3.2 การเสนอร่างกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและร่างกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
ในสมัยรัฐบาลนายชวน หลีกภัย (พ.ศ.2540 - 2542)
ในช่วงนี้ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540
(มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 2540) ซึ่งได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งศาลปกครองในระบบ ศาลคู่
ไว้ในมาตรา 276-280 อันนับได้ว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 2 ที่บัญญัติไว้เช่นนี้ รัฐธรรมนูญ
แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 5) พุทธศักราช 2538 เป็น
รัฐธรรมนูญฉบับแรกที่บัญญัติให้มีการจัดตั้งศาลปกครองในระบบ ศาลคู่ แต่รัฐธรรมนูญ
พ.ศ. 2517 ซึ่งบัญญัติให้จัดตั้งศาลปกครองเป็นครั้งแรก มิได้บัญญัติไว้ชัดแจ้งว่าให้เป็นระบบ ศาลคู่ หรือ ศาลเดี่ยว ดังนั้น เพื่อให้เห็นชัดเจนถึงวิวัฒนาการในเนื้อหาของรัฐธรรมนูญฯทั้ง 3 ฉบับ จึงได้ทำตารางเปรียบเทียบไว้ ดังนี้
ประเด็นสำคัญ |
รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2540 |
รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2534 |
รัฐธรรมนูญ พุทธศักราช 2517 |
อำนาจหน้าที่ของศาลปกครอง |
มาตรา ๒๗๖ ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีที่เป็นข้อพิพาทระหว่างหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐบาลกับเอกชน หรือระหว่างหน่วยราชการหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ในบังคับบัญชาหรือในกำกับดูแลของรัฐด้วยกัน ซึ่งเป็นข้อพิพาทอันเนื่องมาจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้นต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำที่หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐนั้น ต้องรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ
|
มาตรา ๑๙๕ ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามที่กฎหมายบัญญัติ
|
ไม่ได้บัญญัติไว้ มาตรา ๒๑๒ ศาลปกครองและศาลในสาขาแรงงาน สาขาภาษีหรือสาขาสังคม จะตั้งขึ้นได้ก็แต่โดยพระราชบัญญัติ การแต่งตั้งและการให้ผู้พิพากษาพ้นจากตำแหน่งอำนาจหน้าที่ของศาล ตลอดจนวิธีพิจารณาของศาลตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลนั้น |
ลำดับชั้นของศาลปกครอง |
ให้มีศาลปกครองสูงสุด และศาลปกครองชั้นต้น และจะมีศาลปกครองชั้นต้น และจะ
มีศาลปกครองชั้นอุทธรณ์ด้วยก็ได้ |
ไม่ได้บัญญัติไว้ |
ไม่ได้บัญญัติไว้ |
การถวายสัตย์ปฏิญาณของตุลาการ |
มาตรา ๒๕๒ ก่อนเข้ารับหน้าที่ ผู้พิพากษาและตุลาการต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำดังต่อไปนี้
ข้าพระพุทธเจ้า(ชื่อผู้ปฏิญาณ) ขอถวายสัตย์ปฏิญาณว่า ข้าพระพุทธเจ้าจะจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์และจะปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยด้วยความซื่อสัตย์สุจริต โดยปราศจากอคติทั้งปวงเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ประชาชนและความสงบสุขแห่งราชอาณาจักร ทั้งจะรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยและกฎหมายทุกประการ |
มาตรา ๑๙๕ ทวิพระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งและให้ตุลาการในศาลปกครองพ้นจากตำแหน่งก่อนเข้ารับหน้าที่ครั้งแรก ตุลาการในศาลปกครองต้องถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ด้วยถ้อยคำตามที่กฎหมายบัญญัติ |
ไม่ได้บัญญัติไว้ |
การแต่งตั้งและให้พ้นจากตำแหน่งตุลาการศาลปกครอง |
มาตรา ๒๗๗ การแต่งตั้งและการให้ตุลาการในศาลปกครองพ้นจากตำแหน่ง ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติก่อนแล้วจึงนำความกราบบังคมทูล
