของข้าราชการพลเรือนในหน่วยงานต่างๆต่อสำนักงานก.พ. ซึ่งจะต้องทำการวิเคราะห์เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารทรัพยากรบุคคลให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลอย่างยั่งยืน
|
ข้าราษฎร,มติชน,
9 ก.พ. 2553, น.22.
|
การเห็นชอบและดำเนินการแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการแต่งตั้งข้าราชการพลเรือนสามัญให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารและประเภทอำนวยการ โดยมีสาระสำคัญ อาทิ ส่งเสริมให้ส่วนราชการมีการวางแผนทรัพยากรบุคคลโดยเฉพาะแผนทดแทนกำลังคนในตำแหน่งที่มีความสำคัญ การติดตามและประเมินผลการแต่งต้นข้าราชการให้ดำรงตำแหน่งประเภทบริหารและประเภทอำนวยการอย่างเป็นระบบตลอดจนให้คำปรึกษาแก่ส่วนราชการในการดำเนินการได้อย่างทันทีโดยสำนักงานก.พ.
|
ข้าราษฎร,มติชน,
18 ก.พ. 2553, น.22.
|
มีมติที่เห็นชอบตามอ.ก.พ.วิสามัญเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบริหารทรัพยากรบุคคล โดยกำหนดให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการพิจารณาให้หัวหน้าสำนักงานจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดซึ่งมีผลการปฏิบัติงานในระดับดีเด่นในแต่ละจังหวัด ได้รับการเลื่อนเงินเดือนในโควตาพิเศษตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก.พ.กำหนด
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ, 4 มี.ค. 2553,น.15.
|
การเห็นชอบและให้ส่วนราชการดำเนินการยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตของข้าราชการพลเรือนสามัญ พ.ศ.2553-2555 โดยประกอบด้วยยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพ 4 ด้านด้วยกัน ได้แก่ ด้านการทำงาน ด้านส่วนตัว ด้านสังคม และด้านเศรษฐกิจ
|
ข้าราษฎร,มติชน,
17 มี.ค. 2553, น.22
|
การประกาศใช้กฎว่าด้วยการสั่งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญออกจากราชการกรณีทางราชการเลิกหรือยุบหน่วยงานหรือตำแหน่ง พ.ศ.2553 มีสาระสำคัญ อาทิ เมื่อมีการยุบหน่วยงานหรือตำแหน่ง ให้ผู้บังคับบัญชาแจ้งให้ข้าราชการผู้นั้นทราบและให้แสดงความประสงค์ว่าจพรับราชการต่อหรือไม่ กรณีที่ไม่รับข้าราชการผู้นั้นจะได้รับบำเหน็จบำนาญตามกฎหมายและให้ค่าชดเชยตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขของกระทรวงการคลังตามาตรา 110(4) กรณีที่ประสงค์จะรับราชการต่อ ให้แสดงความจำนงด้วยว่าจะขอย้ายหรือโอนไปรับราชการในตำแหน่งใดหรือที่หน่วยใด เป็นต้น
|
ข้าราษฎร,มติชน,
6 เม.ย. 2553, น.22.
|
มีมติเห็นชอบข้อเสนอการปรับปรุงระบบการบริหารทรัพยากรบุคคลในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากการประชุมก.พ.ครั้งที่ 4 ประจำปี 2553 ภายใต้กรอบแนวคิดหลัก 2 สร้าง 2 พัฒนา คือ สร้างความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติราชการ พัฒนาประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ และพัฒนาคุณภาพชีวิตข้าราชการ
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,7 พ.ค. 2553,น.15.
|
มีมติเห็นควรผลักดันและส่งเสริมให้ส่วนราชการนำเครื่องมือวัดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ของส่วนราชการไปใช้อย่างจริงจัง จากการประชุมก.พ.ครั้งที่ 5 ประจำปี 2553 ซึ่งเครื่องมือนี้ประกอบด้วยมาตรฐานความโปร่งใส 4 มิติ คือมิติด้านนโยบาย/ผู้บริหารและความพยายาม/ริเริ่มของหน่วยงานในการสร้างความโปร่งใส มิติด้านความเปิดเผย การมีระบบตรวจสอบภายในองค์กรและการมีส่วนร่วม มิติด้านการใช้ดุลยพินิจ และสุดท้ายมิติด้านการมีระบบ/กลไกจัดการรับเรื่องร้องเรียน
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,25 พ.ค. 2553,น.15.
|
การจัดระบบการบริหารกำลังคนคุณภาพที่เรียกว่า ระบบข้าราชการผู้มีผลสัมฤทธิ์สูง (HiPPS) ซึ่งปัจจุบันมีส่วนราชการกว่า 80 แห่งนำระบบนี้ไปใช้เป็นส่วนหนึ่งของการเตรียมกำลังคนภาครัฐอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบัน มีข้าราชการในระบบนี้รวม 5 รุ่น จำนวนกว่า 300 คน ทั้งนี้HiPPS 1.0 จะกลายเป็น HiPPS 2.0 ซึ่งเป็นการสื่อสารหลายทิศทางจากที่ระบบเก่าเป็นการสื่อสารทางเดียว โดยกระตุ้นให้ข้าราชการในระบบได้สัมผัสความสุขกับการสร้างคุณค่าและการสร้างความเปลี่ยนแปลงด้านบวกให้กับส่วนราชการและสังคม อันเป็นส่วนหนึ่งของข้าราชการอันพึงประสงค์ในสังคมไทย
|
หมายเหตุก.พ.,มติชน, 17 มิ.ย. 2553, น.11.
|
มีการเห็นชอบและให้ส่วนราชการดำเนินการเรื่องการรับโอนและบรรจุกลับพนักงานส่นท้องถิ่นและข้าราชการที่ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือนสามัญ ตามพ.ร.บ.2551 ซึ่งสาระสำคัญ อาทิ ให้ส่วนราชการพิจารณาความจำเป็นและประโยชน์ที่ราชการจะได้รับเปรียบเทียบกับการแต่งตั้งข้าราชการภายในหน่วยงานเอง ตำแหน่งที่รับโอนและบรรจุกลับต้องเป็นตำแหน่งที่ว่างและมิใช่เป็นตำแหน่งที่สงวนไว้ เป็นต้น
|
ข้าราษฎร,มติชน, 22 มิ.ย. 2553, น.22.
|
3)ประเมินผล
|
การตีความการดำเนินการแต่งตั้งข้าราชการประเภทอำนวยการระดับสูง กรมการปกครองว่าเป็นคำสั่งที่มิชอบด้วยกฎหมายและถือว่าการแต่งตั้งดังกล่าวไม่เป็นไปตามรูปแบบขั้นตอนอันเป็นสาระสำคัญตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ก.พ.กำหนด ส่งผลให้คำสั่งแต่งตั้งไม่เป็นผล
|
ข้าราษฎร,มติชน, 1 เม.ย. 2553, น.22.
|
การมอบเกียรติบัตรและเข็มเชิดชูเกียรติแก่ข้าราชการดีเด่นจากทั่วประเทศ เพื่อเป็นการยกย่องข้าราชการพลเรือนที่มีความสามารถครองตน ครองคน ครองงานได้อย่างดีเยี่ยม รวมถึงมีผลงานโดดเด่นและประพฤติปฏิบัติตนตามแนวพระราชดำริอย่างดีเยี่ยม จำนวน 605 คน ประจำปี 2552 อาทิ นายอรรณพ อยู่ประยงค์ กรมประชาสัมพันธ์ นายวิรัช ฐานะเศรษฐ์ กรมศุลกากร เป็นต้น รวมถึงมีการเสวนาในหัวข้อ บทบาทข้าราชการ เพื่อชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และประชาชน ทีมีสามมุมมองจากสามฝ่ายคือ ข้าราชการ ประชาชน และสื่อมวลชน
|
หมายเหตุก.พ.,มติชน, 8 เม.ย. 2553, น.11.
