หน้าแรก บทความสาระ
ส่วนที่ 1 เอกสารวิชาการหมายเลข 3
ศ.ดร.อมร จันทรสมบูรณ์
1 ตุลาคม 2549 21:36 น.
 

เอกสารหมายเลข 3
       

       
       

เอกสารวิชาการ
       
       

(3) บทบาทของกษัตริย์
       
       

ในระบบรัฐสภา- parliamentary system
       
       

********************
       
       

บทบาทของกษัตริย์ในระบบรัฐสภา มี 2 แบบ (1) พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจบริหารโดยตรงและ (2) พระมหากษัตริย์ใช้อำนาจในฐานะ “ประมุขของรัฐ”
       
       

********************
       
       

ส่วนที่ 3.1 ระบบรัฐสภาที่พระมหากษัตริย์เป็นผู้ใช้ “อำนาจบริหาร”ภายใต้การถ่วงดุลโดยสภาผู้แทนราษฎร
       
       (ก) ตัวอย่าง รธน.ต่างประเทศ (แสดงเฉพาะ “มาตราหลัก” :ได้แก่ เดนมาร์ก / เบลเยี่ยม / สวีเดน / นอร์เวย์ / เนเธอร์แลนด์ / ลักซัมเบอร์ก)
       
       (1) รธน.เดนมาร์ก (ค.ศ.1953)
       
       3. The legislative power shall be vested in the King and the Folketing conjointly. The executive power shall be rested in the King. The judicial power shall be vested in the courts of justice.
       
       12. Subject to the limitations laid down in this Constitution Act the King shall have the supreme authority in all the affairs of the Realm, and he shall exercise such supreme authority through the Ministers.
       

       14. The King shall appoint and dismiss the prime Minister and the other Ministers. He shall decide upon the number of Ministers and upon the distribution of the duties of government among them. The signature of the King to resolutions relating to legislation and government shall make such resolutions valid, provided that the signature of the King is accompanied by the signature or signatures of one or more Ministers. A Minister who has signed a resolution shall be responsible for the resolution.
       
       (2) รธน.เบลเยี่ยม (ค.ศ.1994)
       
       Article 36
       The federal legislative power is exercised collectively by the King, the Chamber of Representatives (Chambre des représentants) and the Senate (Sénat).
       3/2
       Article 37
       The federal executive power is vested in the King, as regulated by the Constitution.
       Article 40

       The judicial power is exercised by the courts and tribunals.
       Their decisions and judgments are enforced in the name of the King.
       
       Article 96
       The King appoints and dismisses his Ministers.
       The Federal Government tenders its resignation to the King if the Chamber of Representatives adopts, by an absolute majority of its members, a motion of no-confidence that proposes to the King the appointment of a successor to the Prime Minister , or proposes to the King written there (3) days after the rejection of a motion of confidence, the appointment of a successor to the Prime Minister. The King appoints the proposed successor to the Prime Minister, who assumes office at the moment the new Federal Government takes the oath.
       
       Article 106
       
No act of the King can have effect unless it is countersigned by a Minister who, by doing so, assumes sole responsibility for it.
       

       (3) รธน.สวีเดน (ค.ศ.1998)
       
       Chapter 1
       Article 5. The King or Queen who occupies the throne of Sweden in accordance with the Act of Succession shall be the Head of State.
       
The provisions of this Instrument of Government which relate to the King shall apply to the Queen if the Queen is Head of State.
       
       Chapter 5
       Article 1. The head of State shall be kept informed by the Prime Minister concerning the affairs of the Realm. The Government shall convene in special Council under the presidency of the Head of State when so required.
       

       (4) รธน.นอร์เวย์ (ค.ศ.1814 แก้ไข 2004)
       
       Article 3
       The Executive Power is vested in the King, or in the Queen if she has succeeded to the Crown pursuant to the provisions of Article 6 or Article 7 or Article 48 of this Constitution. When the Executive Power is thus vested in the Queen, she has all the rights and obligations which, pursuant to this Constitution and the Law of the Land, are possessed by the King
       
       Article 12
       The King himself chooses a Council from among Norwegian citizens who are entitled to vote.This Council shall consist of a Prime Minister and at least seven (7) other Members.
       More than half (1/2) the number of the Members of the Council of State shall profess the official religion of the State.
       
       The King apportions the business among the Members of the Council of State, as he deems appropriate, Under extraordinary circumstances, besides the ordinary Members of the Council of State, the King may summon other Norwegian citizens, although no Members of the Storting, to take a seat in the Council of State.
       
