หน้าแรก บทความสาระ
สิทธิของชนชาวไทย
คุณภาคภูมิ อนุศาสตร์
12 กุมภาพันธ์ 2555 21:32 น.
 
การปกครองในระบอบประชาธิปไตย สิทธิและเสรีภาพเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการพิจารณาในทางเนื้อหาว่ารัฐชาติใดนั้นเป็นประชาธิปไตยหรือไม่  มากน้อยเพียงใด โดยกฎหมายที่รับรองในเรื่องนี้คือกฎหมายรัฐธรรมนูญสำหรับประเทศที่มีรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษร ซึ่งในทางการเมืองการปกครองการมีส่วนรวมทางการเมืองเป็นประเด็นที่สำคัญยิ่งต่อพัฒนาการทางการเมืองของแต่ละประเทศ ยิ่งประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองมากก็ยิ่งจะทำให้พัฒนาการทางการเมืองของประเทศนั้น ๆ สูงขึ้นตามไปด้วย ทั้งนี้การมีส่วนร่วมทางการเมืองก็มีระดับต่าง ๆ กันไป เช่น การติดตามข่าวสารทางการเมือง  การสนับสนุนพรรคการเมืองต่าง ๆ หรืออาจถึงขั้นเป็นสมาชิกพรรคการเมืองที่ตนนิยม เป็นต้น ทั้งหมดล้วนเป็นกิจกรรมในการมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งสิ้น
       ดังนั้นการส่งเสริมหรือสนับสนุนให้ชนชาวไทยทุกหมู่เหล่าได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองก็ถือเป็นสิทธิประการหนึ่งที่รัฐจะละเลยมิได้ หากแต่ในห้วงที่มีการนำเสนอร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่..) พ.ศ.... ฉบับ “เพื่อไทย” มาตรา ๒๙๑/๓  (๒)[๑] ที่กำหนดให้ ผู้ที่เป็นข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำเป็นบุคคลต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ นั้น ในทัศนะของข้าพเจ้าเห็นว่าขัดต่อความเสมอภาค จริงอยู่ที่บุคคลผู้เป็นข้าราชการอาจถูกจำกัดสิทธิได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย แต่ไม่ใช่กรณีนี้ อันเนื่องด้วยว่าการร่างรัฐธรรมนูญจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องให้มีผู้ส่วนได้เสียในสังคมไทยทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมในเวทีแห่งการร่างรัฐธรรมนูญนี้ ส่วนผู้ใดจะได้ผ่านเข้าสู่สภาร่างฯ หรือไม่นั้น ก็ให้เป็นไปตามกระบวนการเลือกตั้ง(ซึ่งควรปลอดจากการแทรกแซงจากผู้มีอิทธิพลทางการเมือง(ถ้าเป็นไปได้)) เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่ามีชนชาวไทยที่อยู่ในข่ายถูกตัดสิทธิการมีส่วนร่วมทางการเมืองอยู่อย่างน้อยที่สุดประมาณ ๑.๔๘[๒] ล้านคนเฉพาะฝ่ายพลเรือนและยังไม่รวมถึงข้าราชการส่วนท้องถิ่น ซึ่งผู้ที่มีความสนใจทางการเมืองกลุ่มนี้เป็นผู้ที่มีทั้งวัยวุฒิและคุณวุฒิไม่น้อยไปกว่ากลุ่มอื่น ๆ ในสังคมการเมืองไทย แต่กลับถูกปิดกั้นมิให้ใช้สิทธิทางการเมืองนี้
       สมควรอย่างยิ่งที่จะต้องมีการทบทวนในประเด็นนี้ร่วมกัน รวมถึงร่างฯ ในมาตรา ๒๙๑/๓ (๑)[๓] ด้วย เพราะเวทีนี้เป็นเวทีที่จะสร้างความเห็นร่วมของชนชาวไทยทุกคนอย่างแท้จริง ในการกำหนดโครงสร้าง กฎเกณฑ์ และความสัมพันธ์ในทางการเมืองการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ไม่ควรอย่างยิ่งที่จะมีการปิดกั้นใด ๆ นอกเหนือจากความเป็นพลเมืองไทยไม่ว่าจะเป็นเพศ การศึกษา อาชีพ สถานะทางสังคม สถานะทางเศรษฐกิจ ในอันที่จะสร้างคัมภีร์ในทางการเมืองการปกครองที่เป็น Thai Version อันเป็นที่ยอมรับและเทิดไว้ นำไปสู่ความสมานฉันท์อันพึงปรารถนาของชนชาวไทยทุกหมู่เหล่า แต่เท่าที่ประมวลได้ชนชาวไทยเรามีวัฒนธรรมทางการเมืองที่น่าแปลกอยู่อย่างหนึ่งคือ เราส่วนใหญ่ไม่เคารพ(Respect)การตัดสินใจของตนเอง และในบางกรณีก็ใช้สิทธิเกินส่วนในการตัดสินใจของผู้อื่นซึ่งเป็นเสียงส่วนใหญ่ด้วย ซึ่งเป็นสิ่งที่ควรจะต้องแก้ไขไปพร้อมกันกับการแก้ไขลายลักษณ์อักษรที่เรายกให้เป็นอุดมคติในทางการเมืองการปกครองที่เรียกว่า “รัฐธรรมนูญ”  ก็จะเป็นการดีอย่างยิ่ง
       

       
       

       

       [๑]มติชนรายวัน, วันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ ,หน้า ๒
       

       

       [๒] www.ocsc.go.th/ocsccms/uploads/File/P01_P06(1).pdf  (ค้นเมื่อวันที่ ๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕)ใกล้เคียง
       

       

       [๓]  อ้างแล้ว ๑
       

       



 
 
หลักความเสมอภาค
องค์กรอิสระ : ความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมืองและการปฏิรูประบบราชการ โดย คุณนพดล เฮงเจริญ
ปัญหาของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในประเทศไทย
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : ผลในทางปฏิบัติ เมื่อครบรอบหกปีของการปฏิรูปการเมือง
หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
   
 
 
 
PAYS DE BREST : COOPERER VOLONTAIREMENT AU SERVICE DU TERRITOIRE
La violence internationale : un changement de paradigme
การลงทะเบียนเพื่อรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย: มิติด้านกฎหมายและเทคโนโลยี
Tensions dans le cyber espace humanitaire au sujet des logos et des embl?mes
คุณูปการของศาสตราจารย์พิเศษ ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ต่อการพัฒนากฎหมายปกครองและกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง : งานที่ได้ดำเนินการไว้ให้แล้วและงานที่ยังรอการสานต่อ
การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม
ยาแก้โรคคอร์รัปชันยุคใหม่
สหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ คืออะไร
มองอินโด มองไทย ในเรื่องการกระจายอำนาจ
การฟ้องปิดปาก
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544