ผู้ทรงคุณวุฒิสาขานิติศาสตร์และผู้ทรงคุณวุฒิในการบริหารราชการแผ่นดิน อาจได้รับแต่งตั้งให้เป็นตุลาการในศาลปกครองสูงสุดได้ การแต่งตั้งให้บุคคลดังกล่าว เป็นตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ให้แต่งตั้งไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนตุลาการในศาลปกครองสูงสุดทั้งหมดและต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติและได้รับความเห็นชอบจากวุฒิสภาก่อน แล้วจึงนำความกราบบังคมทูล
การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษตุลาการในศาลปกครอง ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติ |
มาตรา ๑๙๕ ตรี การแต่งตั้งและการให้ตุลาการในศาลปกครองพ้นจากตำแหน่งต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติแล้วจึงนำความกราบบังคมทูล
การเลื่อนตำแหน่งการเลื่อนเงินเดือนและการลงโทษตุลาการในศาลปกครอง ต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๑๙๕ จัตวาการแต่งตั้งและการให้ผู้พิพากษาหรือตุลาการในศาลอื่น นอกจากศาลยุติธรรม ศาลปกครอง |
ไม่ได้บัญญัติไว้ |
การแต่งตั้งประธานศาลปกครองสูงสุด |
มาตรา ๒๗๘ การแต่งตั้งตุลาการในศาลปกครองให้ดำรงตำแหน่งประธานศาลปกครอง
สูงสุดนั้น เมื่อได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองและวุฒิสภาแล้ว
ให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงแต่งตั้งต่อไป |
ไม่ได้บัญญัติไว้ |
ไม่ได้บัญญัติไว้ |
คณะกรรมการตุลาการศาลปกครอง |
มาตรา ๒๗๙ คณะกรรมการตุลาการศาลปกครองประกอบด้วยบุคคลดังต่อไปนี้
(๑) ประธานศาลปกครองสูงสุดเป็นประธานกรรมการ
(๒) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจำนวนเก้าคน ซึ่งเป็นตุลาการในศาลปกครองและได้รับเลือกจากตุลาการในศาลปกครองด้วยกันเอง
(๓) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งได้รับเลือกจากวุฒิสภาสองคนและจากคณะรัฐมนตรีอีกคนหนึ่ง
คุณสมบัติ ลักษณะต้องห้ามและวิธีการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ
|
ไม่ได้บัญญัติไว้ |
ไม่ได้บัญญัติไว้ |
หน่วยธุรการของศาลปกครอง |
มาตรา ๒๘๐ ศาลปกครองมีหน่วยธุรการของศาลปกครองที่เป็นอิสระ โดยมีเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองเป็นผู้บังคับบัญชาขึ้นตรงต่อประธานศาลปกครองสูงสุด
การแต่งตั้งเลขาธิการสำนักงานศาลปกครองต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติ
สำนักงานศาลปกครองมีอิสระในการบริหารงานบุคคลการงบประมาณ และการดำเนินการอื่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ
|
ไม่ได้บัญญัติไว้ |
ไม่ได้บัญญัติไว้ |
กรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับ อำนาจหน้าที่ระหว่างศาล |
มาตรา ๒๔๘ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลทหาร หรือศาลอื่น ให้พิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดโดยคณะกรรมการคณะหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกาเป็นประธาน ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลอื่น และผู้ทรงคุณวุฒิอื่นอีกสี่คน ตามที่กฎหมายบัญญัติเป็นกรรมการ
หลักเกณฑ์การเสนอปัญหาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติไว้
|
มาตรา ๑๙๕ เบญจ ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลยุติธรรมกับศาลอื่น หรือ
ระหว่างศาลอื่นด้วยกันให้คณะตุลาการรัฐธรรมนูญเป็นผู้วินิจฉัย |
ไม่ได้บัญญัติไว้ |
หลังจากที่รัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 มีผลใช้บังคับแล้ว ก็ได้มีการเปลี่ยนแปลง
รัฐบาล จากรัฐบาลที่มีพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ เป็นนายกรัฐมนตรีมาเป็นรัฐบาลที่มีนายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรีและได้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการนโยบายและประสานงานการดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญขึ้น ซึ่งคณะกรรมการดังกล่าวได้มีมติมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.