       Husband and wife, parent and child or two siblings may never sit at the same time in the Council of State.
       
       Article 31
       All decisions drawn up by the King shall, in order to become valid, be countersigned. The decisions relating to military command are countersigned by the person who has presented the matter, while other decisions are countersigned by the Prime Minister or, if he has not been present, by the highest-ranking Member of the Council of State present.
       
       (5) รธน.เนเธอร์แลนด์ (ค.ศ.1987)
       
       Article 42
       1. The Government shall comprise the King and the Ministers.

       2. The Ministers, and not the King, shall be responsible for acts of government.
       
       Article 43
       The Prime Minister and the other Ministers shall be appointed and dismissed by Royal Decree.
       

       Article 47
       All Acts of Parliament and Royal Decrees shall be signed by the King and by one or more Ministers or State Secretaries.
       
       (6) รธน.ลักซัมเบอร์ก (ค.ศ.1868 แก้ไข 1998)
       
       Article 33
       (Revised as of 1/12/98) The Grand Duke is the Head of State, symbol of its unity and guarantor of the national independence. He exercises the executive power conforming to the Constitution and to the laws of the country.
       
       Article 76
       The Grand Duke regulates the organization of his Government
, which consists of a t lest three members.
       
       Article 77
       (Revised as of 6/13/89) [Abrogated] The Grand Duke appoints and dismisses the members of the Government.
       
       Article 78
       Members of the Government are responsible.
       
       ------------------- etc. --------------------
       
       

******************************
       
       

(ข) ตัวอย่าง รธน.เดนมาร์ก (แสดง “มาตราที่เกี่ยวข้อง – บางมาตรา)
       
       รัฐธรรมนูญของประเทศเดนมาร์ก (THE CONSTITUTION OF THE KINGDOM OF DENMARK ACT – ค.ส.1953)
       ------------------- etc. --------------------
       
       Part III.
       
       12. Subject to the limitations laid down in this Constitution Act the King shall have the supreme authority in all the affairs of the Realm, and he shall exercise such supreme authority through the Ministers.
       

       13. The King shall not be answerable for his actions; his person shall be sacrosanct. The Ministers shall be responsible for the conduct of the government; their responsibility shall be determined by Statute.
       
       14. The King shall appoint and dismiss the Prime Minister and the other Ministers. He shall decide upon the number of Ministers and upon the distribution of the duties of government among them. The signature of the King to resolutions relating to legislation and government shall make such resolutions valid, provided that the signature of the King is accompanied by the signature or signatures of one or more Ministers. A Minister who has signed a resolution shall be responsible for the resolution.
       
       15. (1) A Minister shall not remain in office after the Folketing has passed a vote of no confidence in him.
       (2) Where the Folketing passes a vote of no confidence in the Prime Minister, he shall ask for the dismissal of the Ministry unless writs are to be issued for a general election. Where a vote of censure has been passed on a Ministry, or it has asked for its dismissal, it shall continue in office until a new
       Ministry has been appointed. Ministers who continue in office as aforesaid shall do only what is necessary for the purpose of the uninterrupted conduct of official business.
       
       16. Ministers may be impeached by the King or the Folketing with maladministration of office. The High Court of the Realm shall try cases of impeachment brought against Ministers for maladministration of office.
       3/5
       17. (1) The body of Ministers shall form the Council of State, in which the Successor to the Throne shall have a seat when he is of age. The Council of State shall be presided over by the King except in the instance mentioned in
       section 8, and in the instances where the Legislature in pursuance of section 9 may have delegated the conduct of the government to the Council of State.
       (2) All Bills and important government measures shall be discussed in the Council of State.
       
       
18. If the King should be prevented from holding a Council of State he may entrust the Discussion of a matter to a Council of Ministers. Such Council of Ministers shall consist of all the Ministers, and it shall be presided over by the Prime Minister. The vote of each Minister shall be entered in a minute book, and any question shall be decided by a majority of votes. The Prime Minister shall submit the Minutes, signed by the Ministers present, to the King, who shall decide whether he will immediately consent to the recommendations of the Council of Ministers, or have the matter brought before him in a Council of State.
       