|
4)บุคคล
|
การเกษียณอายุราชการพลเรือนในปีงบประมาณ 2552 จำนวน 521 คน ยกตัวอย่าง นายปรีชา วัชราภัย เลขาธิการก.พ. นายวิชัย ศรีขวัญ ปลัดกระทรวงมหาดไทย นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ อธิบดีกรมศุลกากร เป็นต้น
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,25 ก.ย. 2552,น.15.
|
การแต่งตั้งโยกย้ายผู้ว่าราชการจังหวัด อาทิ นายวีระ ศรีวัฒนตระกูล รองผวจ.เพชรบุรีเป็นผวจ.ประจวบคีรีขันธ์ นายธีระ มินทราศักดิ์ ผวจ.ยะลาเป็นผวจ.นครศรีธรรมราช เป็นต้น
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,26 ก.ย. 2552,น.12.
|
การโยกย้ายจากตำแหน่งอื่นๆมาเป็นรองผู้ว่าราชการจังหวัด อาทิ นายวีระวัฒน์ จันทร์เพ็ญ ปลัดจังหวัดกระบี่ขึ้นเป็นรองผวจ.กระบี่ นายสมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ตรวจราชการกรมการปกครองเป็นรองผวจ.สุราษฎ์ธานี เป็นต้น
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,21 ต.ค. 2552,น.15.
|
การโยกย้ายปลัดจังหวัด ผู้อำนวยการสำนัก และผู้ตรวจราชการกรมการปกครอง อาทิ นายเฉลิมพล พลวัน ปลัดจังหวัดสุราษฎ์ธานีเป็นปลัดจังหวัดอุทัยธานี นายสุจินต์ ไชยชุมศักดิ์ ผู้ตรวจราชการกรมการปกครองเป็นปลัดจังหวัดอำนาจเจริญ นายอวยชัย อินทร์นาค ผู้ตรวจราชการกรมการปกครองเป็นผู้อำนวยการสำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง เป็นต้น โดยทั้งหมดต้องไปรับตำแหน่งใหม่ตั้งแต่ 9 พ.ย.2552 เป็นต้นไป
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,2 พ.ย. 2552,น.15.
|
การย้ายหัวหน้าสำนักงานจังหวัด อาทิ นายสมชาย ปัญญเจริญ ผู้อำนวยการสถาบันดำรงราชานุภาพเป็นหัวหน้าสำนักงานจังหวัดพัทลุง นายสมฤกษ์ บัวใหญ่ หัวหน้ากลุ่มงานยุทธศาสตร์ฯ สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการเป็นหัวหน้าสำนักงานจังหวัดหนองคาย เป็นต้น และให้ไปรายงานตัวในวันที่ 16 พ.ย.2552
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,13 พ.ย. 2552,น.15.
|
การเปลี่ยนตำแหน่งของรองผวจ.บางคนใหม่จากการโยกย้ายเดิมในช่วงตุลาคม เช่น นายพิเชษฐ ไพบูลย์ศิริ เดิมเป็นรองผวจ.ปทุมธานี คำสั่งแรกให้ไปเป็นรองผวจ.ตาก ตอนนี้มีคำสั่งใหม่ให้ย้อนกลับมาเป็นรองผวจ.นครนายก แล้วให้นายสุรชัย อังเกิดโชค รองผวจ.นครนายก ที่ไม่มีคำสั่งย้ายในรอบแรกไปเป็นรองผวจ.ลำพูน เป็นต้น
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,16 พ.ย. 2552,น.15.
|
การจัดประชุมประจำปี 2552 ภายใต้แนวคิดข้าราชการ ข้าของแผ่นดิน ต้องเป็นคนดี คนเก่ง โดยน้อมนำกระแสพระราชดำรัสมาเป็นแนวทางการดำเนินงาน
|
หมายเหตุก.พ.,มติชน, 19 พ.ย. 2552, น.11.
|
การประชุมอาเซียนว่าด้วยกิจการพลเรือน หรือACCSM ครั้งที่ 15 ณ นครเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในหัวข้อ Public Sector Capacity Development : Toward Improved Service Delivery ซึ่งมีการจัดขึ้นทุกๆ 2 ปี ภายในงานมีการนำเสนอผลงานด้านต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างประเทศในการนำมาพัฒนาระบบราชการและการบริหารทรัพยากรบุคคลในภาครัฐให้ดียิ่งขึ้น รวมถึงกระชับความสัมพันธ์ระหว่าข้าราชการพลเรือยในอาเซียน
|
หมายเหตุก.พ.,มติชน, 26 พ.ย. 2552, น.11.
|
การฝึกอบรมข้าราชการบรรจุใหม่ เพื่อเตรียมพร้อมให้ข้าราชการแรกบรรจุมีความรู้ ความสามารถ มีวรรถนะในภารกิจของรัฐ มีจรรยาที่เหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่และปลูกฝังค่านิยม ปรัชญาในการทำงานราชการเพื่อพร้อมสำหรับเป็นข้าราชการที่ดี และมีการปรับปรุงชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.2551 โดยแบ่งเนื้อหาเป็น 4 หมวด 13 ชุดวิชา คือ หมวดปรัชญาการเป็นข้าราชการทีดี หมวดระบบราชการและการบริหารภาครัฐแนวใหม่ หมวดความรู้พื้นฐานสำหรับข้าราชการ และหมวดเสริมสร้างสมรรถนะหลักและทักษะที่จำเป็น
|
ข้าราษฎร,มติชน, 8 ม.ค. 2553, น.22.
|
การจัดหลัดสูตรอบรมออนไลน์ (HRD e-learning) ปีงบประมาณ 2553 เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาข้าราชการเพื่อเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานภายใต้ระบบการจัดการภาครัฐแนวใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอบรม 7 ด้าน 67 วิชา ครอบคลุมด้านการบริหาร การเขียนหนังสือราชการ กรพัฒนากระบวนทัศน์และคุณลักษณะข้าราชการ ฯลฯ ทั่งนี้วิชาที่คนส่วนมากชอบศึกษา คือ วิชาภาวะผู้นำ
|
หมายเหตุก.พ.,มติชน, 21 ม.ค. 2553, น.11.
|
การจัดหลักสูตรนักบริหารระดับสูง : ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์และคุณธรรม ซึ่งเป็นหลักสูตรสำหรับข้าราชการที่จะขึ้นสู่ตำแหน่งในแท่งบริหาร ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่เข้าหลักสูตรจะอยู่ในแท่งอำนายการและแท่งบริหาร โดยผู้เข้าร่วมหลักสูตรในรุ่น 67 (นบส.67) อาทิ นางปราถนา สุทิน ผอ.สำนักพิธีการและเลขานุการ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ รองผวจ.นครนายก เป็นต้น ส่วนรุ่นที่ 68 (นบส.68) อาทิ นางสาวปราณี ศรีประเสริฐ ผอ.สำนักบริหารกลาง สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายมเหศวร ภักดีคง โยธาธิการและผังเมืองจังหวัดยะลา เป็นต้น
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,22 ม.ค.และ 3 ก.พ. 2553,น.15.
|
การจัดโครงการพัฒนานักบริหารระดับสูง : ผู้บริหารส่วนราชการ หรือ นบส.2 มีผู้เข้าร่วมทีจำนวนทั้งสิ้น 45 คน โดยทุกคนเป็นรองอธิบดีหรือรองหัวหน้าส่วนราชการ อาทิ นางสาวทัศนีย์ ดุสิตสุทธิรัตน์ นองเลขาธิการก.พ.ร. นายมณเฑียร ตั้งนภากร รองอธิบดีกรมที่ดิน เป็นต้น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อเตรียมพร้อมการเป็นนักบริหารระดับสูงในอนาคต
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,15 ก.พ. 2553,น.15.