. ที่ได้เสนอต่อสภา
ผู้แทนราษฎรไว้ตั้งแต่สมัยรัฐบาลพลเอกชวลิตฯ ให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญพ.ศ. 2540 ดังนั้น
รัฐบาลนายชวน หลีกภัย จึงถอนร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ จากระเบียบวาระของสภา
ผู้แทนราษฎร เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2541 เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ดำเนินการปรับปรุง
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 ในรายละเอียด
บางประการ แต่หลักการและเนื้อหาเกือบทั้งหมดคงเป็นไปเช่นเดียวกับร่างพระราชบัญญัติจัดตั้ง
ศาลปกครองฯ ที่ เสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2540 ในสมัยรัฐบาล
พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ 87
ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวแล้วมีมติให้นำเสนอสภา
ผู้แทนราษฎรเพื่อพิจารณา สภาผู้แทนราษฎรในคราวประชุมเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม 2541
ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ....ของรัฐบาลและร่างพระราชบัญญัติในเรื่องเดียวกันอีก 3 ฉบับที่เสนอโดย นายปรีชา สุวรรณทัต กับคณะนายพินิจ จันทรสุรินทร์ กับคณะ และนายกุเทพ ใสกระจ่าง กับคณะ แล้ว มีมติรับหลักการและให้แต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญขึ้นพิจารณาร่างพระราชบัญญัติทั้ง 4 ฉบับ ดังกล่าวโดยให้ใช้ร่างฯ ของคณะรัฐมนตรีเป็นหลัก ต่อมาสภาผู้แทนราษฎรได้ประชุมเมื่อวันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 ลงมติเห็นชอบด้วยกับร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว แล้วเสนอวุฒิสภาพิจารณาในคราวประชุมวุฒิสภา ครั้งที่ 2 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) วันศุกร์ที่ 2 กรกฎาคม 2542 ที่ประชุมได้ลงมติแก้ไขเพิ่มเติมแล้วส่งคืนไปยังสภาผู้แทนราษฎรและในคราวประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 20 ปีที่ 3 ครั้งที่ 7 (สมัยสามัญนิติบัญญัติ) ได้ประชุม ในวันพุธที่ 14 กรกฎาคม 2542 เห็นชอบด้วยกับความเห็นของวุฒิสภา จึงถือว่าร่างพระราชบัญญัติทั้ง 2 ฉบับ นี้ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาแล้ว ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 175 (3)88
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฏรและวุฒิสภา และได้มีการประกาศใช้เป็นกฎหมาย คือพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองพ.ศ.2542 ซึ่งมีผล
ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 ตุลาคม 254289 และในวันที่ 9 มีนาคม 2544 ศาลปกครอง (ศาลปกครองสูงสุดและศาลปกครองกลาง) ก็ได้เปิดทำการ เพื่อทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองอย่างเป็นทางการเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
บทสรุป
การจัดตั้งศาลปกครอง (พ.ศ. 2532 2542)
ก. พระบรมราโชบายในการจัดตั้ง สถาบันที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงการบริหารราชการแผ่นดินของไทยในยุคใหม่ตามแนวทางของประเทศตะวันตกภาคพื้นทวีปนั้น เกิดขึ้นใน พ.ศ. 2417 เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตรา พระราชบัญญัติเคาน์ซิลออฟสเตดคือที่ปฤกษาราชการแผ่นดิน ขึ้น