|
จัดการประชุมเตรียมความพร้อมของส่วนราชการในการขึ้นเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญโดยจัดเป็น 3 รุ่น รวม 3,000 คน ซึ่งชี้แจงเรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการเลื่อนเงินเดือนข้าราชการ ทั้งนี้การเลื่อนเงินเดือนในระบบใหม่ จะเริ่มใช้ครั้งแรกในวันที่ 1 เมษายน 2553
|
ข้าราษฎร,มติชน, 17 ก.พ. 2553, น.22.
|
การแต่งตั้งนายอำเภอใหม่จากนักเรียนนายอำเภอที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนายอำเภอรุ่นที่ 52-53 เช่น นายบรรพต ยาฟอง เป็นนายอำเภอสังคม จังหวัดหนองคาย นายวชิระ เกตุพันธุ์ เป็นนายอำเภอพนมดงรัก จังหวัดสุรินทร์ นายวรรณพล ต่อพล เป็นนายอำเภอกู่แก้ว จังหวัดอุดรธานี เป็นต้น
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,25 ก.พ. 2553,น.15.
|
การจัดโครงการสร้างความเข้มแข็งผู้ปฏิบัติงานตรวจราชการระดับกระทรวง : หลักสูตรสร้างความเข้มแข็งผู้ตรวจราชการกระทรวงประจำปี 2553 โดยมีผู้เข้ารับการอบรมทั้งสิ้น 38 คน อาทิ นายโอฬาร พิทักษ์ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงการคลัง นางปรียานุช จริยวิทยานนท์ ผู้ตรวจราชการ กระทรวงศึกษาธิการ เป็นต้น
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,11 มี.ค. 2553,น.15.
|
การผลักดันการพัฒนาคุณธรรมและจริยธรรมในวงราชการ โดยจัดประชุมแลกเปลี่ยนมุมมองและประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศ ได้เชิญ Dr.James Andeson ผู้เชี่ยวชาญอาวุโสด้านคุณธรรม จริยธรรมขององค์กรภาครัฐในหลายประเทศและเป็นเจ้าหน้าที่ของธนาคารโลกประจำกรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม มาถ่ายทอดประสบการณ์ด้านการส่งเสริมอุตสาหกรรมจริยธรรมและการต่อต้านการทุจริตคอรับชัน
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,20 เม.ย. 2553,น.15.
|
เปิดรับสมัครการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุบุคคลเข้ารับราชการ ภาคความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.)ประจำปี 2553 โดยมีศูนย์สอบทั้งหมด 17 แห่ง ผู้สมัครสามารถสอบได้เพียงครั้งเดียวและเลือดสอบได้เพียง 1 หน่วย รวมถึงเลือกศูฯย์สอบได้เพียง 1 แห่งเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการสรรหาบุคลากรภาครัฐที่จะเข้ารับราชการใหม่
|
หมายเหตุก.พ.,มติชน, 6 พ.ค. 2553, น.11.
|
การแต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมประจำส่วนราชการระดับกรมและจังหวัด ตามประมวลจริยธรรมของข้าราชการพลเรือนเพื่อควบคุม กำกับให้มีการฏิบัติตาม อาทิ กรมประชาสัมพันธ์มีนายสมพงษ์ วิสุทธิแพทย์ อดีตอธิบดีกรมประชาสัมพันธ์เป็นประธานฯ สำนักงานเศรษฐกิจการคลังมีนายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินท์ อดีตอธิบดีกรมบัญชีกลางเป็นประธานฯ เป็นต้น
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,10 พ.ค. 2553,น.15.
|
การจัดสัมมนาคณะกรรมจริยธรรมของส่วนราชการระดับกรมและจังหวัดเพื่อขับเคลื่อนประมวลจริยธรรมข้าราชการพลเรือน รวมถึงซักซ้อมความเข้าใจในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประมาณ 500 คน
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,7 มิ.ย. 2553,น.15.
|
ความเคลื่อนไหวของข้าราชการพลเรือนในสายสาธารณสุข ได้แก่ แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ฯลฯ ที่จัดทำข้อเสนอเพื่อการปฏิรูปประเทศไทยด้านสาธารณสุข ซึ่งจะแยกตัวออกจากก.พ.ไปมีกรรมการเป็นของตัวเอง คือ คณะกรรมการข้าราชการสาธารณสุข หรือ ก.สธ. ทั่งนี้ความจำเป็นที่ต้องปฏิรูปด้านสาธารณสุขนั้น เนื่องมาจาก ก.พ.บริหารงานด้านสาธารณสุขได้ไม่ดีพอในขณะที่ข้าราชการด้านสาธารณสุขนั้นเป็นการทำงานที่ต้องใช้ความชำนาญสูง
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,24-25 มิ.ย.2553, น.15.
|
การปรับโครงสร้างเงินเดือนร้อยละ 5 เนื่องจากครั้งที่ทำบัญชีเงินเดือนข้าราชการพลเรือนสามัญแนบท้ายพ.ร.บ.2551นั้น การกำหนดเงินเดือนขั้นต่ำขั้นสูงของตำแหน่ง 4 ประเภท อาจจะยังไม่เหมาะสม
|
ข้าราชการ ข้าของแผ่นดิน, มติชน, 29 มิถุนายน 2553, น.10.
|
5)กองทุนสนับสนุนการศึกษา
|
จัดงานมหกรรมการศึกษาต่อต่างประเทศ ครั้งที่ 6 ณ สยามพารากอนซึ่งเป็นงานบริหารเพื่อสาธารณะ โดยมีสถาบันที่มีชื่อเสียงทั่วโลกมาร่วมจัดงานประมาณ 200 แห่ง จาก 30 ประเทศ กล่าวคืองานนี้เป็นศูนย์กลางการให้ข้อมูลด้านการศึกษาต่อที่ถูกต้อง ครบถ้วน และเชื่อถือได้
|
หมายเหตุก.พ.,มติชน, 22 ต.ค. 2552, น.11.
|
การจัดโครงการใสสะอาด พอเพียงเพื่อพ่อ สู่สถานศึกษาและชุมชน กิจกรรมเพื่อสร้างสรรค์เยาวชนให้เป็นพลเมืองเข้มแข็งใจอาสา กับโรงเรียนอาสาสมัครในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลจำนวน 26 โรงเรียน เช่น โรงเรียนกรุงเทพตริสเตียนวิทยาลัย โรงเรียนเทพศิรินทร์ เป็นต้น โดยมุ่งหมายให้สถานศึกษาตระหนักเห็นความสำคัญและร่วมรณรงค์ปลุกจิตสำนึกเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้สามารถนำมาปรับใช้ในการดำเนินชีวิตรวมทั้งเสริมสร้างจิตสาธารณะเพื่อส่วนรวม
|
ข้าราษฎร,มติชน, 5 ม.ค. 2553, น.22.
|
การจัดสรรทุนรัฐบาลแนวใหม่หรือโครงการทุนรัฐบาลเพื่อดึงดูดผู้มีศักยภาพสูง จำนวน 55 ทุน ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะให้ทุนเพื่อศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีสุดท้ายจนสำเร็จปริญญาตรีตามโครงสร้างหลักสูตร โดยใช้ระยะเวลาศึกษาไม่เกิน 1 ปี และระยะให้ทุนเพื่อศึกษาต่อระดับปริญญาโท ในหรือต่างประเทศ ซึ่งวิธีการสรรหาจะเป็นการประเมินความเหมาะสมของบุคคลโดยใช้แนวทางของวิธีศูนย์รวมการประเมินและให้ส่วนราชการมีส่วนร่วมในการดำเนินการสรรหาผู้รับทุนด้วย
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,12 ม.ค. 2553,น.12.และข้าราษฎร,มติชน, 7 ม.ค. 2553, น.22.
|
การจัดหาทุนสนับสนุนการวิจัยด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ผ่านทางมูลนิธิพันเอกจินดา ณ สงขลา โดยปี 2553 นี้ จัดสรรทุนจำนวน 5 ทุน คือทุนสนับสนุนการทำสารนิพนธ์ระดับปริญญาโท จำนวน 2 ทุน ทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท จำนวน 2 ทุน และทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอก จำนวน 1 ทุน โดยหัวข้อต้องเกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลซึ่งสร้างองค์ความรู้ใหม่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์และกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาแนวคิดและระบบบริหารบุคคลภาครัฐในอนาคต
|
หมายเหตุก.พ.,มติชน, 14 ม.ค. 2553, น.11.
|
มีการรับสมัครสอบแข่งขันเพื่อรับทุนรัฐบาลฯประจำปีงบประมาณ 2553 จำนวนทั้งสิ้น 130 ทุน อาทิ ทุนตามความต้องการของกระทรวง 20 ทุน ทุนสนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 22 ทุน เป็นต้น โดยมุ่งหมายให้เป็นการเตรียมและพัฒนาคนภาคราชการในสาขาวิชาที่สอดคล้องับภารกิจของรัฐทดแทนการสูญเสียกำลังคนที่มีความรู้สูง ที่สำคัญคือดึงดูดคนเก่งเข้ารับราชการ
|
ข้าราษฎร,มติชน, 2 ก.พ. 2553, น.22.
|
การจัดหาทุนการศึกษาขององค์การสหสากลวิทยาลัย (UWC) ซึ่งตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมสันติภาพและความเข้าใจอันดีระหว่างชาติ เปิกรับสมัครนักเรียนอายุ 16-18 ปี ที่กำลังศึกษาม.4-6 ไปเรียนในระดับชั้นมัธยมตอนปลายตามหลักสูตร International Baccalaureate เป็นเวลา 2 ปี
|
หมายเหตุก.พ.,มติชน, 25 ก.พ. 2553, น.11.
|
2.คณะกรรมพิทักษ์ระบบคุณธรรม (ก.พ.ค.)
ตามมาตราที่ 31 ในพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551 ได้ระบุให้ ก.พ.ค.มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้[8]
(1)เสนอแนะต่อ ก.พ. หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น เพื่อให้ ก.พ.หรือองค์กรกลางบริหารงานบุคคลอื่น ดำเนินการจัดให้มีหรือปรับปรุงนโยบายการบริหารทรัพยากรบุคคลในส่วนที่เกี่ยวกับการพิทักษ์คุณธรรม
(2)พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมาตรา 114 ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2551
(3)พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ ตามมาตรา 123 ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
(4)พิจารณาเรื่องการคุ้มครองระบบคุณธรรม ตามมาตรา 126 ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2551
(5)ออกกฎ ก.พ.ค. ระเบียบ หลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อปฎิบัติตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนพ.ศ.2551
(6)แต่งตั้งบุคคลซึ่งมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่ ก.พ.ค.กำหนด เพื่อเป็นกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ หรือเป็นกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์
ทั้งนี้ อย่างที่กล่าวมาข้างต้นว่าตามพ.ร.บ.ฉบับปี 2551 นี้ ได้แยกอำนาจหน้าที่ด้านกึ่งตุลาการออกมาจากก.พ. กล่าวคือก.พ.ค.เป็นองค์กรกึ่งตุลาการเพื่อวินิจฉัยอุทธรณ์และร้องทุกข์เกี่ยวกับข้าราชการโดยเฉพาะ ซึ่งสามารถจำแนกหน้าที่ของก.พ.ค.ได้ 4 ประเภทคือ 1)เป็นที่ปรึกษารวมถึงจัดทำข้อเสนอเฉพาะด้านที่เกี่ยวกับการพิทักษ์คุณธรรมในการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ 2)เป็นฝ่ายนิติบัญญัติ ทำหน้าที่ออกกฎต่างๆและมาตรฐานการปฏิบัติงานเฉพาะด้านพิทักษ์ระบบคุณธรรมในการบริหารทรัพยากรบุคคลภาครัฐ 3)เป็นฝ่ายบุคคล ทำหน้าที่สรรหากรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ หรือตามที่กฎหมายกำหนด และ4)เป็นกึ่งตุลาการ ที่กล่าวว่าเป็นกึ่งตุลาการนั้น เนื่องมาจากก.พ.ค.ไม่สามารถที่จะตัดสินโทษจนมีผลให้ออกจากงาน ซึ่งการให้ออกจากราชการจากการตัดสินนั้นเป็นหน้าที่ของก.พ. ดังนั้นในด้านนี้ก.พ.ค.จึงมีหน้าที่พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ พิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์รวมถึงพิจารณาเรื่องการคุ้มครองระบบคุณธรรม
ดังนั้น ตัวอย่างการดำเนินงานในหน้าที่หลักของก.พ.ค. ปรากฎดังต่อไปนี้
ประเภท
|
รายการดำเนินงาน
|
ที่มา(หนังสือพิมพ์)
|
1)ที่ปรึกษา
|
มีสรุปข้อเสนอแนะแนวทางการป้องกันการทำผิดวินัย 7 ประการ เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างเสริมและพัฒนาวินัยข้าราชการและป้องกันมิให้เกิดการกระทำผิดจนถูกลงโทษและเข้าสู่กระบวนการอุทธรณ์ โดยสาระสำคัญอาทิ การพัฒนาวินัยข้าราชการควรทำทั้งการเสริมสร้างและการป้องกันมากกว่าปล่อยให้เกิดขึ้นแล้วตามไปแก้ไข ส่วนราชการควรมียุทธศาสตร์ โครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาวินัยอย่างชัดเจนและใช้กับทุกคน ควรให้มีการกำหนดการสร้งเสริมวินัยให้เป็นนโยบายขององค์กร โดยมีข้อปฏิบัติไม่มาก จดจำง่าย ไม่เปลี่ยนบ่อย โปร่งใส เป็นต้น
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,5 มี.ค. 2553,น.15.
|
2)นิติบัญญัติ
|
จากการสรุปผลงานครบรอบ 1 ปี ได้ออกกฎหมายลูกบทและระบบการจัดการจำนวน 18 ฉบับ ได้แก่ พ.ร.ฎ. 3 ฉบับ กฎก.พ.ค. 2 ฉบับ ระเบียบก.พ.ค. 5 ฉบับ ประกาศก.พ.ค. 2 ฉบับ และคำสั่งก.พ.ค. 6 ฉบับ ซึ่งสิ่งที่เป็นหัวใจหลักในการทำงานได้แก่ กฎก.พ.ค.ว่าด้วยการอุทธรณ์และการพิจารณา วินิจฉัยอุทธรณ์ พ.ศ.2551 และกฎก.พ.ค.ว่าด้วยการร้องทุกข์และการวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ พ.ศ.2551
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,29 ต.ค. 2552,น.15.
|
การวางยุทธศาสตร์การดำเนินงาน 6 ปี จำนวน 6 ประการ มียุทธศาสตร์สำคัญ อาทิ พัฒนากฎ ระเบียบให้เอื้อต่อการอุทธรณ์ ร้องทุกข์ และเยียวยา พัฒนาขีดความสามารถในการวินิจฉัยให้เทียบเคียงมาตรฐานสากล เป็นต้น
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,30 ต.ค. 2552,น.15.
|
จากการที่ได้ส่งทีมไปศึกษาวิเคราะห์กระบวนการบริหารงานการพิทักษ์คุณธรรมในสหรัฐอเมริกและออสเตรเลียเพื่อเปรียบเทียบกับก.พ.ค.ของไทยรวมถึงนำมาปรับปรุงการทำงาน พบว่าสิ่งที่อาจนำมาปรับปรุงนั้น มีอาทิ การวินิจฉัยต้องทำให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน สามารถรับเรื่องอุทธรณ์ หลักฐานเพิ่มเติมทางอีเมล การไต่สวนด้วยระบบ video conference เป็นต้น
|
ข้าราษฎร,มติชน,4 พ.ย. 2552,น.22.