การจัดตั้งสถาบันที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน ทำให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงสามารถดึงอำนาจจากขุนนางกลับคืนมาสู่สถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นการใช้วิธีการทางกฎหมายเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องอำนาจและเป็นสิ่งแรกที่พระองค์ทรงกระทำ นับได้ว่าเป็นพระบรมราโชบายอันแยบยลที่จะทำให้การปฏิบัติงานของขุนนางในสมัยนั้นต้องอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของพระมหากษัตริย์ผ่านทางสถาบันที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
อย่างไรก็ตามแม้สถาบันที่ปรึกษาราชการแผ่นดินจะมีผลงานที่สำคัญหลายประการ แต่เนื่องจากข้าราชการไทยในสมัยนั้นยังไม่มีความรู้ความเข้าใจในหน้าที่และวัตถุประสงค์อย่างแท้จริงของสถาบันดังกล่าว ประกอบกับเมื่อสิ้นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ อำนาจในการปกครองประเทศถือได้ว่ารวมศูนย์อยู่ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ ความจำเป็นในการใช้สถาบันที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในช่วงนี้คงลดน้อยลง จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติเคาน์ซิลออฟสเตดใน พ.ศ. 2437 และมีพระราชบัญญัติรัฐมนตรีสภาขึ้นแทน แต่ก็ต้องถือว่าพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ทรงสร้างประเทศสยามให้เป็นรัฐชาติได้สำเร็จ ทั้งยังได้ทรงริเริ่มความคิดเรื่องศาลปกครองขึ้นในประเทศไทยอีกด้วย
ข. ธรรมาศาสตราจารย์ผู้สานต่อพระบรมราโชบายในเรื่อง
สถาบันที่ปรึกษาราชการแผ่นดิน
 
เมื่อท่านปรีดี จบการศึกษาปริญญาเอกทางกฎหมายจากประเทศฝรั่งเศส
ใน พ.ศ.2470 และได้รับตำแหน่งเป็นเลขานุการกรมร่างกฎหมาย ท่านได้เริ่มศึกษากฎหมายของไทยและรวบรวมกฎหมายไทยตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบันเป็นเล่มเดียวกันชื่อว่า ประชุมกฎหมายไทย
ใน พ.ศ. 2474 ท่านได้จัดทำคำบรรยายวิชากฎหมายปกครอง เพื่อใช้สอนในโรงเรียนกฎหมายตามหลักสูตรเนติบัณฑิตไทย โดยได้สอดแทรกหลักการเมืองการปกครองไว้เป็นอันมาก การสอนวิชากฎหมายปกครอง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของวิชากฎหมายมหาชนนั้น ท่านต้องอาศัยความกล้าหาญและความมุ่งมั่นอยู่ไม่น้อย เมื่อคำนึงถึงว่าในขณะนั้นประเทศไทยยังปกครองอยู่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ นอกจากนี้ เพื่อสนองความต้องการของราษฎรตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษา และเพื่อผลิตบุคคล
ที่มีความรู้ให้เป็นกำลังของระบอบประชาธิปไตยที่เริ่มสถาปนาขึ้น ใน พ.ศ. 2475 มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองจึงเกิดขึ้นโดยการริเริ่มและผลักดันของท่านปรีดี เมื่อ พ.ศ. 2477 ซึ่งวิชากฎหมายปกครองก็ได้ถูกบรรจุเข้าในหลักสูตรการสอน จนแพร่หลายไปในทุกสถาบันการศึกษา ในเวลาต่อมา
 
ใน พ.ศ.2476 ท่านได้ริเริ่มและผลักดันให้มีกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองด้วยการตรา
พระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฏีกา พุทธศักราช 2476 ขึ้น โดยยึดรูปแบบเดียวกันกับสถาบันที่ปรึกษาราชการแผ่นดินในแง่ของโครงสร้างและอำนาจหน้าที่ เพียงแต่ว่าในส่วนของการตัดสินคดีปกครองนั้น จะต้องมีการตรากฎหมายอีกฉบับหนึ่งมากำหนดในรายละเอียดเสียก่อน ซึ่งที่วาง
เป็นขั้นตอนเช่นนี้ เข้าใจว่าท่านคงต้องการวางรากฐานของระบบศาลและระบบกฎหมายในลักษณะแบบศาลคู่ เพื่อแยกกฎหมายมหาชนกับกฎหมายเอกชนให้เด่นชัดแต่ต้น ดังจะเห็นได้จากการมอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาและนายอาร์ กียอง ที่ปรึกษากฎหมาย ยกร่างกฎหมายในเรื่อง
ดังกล่าวเสร็จสิ้นเมื่อ พ.ศ.2478 แต่ร่างกฎหมายดังกล่าวก็ไม่ผ่านการพิจารณา แม้สภาผู้แทนราษฎร
จะได้ลงมติรับหลักการแล้วก็ตาม
 