|
การประกาศใช้กฎก.พ.ค.ว่าด้วยการร้องทุกข์และการพิจารณาวินิจฉัยเรื่องร้องทุกข์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2552 ซึ่งได้ให้ความหมายของการปฏิบัติหรือไม่ปฏิบัติต่อตนของผู้บังคับบัญชาซึ่งทำให้เกิดความคับข้องใจ อันเป็นเหตุแห่งการร้องทุกข์ ต้องมีลักษณะสำคัญ อาทิ ไม่ชอบด้สนกฎหมายในคำสั่งหรือปฏิบัติ ไม่มอบหมายงานให้ปฏิบัติ การประวิงเวลาทำให้ไม่ได้รับสิทธิอันที่ควรจะได้ ไม่เป็นไปตามมาตรา 42 แห่งพ.ร.บ.2551 เป็นต้น ทั้งนี้ข้าราชการที่มีเหตุขับข้องใจตามลักษณะข้างต้นและไม่สามารุอุทธรณ์ได้ ก็มีสิทธิร้องทุกข์ได้ตามกฎนี้
|
ข้าราษฎร,มติชน,13 พ.ย. 2552,น.22.
|
การมีสิทธิอุทธรณ์ต่อก.พ.ค.ใน 30 วัน หลังจากทราบหรือถือว่าปราบ กรณีถูกสั่งลงโทษตามพ.ร.บ.2551 หรือถูกสั่งให้ไล่อกจากราชการ ซึ่งสามารถทำได้โดยยื่นอุทธรณ์ด้วยตนเองต่อพนักงานที่สำนักงานก.พ. หรือส่งหนังสืออุทธรณ์ทางไปรษณีย์
|
ก.พ.ค.ขอบอก,มติชน,16 เม.ย. 2553,น.4.
|
การมีสิทธิมอบหมายให้ผู้อื่นดำเนินการแทนได้ ในกรณีอุทธรณ์ โดยให้ทนายหรือบุคลอื่นซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วทำการแทนในกรณีที่เจ็บป่วยจนไม่สามารถอุทธรณ์ได้ด้วยตนเองหรืออยู่ในต่างประเทศและคาดหมายว่าไม่อาจอุทธรณ์ได้ทันเวลาที่กำหนดหรือเหตุจำเป็นอย่างอื่น และต้องแจ้งล่วงหน้าหากจะให้ดำเนินการแทนในกระบวนการ ส่วนกรณีร้องทุกข์ อาจมอบหมายให้บุคคลอื่นร้องทุกข์แทนได้กรณีมีเหตุจำเป็นซึ่งต้องทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ร้องพร้อมทั้งหลักฐานแสดงเหตุจำเป็นหรือพิมพ์ลายนิ้วมือกรณีไม่สามารถลงชื่อได้โดยมีพยานอย่างน้อย 3 คน และสามารถแต่งตั้งทนายดำเนินการแทนในกระบวนการได้โดยแนบหนังสือแต่งตั้ง
|
ก.พ.ค.ขอบอก,มติชน,21 พ.ค. 2553,น.4.
|
3)บุคคล
|
การรับสมัครบุคคลเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ พ.ศ.2552 จำนวน 14 ตำแหน่ง ซึ่งจากการสอบข้อเขียนรอบแรกมีผู้ผ่านการทดสอบ 30 คน ทั้งนี้ขั้นต่อไปคือการประเมินประสบการณ์การทำงานและ/หรือผลงานทางวิชาการ รวมไม่น้อยกว่า 3 เรื่องแต่ไม่เกิน 5 เรื่อง โดยผู้ผ่านต้องได้คะแนนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60
|
ข้าราษฎร,มติชน,28 ต.ค. 2552,น.22.
|
การประกาศรายชื่อผู้ผ่านการประเมินเป็นกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์หรือกรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ พ.ศ.2552 หรือ ก.ว.ฉ. จำนวน 14 ตำแหน่ง พบว่ามีผู้ผ่านการทดสอบ 12 คน อาทิ นายสุธา วิจักขณ์สุรกานย์ นายอนุชา วงษ์บัณฑิต เป็นต้น ซึ่งจะเริ่มปฏิบัติงาน 15 ก.พ. 2553 ทั้งนี้ต้องทำงานเต็มเวลา มีวาระการทำงาน 6 ปี มีเงินประจำเดือนละ 63,340 บาท เงินเพิ่มเดือนละ 30,000 บาท และสามารถทำงานต่อได้อีกโดยใช้วิธีประเมินหรือการคัดเลือกตามที่ก.พ.ค.กำหนด
|
ข้าราษฎร,มติชน,18 ธ.ค. 2552,น.22. และ มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,6 ก.พ. 2553,น.12.
|
4)กึ่งตุลาการ
|
จากการสรุปผลงานครบรอบ 1 ปี ปรากฏสถิติการอุทธรณ์และการร้องทุกข์ ตั้งแต่ 11 ธ.ค.2551 ถึง 30 ก.ย.2552 รวม 260 เรื่อง แยกเป็นอุทธรณ์ 64 เรื่อง ร้องทุกข์ 51 เรื่อง และร้องเรียน 145 เรื่อง ซึ่งส่วนราชการที่ถูกร้องเรียนมากที่สุดคือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จำนวน 78 เรื่อง รองมาคือกระทรวงสาธารณสุข 17 เรื่อง และส่วนราชการที่ถูกอุทธรณ์มากที่สุดคือ กระทรวงมหาดไทย 7 เรื่อง รองมาคือกระทรวงยุติธรรม 5 เรื่อง อีกทั้งส่วนราชการที่ถูกร้องทุกข์มากที่สุด คือ กระทรวงสาธารณสุข 11 เรื่อง รองมากระทรวงมหาดไทย 7 เรื่อง
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,29-30 ต.ค. 2552,น.15.
|
การรายงานตัวอย่างที่วินิจฉัยแล้วสามารถช่วยลดความคับข้องใขของข้าราชการได้ เช่น การแต่งตั้งอธิบดีไม่เป็นไปตามระบบคุณธรรม การให้ยกเลิกและให้คัดเลือกนายแพทย์ 9 วช.ใหม่ การให้เยียวยาหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรีที่รัฐมนตรีสั่งให้ไปช่วยราชการที่อื่น หารให้ยกเลิกคำสั่งผู้อื่นมารักษาการแทนผู้อำนวยการสำนัก เป็นต้น
|
ข้าราษฎร,มติชน,2 ธ.ค. 2552,น.22.
|
มีรายงานการดำเนินงานว่า ตั้งแต่เปิดรับเรื่องอุทธรณ์และร้องทุกข์ตั้งแต่ 11 ธันวาคม 2551 ได้มีเรื่องร้องเรียนหรือร้องทุกข์ที่ส่งผิดที่ ไม่เข้าหลักเกณฑ์หรือไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาของก.พ.ค.จำนวน 170 เรื่อง แบ่งเป็น 2 กรณี คือ ผู้ร้องทุกข์ไม่ใช่ข้าราชการพลเรือน จึงไม่อยู่ในขอบเขตอำนาจของก.พ.ค. และเรื่องต้นเหตุแห่งทุกข์นั้นมาจากอธิบดี ซึ่งต้องร้องทุกข์ไปยังปลัดกระทรวง เนื่องจากเหตุแห่งทุกข์ที่ก.พ.ค.จะรับไว้พิจารณา ต้องเกิดจากเหตุคับข้องใจจากนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีและปลัดกระทรวง ซึ่งถ้าปลัดกระทรวงชี้ขาดแล้วไม่พอใจ ให้ยื่นฟ้องศาลปกครอง
|
ข้าราษฎร,มติชน,13 ม.ค. 2553,น.22.
|
การรายงานเรื่องการร้องทุกข์โดยเหตุจากการแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรง ในขณะที่กระบวนการดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จ แม้จะร้องทุกข์ในเวลาที่กำหนด จึงไม่รับคำร้องทุกข์ไว้พิจารณา ซึ่งผู้ถูกสอบสวนได้ร้องทุกข์เนื่องจากเห็นว่าการสอบสวนมีข้อบกพร่อง ไม่เป็นไปตามขั้นตอนของข้อกฎหมาย กล่าวหาขัดข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย มีกรเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจน มีเจตนาปกปิดข้อเท็จจริงในรายงานและมีการแทรกแวงกระบวนการสอบสวนข้อเท็จจริง ตัวอย่างคือผู้อำนวยการสำนักหนึ่งในกระทรวงสาธารณสุข ถูกอธิบดีแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยอย่างไม่ร้ายแรง กรณีได้สั่งจ้างลูกจ้างชั่วคราวเงินนอกงบประมาณเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ด้านการเงินและบัญชีโดยมิได้ให้หลักประกัน
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ, 15 ม.ค. 2553,น.15.
|
การรายงานการดำเนินงานว่า ในช่วง 11 ธ.ค. 2551 ถึง 29 ธ.ค. 2552 พบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ 3 รายได้อุทธรณ์และร้องทุกข์ไปยังก.พ.ค. ทั้งนี้วินิจฉัยเสร็จสิ้นแล้ว 2 ราย และอีก 1 อยู่ระหว่างพิจารณา ซึ่งหลังจากมีการประกาศใช้พรฎ.ว่าด้วยระเบียบข้าราชการพลเรือนในพระองค์ 2552 ทำให้เรื่องอุทธรณ์หรือเรื่องร้องทุกข์ก่อนวันที่พรฎ.ใช้บังคับ ถูกโอนให้อ.ก.พ.กระทรวงของทั้งสองหน่วยงานแล้วแต่กรณี ซึ่งแบ่งเป็น 2 กระทรวงคืออ.ก.พ.กระทรวงของสำนักพระราชวังและอ.ก.พ.กระทรวงของสำนักราชเลขาธิการ
|
ข้าราษฎร,มติชน,20 ม.ค. 2553,น.22.
|
การวินิจฉัยอุทธรณ์กรณีคดีอาญาของข้าราชการที่ถูกไล่ออกยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ซึ่งมิใช่กรณีคำพิพากษาถึงที่สุด จึงเป็นการพิจารณาลงโทษโดยหลงผิด ทั้งนี้จริงๆแล้วเมื่อข้าราชการผิด ต้นสังกัดสามารถสามารถจะมีคำสั่งลงโทษได้ เพราะข้าราชการได้กระทำการปลอมแปลงเอกสาร ทำให้มีข้อต้องหาว่ากระทำผิดอาญา เสมือนว่าข้าราชการยังอยู่ในราชการ กล่าวคือโดยอำนาจหน้าที่นั้น ต้นสังกัดสามารถทำได้แต่กระบวนการกลับมิชอบด้วยกฎหมาย จึงถือว่าเป็นการพิจารณาลงโทษโดยมิชอบ
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,5 เม.ย. 2553,น.15.
|
การวินิจฉัยอุทธรณ์ว่าการดำเนินการทางวินัยให้รีบดำเนินการโดยเร็ว ไม่ต้องรอผลคดีอาญาว่าจะเป็นประการใด เพระการดำเนินการทางวินัยแก่ข้าราชการที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดในคดีอาญา ผู้บังคับบัญชามีอำนาจดำเนินการได้โดยไม่ต้องรอผลการดำเนินคดีอาญาเนื่องจากกฎหมายได้กำหนดอำนาจหน้าที่และวิธีการสอบสวนแยกเป็นส่วนหนึ่งต่างหากจากการเนินคดีอาญา ซึ่งมีกรณีที่ข้าราชการนายหนึ่งอุทธรณ์ว่าไม่ได้กระทำผิดตามที่ถูกกล่าวหาและอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลจังหวัด โดยระบุว่าการดำเนินคดีนั้นยังไม่สิ้นสุด จึงมีคำขอให้ยกเลิกคำสั่ง ซึ่งการพิเคราะห์กรณีนี้ ผลคือการสอบสวนพิจารณาลงโทษทางวินัยไม่จำเป็นต้องรองฟังผลคดีอาญา คำสั่งไล่ออกจึงชอบแล้ว
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,12 เม.ย. 2553,น.12.
|
การวินิจฉัยร้องทุกข์ร้องทุกข์กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรมจากอธิบดีที่สั่งให้ออกจากราชการเนื่องจากผลการทดลองงานต่ำกว่าเกณฑ์ โดยอธิบดีได้รับคะแนนประเมินจากผู้บังคับบัญชาชั้นต้นที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งผลคือไม่มีสิทธิร้องทุกข์กับก.พ.ค.เนื่องจากผู้ร้องทุกข์ไม่มีสถานภาพเป็นข้าราชการพลเรือนสามัญ เป็นเพียงผู้ทดลองงาน ผู้บังคับบัญชามีอำนาจไล่ออกได้หากผลการประเมินงานต่ำกว่ามาตรฐานที่กำหนด ตามมาตรา 57
|
ข้าราษฎร,มติชน,13 เม.ย. 2553,น.22. และก.พ.ค.ขอบอก,มติชน,4 มิ.ย. 2553,น.4.
|
การเห็นควรไม่รับเรื่องร้องทุกข์ไว้พิจารณาเนื่องจากเหตุความคับข้องใจอันเป็นเหตุให้เกิดการร้องทุกข์ เพราะผู้ร้องไม่มีคุณสมบัติที่ตรงตามมาตรฐานตำแหน่งตามพ.ร.บ.2551 ที่กำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งประเภทวิชาการระดับชำนาญการต้องมีระยะเวลาการดำรงตำแหน่งประเภทวิชาการระดับปฏิบัติการมาแล้วด้วย
|
ข้าราษฎร,มติชน,14 เม.ย. 2553,น.22.
|
การวินิจฉัยให้ปลัดกระทรวงยกเลิกคำสั่งและดำเนินการให้ถูกต้องเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ใน 2 คำสั่ง คือ การแต่งตั้งผู้รักษาราชการแทนผู้อำนวยการศูนย์หนึ่งทั้งที่ผู้ที่ร้องทุกข์มีคุณวุฒิและวัยวุฒิรวมถึงความสามารถตรงสายมากกว่าผู้ที่ตั้งขึ้นมา ซึ่งเป็นการใช้ดุลยพินิจที่ไม่คำนึงถึงลักษณะงาน เป็นการปฏิบัติที่ไม่สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการใช้งาน ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของทางราชการและไม่เป็นไปตามระบบคุณธรรม และคำสั่งแต่งตั้งนักวิชาการชำนาญการกลุ่มเป็นหัวหน้าแทนขณะที่หัวหน้ากลุ่มยังปฏิบัติงานเป็นปกติ ซึ่งเป็นการใช้ดุลยพินิจที่มิชอบ
|
ข้าราษฎร,มติชน,15 เม.ย. 2553,น.22.
|
กรณีการพิจารณาการเลื่อนขั้นเงินเดือนไม่เป็นธรรมซึ่งให้ยกคำร้องทุกข์ เนื่องจากกรณีถึงแม้ว่าจะได้รับการประเมินระดับดีเด่นร้อยละ 92.5 แต่ได้มีการพิจารณาเลื่อนขั้นเงินเดือนในกลุ่มเดียวกันซึ่งพบผู้มีผลการประเมินที่สูงกว่าอีก 3 คน รวมถึงกรณียังไม่ปฏิบัติงานงานราชการตามคำสั่งปฏิบัติงานอีกพื้นที่หนึ่ง ส่งผลให้การเลื่อนขั้นเงินเดือนนั้น ชอบด้วยกฎหมาย
|
ข้าราษฎร,มติชน,16 เม.ย. 2553,น.22.