อย่างไรก็ตาม แม้ท่านปรีดีจะไม่ประสบความสำเร็จในการให้เกิดศาลปกครอง
ที่ทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์แบบในยุคของท่าน แต่ท่านก็ได้วางรากฐานทั้งด้านความคิด การศึกษาและการเรียนการสอนในเรื่องดังกล่าวไว้ เพื่อให้คนรุ่นหลังได้สานต่อจนประสบความสำเร็จในที่สุด ดังจะเห็นได้จากการปรับปรุงระบบ ร้องทุกข์ ใน พ.ศ. 2522 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2534 ใน พ.ศ.2538 ของรัฐสภา ด้วยการให้มีศาลปกครองเป็นศาลอีกระบบหนึ่งแยกต่างหาก
จากระบบของศาลยุติธรรม และโดยการจัดทำร่างกฎหมาย เพื่อปรับเปลี่ยนอำนาจหน้าที่ในส่วนงานวินิจฉัยร้องทุกข์ของคณะกรรมการกฤษฎีกา ให้เป็นศาลปกครองเต็มรูปแบบ และต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน ซึ่งเกิดขึ้นจากแรงผลักดันในการปฏิรูปการเมืองของประชาชน
ก็ได้บัญญัติยืนยันถึงหลักการให้มีการจัดตั้งศาลปกครองเป็นศาลอีกระบบหนึ่งแบกต่างหากจากศาลยุติธรรม จนได้มีการเสนอร่างพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองซึ่งเป็นระบบ ศาลคู่ แต่ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของศาลปกครองจากรูปแบบของสภาแห่งรัฐ มาเป็นศาลปกครองที่มีอำนาจหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีปกครองแต่เพียงอย่างเดียว ไม่มีหน้าที่ให้คำปรึกษากฎหมายแก่รัฐบาล
 
ในที่สุดพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองก็มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2542 และศาลปกครองก็ได้เปิดทำการเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2544 นับเป็นเวลาถึง 68 ปี นับตั้งแต่ท่านปรีดีได้ผลักดันให้มีพระราชบัญญัติว่าด้วยคณะกรรมการกฤษฎีกาขึ้นใน พ.ศ. 2476 เพื่อทำหน้าที่เป็นศาลปกครอง
บรรณานุกรม
ชาญชัย แสวงศักดิ์. คำอธิบายกฎหมายจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง, กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2542.
. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระบิดาแห่งกฎหมายมหาชน, ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์
. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่, สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2541.
. ศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง, 2540.
. อิทธิพลของฝรั่งเศส : ในการปฏิรูปกฎหมายไทย, พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2539.
ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. เศรษฐศาสตร์การเมือง (เพื่อชุมชน), ครั้งที่ 1. 2542.
นิตยสารสารคดี (ฉบับพิเศษ) คือวิญญาณเสรี ปรีดี พนมยงค์, บริษัทวิริยะธุรกิจ จำกัด,
ครั้งที่ 3, 2543.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ. กฎหมายมหาชน เล่ม 2 การแบ่งแยกกฎหมายมหาชน-เอกชน และพัฒนาการกฎหมายมหาชน ในประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ 12.สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2538.
ปรีดี พนมยงค์. ประชุมกฎหมายมหาชนและเอกชน, โรงพิมพ์วิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2526.
โภคิน พลกุล. พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 : หนทางสู่ราชการในระบบเปิด, คณะกรรมการปฏิรูประบบราชการ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2540.
. เอกสารเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญไทย. พิมพ์ครั้งที่ 2. โรงพิมพ์สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2531.
. กฎหมายมหาชนกับการปฏิรูประบบราชการในยุคโลกาภิวัฒน์, พิมพ์ครั้งที่ 1. สำนักพิมพ์นิติธรรม. 2541.
. สาระสำคัญของกฎหมายว่าด้วยศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง, ศาลปกครองสูงสุด 2544.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา, กองวิเคราะห์กฎหมายและการร้องทุกข์. การพัฒนาระบบการยุติธรรมทางปกครองของไทย, กันยายน : 2539.
ปรีดี พนมยงค์. วารสารปรีดีสาร, 2543.
วิษณุ เครืองาม. กฎหมายรัฐธรรมนูญ, พิมพ์ครั้งที่ 3. แสวงสุทธิการพิมพ์, 2530.
แสวง บุญเฉลิมวิภาส. ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย, กรุงเทพฯ : วิญญูชน, 2543.
ส.ศิวรักษ์. เรื่องนายปรีดี พนมยงค์ ตามทัศนะ ส.ศิวรักษ์. พิมพ์ครั้งที่ 4. พิมพ์ดี, 2543.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. 60 ปี สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา.
. วารสารกฎหมายปกครอง ฉบับพิเศษ. เล่ม 13, ตอน 1 : 2517-2537.
. วารสารกฎหมายปกครอง. เล่ม 3, ตอน 1 (เมษายน) : 2527.
. วารสารกฎหมายปกครอง. เล่ม 3, ตอน 2 (สิงหาคม) : 2527.
. วารสารกฎหมายปกครอง. เล่ม 3, ตอน 3 (ธันวาคม) : 2527.
. วารสารกฎหมายปกครอง. เล่ม 4, ตอน 1 (เมษายน) : 2528.
. วารสารกฎหมายปกครอง. เล่ม 9, ตอน 1 (เมษายน) : 2533.
. วารสารกฎหมายปกครอง (ฉบับศาลปกครอง 1). เล่ม 13, ตอน 2 (สิงหาคม) : 2537.
. วารสารกฎหมายปกครอง (ฉบับศาลปกครอง 2). เล่ม 14 ตอน 1 (เมษายน) : 2538.
. วารสารกฎหมายปกครอง (ฉบับพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการพัฒนากฎหมายมหาชนในประเทศไทย). เล่ม 14, ตอน 2 (สิงหาคม) : 2538.
. วารสารกฎหมายปกครอง. เล่ม 15, ตอน 1 (เมษายน) : 2539.
. วารสารกฎหมายปกครอง. เล่ม 18, ตอน3 : 2542.
บทบัณฑิตย์ เนติบัณฑิตยสภา เล่มที่ 51, ตอน 1 (มีนาคม) : 2538.
สำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย, สถาบันดำรงราชานุภาพ. เอกสารวิชาการ เรื่อง ศาลปกครอง, : 2540.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, กองการประชาสัมพันธ์. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, พิมพ์ครั้งที่ 1. กองการพิมพ์, 2538.
สำนักงานเลขาธิการเนติบัณฑิตยสภา. บทบัณฑิตย์, กรุงเทพฯ : เนติบัณฑิตยสภา, 2538.
อักขราทร จุฬารัตน. การจัดตั้งศาลปกครองกับการแก้ไขความเดือดร้อนของประชาชน,เอกสารวิจัย วิทยาลัยการปกครอง โรงเรียนนักปกครองระดับสูง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย, 2527.
อมร จันทรสมบูรณ์. กฎหมายปกครอง, มหาวิทยาลัยรามคำแหง : 2520.
อมร จันทรสมบูรณ์,อักขราทร จุฬารัตน,ชาญชัย แสวงศักดิ์,พนม เอี่ยมประยูร, วรพจน์ วิศรุตพิชญ์, สุรพล นิติไกรพจน์ และสมคิด เลิศไพฑูรย์. ศาลปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ 2. สำนักพิมพ์นิติธรรม, 2540.
ลงเผยแพร่ครั้งแรกใน Public Law Net วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2544
|