|
การยกอุทธรณ์กรณีข้าราชการพลเรือนถูกอธิบดีกรมต้นสังกัดมีคำสั่งให้ออกจากราชการด้วยเหตุอันมีลักษณะต้องห้ามที่จะเข้ารับราชการเป็นข้าราชการพลเรือนเนื่องจากศาลล้มละลายกลางมีคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย สาเหตุเพราะไปค้ำประกันเงินกู้ให้พี่เขย ซึ่งในคำอุทธรณ์ไม่ปรากฏว่าอ้างข้อเท็จจริงหรือกฎหมายใดขึ้นเป็นข้อค้านคำสั่งของอธิบดีว่าไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบตามกฎหมาย แต่กลับรับว่าถูกศาลพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ซึ่งเป็นการยอมรับว่ามีลักษณะต้องห้ามจริง แม้ว่าจะไม่ได้เป็นต้นเหตุแห่งการถูกพิพากษาแต่ก.พ.ค. ก็ไม่มีหน้าที่ไปตัดสินว่าสมควรเป็นบุคคลล้มละลายหรือไม่ กรณีจึงไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยข้ออ้างในอุทธรณ์เพราะไม่ว่ากรณีจะเป็นเช่นไร ก็ไม่มีเหตุที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสั่งได้
|
ข้าราษฎร,มติชน,20 เม.ย. 2553,น.22.
|
กรณีการร้องทุกข์การแต่งตั้งรองอธิบดีให้รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาซึ่งเป็นนักวิชาการทรงคุณวุฒิ เห็นว่าเป็นการใช้อำนาจโดยไม่โปร่งใสเพราะไม่มีการแจ้งเวียนให้ผู้มีส่วนได้เสียทราบและไม่มีผู้ใดสมัครเข้าสู่กระบวนการคัดเลือก ซึ่งผู้ร้องทุกข์ในกรณีนี้มีสิทธิจะร้องทุกข์ถึงก.พ.ค.ได้ตามมาตรา 122และมาตรา 123(2) แห่งพ.ร.บ.2551 แต่ก.พ.ค.ไม่รับไว้พิจารณาเนื่องจากข้อ 8 ของกฎก.พ.ค.ว่าด้วยการร้องทุกข์ ต้องกำหนดให้ต้องร้องทุกข์ภายใน 30 วันนับจากวันทราบหรือควรทราบเหตุแห่งการร้องทุกข์ ซึ่งกรณีนี้ได้ยื่นมาหลังจากรู้เหตุแห่งทุกข์แล้ว 101 วัน อีกทั้งการแต่งตั้งรักษาการนี้เป็นเรื่องภายในฝ่ายปกครองซึ่งชอบด้วยกฎหมาย มิใช่คำสั่งทางปกครองตามาตรา 5 แห่งพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง 2539 ดังนั้นจึงเป็นคำร้องทุกข์ที่ห้ามรับไว้พิจารณา
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ,4 มิ.ย. 2553,น.15.
|
3.คณะกรรมการข้าราชการในอาชีพอื่นๆ
ในภาครัฐไทยด้วยความจำเป็นจะต้องให้มีองค์กรแห่งอำนาจลดหลั่นกันไปเพื่อการบริหารงานบุคคลจะได้เกิดประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์รวมกับแนวคิดการกระจายอำนาจ ส่งผลให้การจัดองค์กรในลักษณะเดิมนั้นไม่สามารถตอบสนองความต้องการได้[9] จึงเกิดองค์กรกลางการบริหารงานบุคคลที่แบ่งออกไปตามลักษณะงานที่แตกต่างกันโดยเฉพาะ ซึ่งในปัจจุบันภาครัฐไทยมีองค์กรกลางบริหารงานบุคคลหลัก[10] อาทิ คณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.) คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.ศ.) คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคคลกรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) คณะกรรมการข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ก.ก.) คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.) เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีองค์กรกลางจำนวนมาก ดังนั้น ในที่นี้จึงขอยกตัวอย่างการดำเนินงานในหน้าที่หลักของคณะกรรมการข้าราชการในอาชีพอื่นๆ ปรากฎดังต่อไปนี้
ประเภทคณะกรรมการ
|
รายการดำเนินงาน
|
ที่มา(หนังสือพิมพ์)
|
คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง (ก.ศป.)
|
การรับสมัครบุคคลเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งตุลาการศาลปกครองสูงสุด ซึ่งเป็นการรับสมัครครั้งที่ 6 โดยมีคุณสมบัติคือ สัญชาติไทย อายุระหว่าง 45-65 ปี สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีขึ้นไปในสาขาสังคมศาสตร์ที่เน้นไปทางนิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ ที่สำคัญต้อง เป็นหรือเคยกรรมการร่างกฎหมาย กรรมการวินิจฉัยร้องทุกข์ หรือรับหรือเคยรับราชการตำแหน่งไม่ต่ำกว่าตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นต้น หรือไม่ตำกว่าตำแหน่งอธิบดี ฯลฯ
|
มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ, 27 ก.พ. 2553,น.12.
|
คณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.)
|
การศึกษาวิจัยเรื่องการปรับปรุงระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนของข้าราชการส่วนท้องถิ่น (ระยะที่ 2) เพื่อศึกษาและวางระบบจำแนกตำแหน่งและค่าตอบแทนที่พึงปรารถนารวมถึงเหมาะสมกับข้าราชการส่วนท้องถื่น ซึ่งจัดทำเป็นข้อเสนอเกี่ยวกับการจัดทำโครงสร้างระดับชั้นงานใหม่ 5 รูปแบบ อาทิ การคงโครงสร้างเดิมคือระบบซีแต่จะมีการกำหนดและปรับปรุงแบบบรรยายลักษณะงานและกลไกการบริหาร การปรับโครงสร้างชั้นงานเป็นแบบแท่งเหมือนข้าราชการพลเรือนซึ่งแบ่งเป็น 4 แท่ง การสร้างระดับมาตรฐานกลางแล้วให้อปท.แต่ละแห่งไปพิจารณากำหนดโครงสร้างงานเอง เป็นต้น
|
ข้าราษฎร, มติชน,13 ต.ต. 2552, น.22.
|
คณะกรรมการอัยการ (ก.อ.)
|
การประกาศใช้ข้อกำหนดว่าด้วยความผิดที่ปรากฏชัดแจ้งในราชกิจจานุเบกษา มีสาระสำคัญ อาทิ ความผิดที่ถือว่าผิดวินัยอย่างร้างแรงซึ่งเป็นความผิดชัดแจ้ง คือ การทำความผิดต้องรับโทษจำคุกหรือหนักกว่าจำคุก ต้องคำพิพากษาว่าเป็นบุคคลล้มละลาย กระทำผิดวินัยอย่างร้ายแรง ละทิ้งหน้าที่ราชการติดต่อกันเกินกว่า 15 วัน ซึ่งเมื่อผู้บังคับบัญชาได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงต้องส่งผลให้อัยการสูงสุดนำเสนอประธานก.อ. ทั้งนี้สามารถพิจารณาลงโทษโดยไม่ต้องสอบสวนก็ได้ โดยต้องได้รับความเห็นชอบจาก ก.อ.ก่อน
|
ข้าราษฎร, มติชน, 4 มี.ค. 2553, น.22.
|
คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.)
|
การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ กรณีพ.ต.อ.สมเพียร เอกสมญา ซึ่งไม่ได้รับความเป็นธรรมในการแต่งตั้งโยกย้าย จึงต้องเพิ่มความเคร่งครัดในการปฏิบัติและรักษามาตรฐาน โดยต้องเอาจริงเอาจังกับการให้บุคคลหนึ่งอยู่ในตำแหน่งหนึ่งๆตามระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งเมื่อครบกำหนดแล้วก็ต้องให้มีโอกาสสับเปลี่ยนหมุนเวียนเพื่อการพัฒนา ทั้งการไม่ควรมีบ่อยนักของการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งโดยอ้างว่ามีผลงานดีเด่นหรือมีคุณสมบัติพิเศษจึงต้องเร่งเติบโต และการไม่ควรแทรกแทซงของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่สำคัญต้องปลูกจิตสำนึกของผู้บังคับบัญชาทุกระดับให้ยึดมั่นในความเป็นกลางและยุติธรรม
|
ข้าราชการ ข้าของแผ่นดิน, มติชน, 23 มี.ค. 2553, น.10.
|
การมีมติเปิดตำแหน่งที่ปรึกษาสำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สบ.10) ด้านการสืบสวนอีก 1 ตำแหน่ง เทียบเท่าตำแหน่งรองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ โดยอ้างว่าเป็นไปตามคำร้องขอของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและเพื่อให้สอดคล้องกับแผนงานของคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ซึ่งมีกระแสข่าวว่าอาจมาจากผู้มีอำนาจทางการเมืองต้องการผลักดันนายตำรวจที่มีความใกล้ชิดมาดำรงตำแหน่ง
|
ไทยโพสต์ อิสรภาพแห่งความคิด,ไทยโพสต์, 16 มิ.ย. 2553, น.2.
|
คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคคลกรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.)
|
การรับสมัครเลือกตั้งเป็นผู้แทนข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 9 คน ประกอบด้วย ผู้แทนผอ.เขตพื้นที่การศึกษา 1 คน ผู้แทนผู้บริหารสถานศึกษา 1 คน ผู้แทนข้าราชการครู 6 คนและผู้แทนบุคลากรทางการศึกษาอื่น 1 คน
|
สถานีก.ค.ศ., มติชน, 23 พ.ย. 2552, น.22.
|
การปรับปรุงการกำหนดตำแหน่งบุคลากรทางการศึกษาอื่นตามมาตรา 38 ค.(2)เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการใช้ตำแหน่งและให้ได้บุคคลมาปฏิบัติงานในพื้นที่ที่มีอัตรากำลังไม่เกินกรอบที่กำหนด โดยปรับตำแหน่งประเภททั่วไป ระดับชำนาญการที่เป็นตำแหน่งว่างและมีอัตราเงินเดือนให้เป็นระดับปฏิบัติงานหรือชำนาญงาน เพื่อใช้ในการบรรจุแต่งตั้งผู้สอบแข่งขันได้ที่ขึ้นบัญชีไว้
|
สถานีก.ค.ศ., มติชน, 8 ก.พ. 2553, น.22.
|
การออกระเบียบว่าด้วยการส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาไปศึกษา อบรม ดูงาน หรือปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนา พ.ศ.2552 เพื่อพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาหรือวิชาชีพและป็นการเพิ่มพูนประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมีสาระสำคัญ อาทิ แนวทางการพิจารณาอนุญาตให้คำนึงถึงองค์ประกอบหลายประการ ในระหว่างที่ไปศึกษาหากมีราชการที่มีความจำเป็นให้เรียกกลับมาปฏิบัติราชการทันที โดยข้าราชการจะต้องปฏิบัติตามข้อผูกพันในสัญญาและต้องปฏิบัติตามระเบียบ เป็นต้น
|
สถานีก.ค.ศ., มติชน, 12 เม.ย. 2553, น.22.
|
การประเมินวิทยฐานะของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตามหลักและวิธีการใหม่ โดยกำหนดผู้ขอรับการประเมินต้องผ่านการประเมินทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านวินัย คุณธรรม จริยธรรม และจรรยายรรณวิชาชีพ ด้านความรู้ความสามารถ และด้านผลการปฏิบัติงาน ซึ่งมีการจัดทำคู่มือแจกจ่ายเพื่อให้เข้าใจตรงกัน
|
สถานีก.ค.ศ., มติชน, 7 มิ.ย. 2553, น.22.
|
4.สรุป
องค์การกลางการบริหารงานบุคคลภาครัฐกิจ (Central Personnel Agency) เปรียบเหมือนกลไกสำคัญในการกำกับดูแลและควบคุมให้การบริหารงานบุคคลภาครัฐเป็นไปอย่างมีมาตรฐาน มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อให้องค์การกลางการบริหารงานบุคคลภาครัฐมีความเป็นกลางได้จริง องค์กรจึงควร เป็นหน่วยงานอิสระที่ไม่ขึ้นกับฝ่ายบริหารหรืออยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของฝ่ายบริหาร ทั้งทางตรงและทางอ้อม
ประเทศไทยได้แบ่งแยกองค์การกลางบริหารงานบุคคลออกตามประเภทข้าราชการ ในรูปแบบของคณะกรรมการข้าราชการประเภทต่าง ๆ โดยแต่ละองค์การกลางต่างมีอิสระ ในการกำหนด นโยบาย กฎระเบียบและหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบริหารงานบุคคล สำหรับประเภทข้าราชการ ที่อยู่ในความรับผิดชอบ
ทั้งนี้ หน้าที่และบทบาทขององค์การกลางบริหารงานบุคคลโดยทั่วไปแล้วจะมีหน้าที่ต่าง ๆ ดังนี้
1.กำหนดนโยบายด้านการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
2.เป็นที่ปรึกษาของฝ่ายบริหารในการดำเนินการด้านการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
3.พิทักษ์รักษาระบบคุณธรรมในการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
4.ออกกฎระเบียบ และควบคุมให้มีการปฏิบัติตาม
5.ดำเนินการในบางเรื่องที่เป็นเรื่องสำคัญของกระบวนการบริหารงานบุคคล เช่น การดำเนิน
การสรรหาบุคคลมาทำงาน การกำหนดตำแหน่งและอัตราเงินเดือน เป็นต้น
องค์การกลางการบริหารงานบุคคลของข้าราชการฝ่ายพลเรือนของไทยเท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันต่างก็มีบทบาทอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหลักการบริหารงานบุคคลของตนเอง โดยพยายามจะให้มีอิสระ และให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ข้าราชการฝ่ายตนมากที่สุด ร่วมกับยังคงมีการแทรกแซงจากฝ่ายการเมือง อยู่เป็นประจำ จึงส่งผลให้เกิดปัญหาอีกมากในการบริหารงานบุคคลภาครัฐของไทย
[1] ศึกษาจากการนำเสนอทางหนังสือพิมพ์ ตั้งแต่เดือนตุลาคม พ.ศ.2552 ถึง มิถุนายน พ.ศ.2553 อาทิ มุมข้าราชการ,ไทยรัฐ. ,ข้าราษฎร,มติชน.,หมายเหตุก.พ.,มติชน., ข้าราชการ ข้าของแผ่นดิน,มติชน.,ก.พ.ค.ขอบอก,มติชน. เป็นต้น
[2] ยุวดี ศรีธรรมรัฐ, 2541. การบริหารงานบุคคลในภาครัฐกิจ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, น.58.
[3] สร้อยตระกูล อรรถมานะ, 2540. สาธารณบริหารศาสตร์.กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, น.206.
[4] ยุวดี ศรีธรรมรัฐ, 2541. อ้างแล้ว, น.58-59.
[5] ในที่นี้ อาจเรียกว่า องค์กรกลางการบริหารงานบุคคลภาครัฐ,องค์การกลางการบริหารงานบุคคลภาครัฐกิจ,องค์กรกลางการบริหารงานบุคคลภาครัฐกิจ เป็นต้น
[6] ศุภชัย ยาวะประภาษ, 2548. การบริหารงานบุคคลภาครัฐไทย : กระแสใหม่ และสิ่งท้าทาย. กรุงเทพฯ : บริษัท จุดทอง จำกัด, น.22.
[7] สุพล สุขศรีมั่งมี, 2551. พระราชบัญญัติข้าราชการพลเรือนระบบใหม่ พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : SCIENCE CENTER, น.3-5.
[8] เรื่องเดียวกัน, น.12.
[9] ยุวดี ศรีธรรมรัฐ, 2541. อ้างแล้ว, น.63-64.
[10] ศุภชัย ยาวะประภาษ, 2548. อ้างแล้ว, น.22.
|
|
|
|
|