       ------------------- etc. --------------------
       
       21. The King may cause bills and other measures to be introduced in the Folketing.
       
       ------------------- etc. --------------------
       
       

********************
       
       

ส่วนที่ 3.2 ตัวอย่าง รธน.ของประเทศไทย เริ่มต้นตั้งแต่คณะราษฎร (พ.ศ. 2475) ปฏิเสธไม่ยอมรับบทบาทของพระมหากษัตริย์ ในการช่วยพัฒนาระบอบประชาธิปไตย
       
       พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475
       มาตรา 1
อำนาจสูงสุดของประเทศนั้น เป็นของราษฎรทั้งหลาย
       มาตรา 2 ให้มีบุคคลและคณะบุคคลดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ เป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรตามที่จะได้ กล่าวต่อไปในธรรมนูญ คือ
       1. กษัตริย์
       
2. สภาผู้แทนราษฎร
       3. คณะกรรมการราษฎร
       4. ศาล
       
       มาตรา 3 กษัตริย์เป็นประมุขสูงสุดของประเทศ พระราชบัญญัติก็ดี คำวินิจฉัยของศาลก็ดี การ อื่น ๆ ซึ่งจะมีบทกฎหมายระบุไว้โดยฉะเพาะก็ดี จะต้องกระทำในนามของกษัตริย์
       มาตรา 6
กษัตริย์จะถูกฟ้องร้องคดีอาชญายังโรงศาลไม่ได้ เป็นหน้าที่ของสภาผู้แทนราษฎรจะวินิจฉัย
       
มาตรา 7 การกระทำใด ๆ ของกษัตริย์ ต้องมีกรรมการราษฎรผู้หนึ่งผู้ใดลงนามด้วย โดยได้รับ ความยินยอมของคณะกรรมการราษฎรจึ่งจะใช้ได้ มิฉะนั้นเป็นโมฆะ
       
       ------------------------- ฯลฯ --------------------------
       
       มาตรา 28 คณะกรรมการราษฎร มีอำนาจและหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุที่ประสงค์ของสภา
       
มาตรา 31 ให้เสนาบดีกระทรวงต่าง ๆ เป็นผู้รับผิดชอบต่อคณะกรรมการราษฎรในกิจการทั้งปวง
       สิ่งใดซึ่งเป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่งหรือระเบียบการของคณะกรรมการราษฎร หรือกระทำไปโดยธรรมนูญไม่อนุญาตให้ทำได้ ให้ถือว่าการนั้นเป็นโมฆะ
       มาตรา 32 คณะกรรมการราษฎรประกอบด้วยประธานคณะกรรมการราษฎร 1 นาย และกรรมการ ราษฎร 14 นาย รวมเป็น 15 นาย
       มาตรา 35 การตั้งการถอดตำแหน่งเสนาบดี ย่อมเป็นพระราชอำนาจของกษัตริย์พระราชอำนาจจะ ทรงใช้แต่โดยตามคำแนะนำของคณะกรรมการราษฎร
       มาตรา 36 การเจรจาการเมืองกับต่างประเทศ เป็นหน้าที่ของกรรมการผู้แทนราษฎร และกรรมการ อาจตั้งผู้แทนเพื่อการนี้ได้
       การเจรจาได้ดำเนินไปประการใด ให้กรรมการรายงานกราบบังคมทูลกษัตริย์ ทรงทราบ
       
การให้สัตยาบันสัญญาทางพระราชไมตรี เป็นพระราชอำนาจของกษัตริย์ แต่จะ ทรงใช้พระราชอำนาจนี้ตามคำแนะนำของกรรมการราษฎร
       มาตรา 37 การประกาศสงคราม เป็นพระราชอำนาจของกษัตริย์ แต่จะทรงใช้พระราชอำนาจนี้ตามคำแนะนำของกรรมการราษฎร
       
       
------------------------- ฯลฯ --------------------------
       
       

*******************
       
       

****************************************
       
       

ส่วนที่ 3.3 พระราชหัตถเลขาของรัชกาลที่ 7 (ทรงสละราชสมบัติ)
       
       

บ้านโนล แครนลี ประเทศอังกฤษ
       
       

เมื่อพระยาพหลพลพยุหเสนากับพวกได้ทำการยึดอำนาจการปกครองโดยใช้กำลังทหารในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 แล้วได้มีหนังสือมาอัญเชิญข้าพเจ้าให้ดำรงอยู่ในตำแหน่งพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ ข้าพเจ้าได้รับคำเชิญนั้นเพราะเข้าใจว่าพระยาพหลฯ และพวกจะสถาปนารัฐธรรมนูญตามอย่างประเทศทั้งหลายซึ่งใช้การปกครองตามหลักนั้น เพื่อให้ประชาราษฎรมีสิทธิที่จะออกเสียงในวิธีดำเนินการปกครองประเทศและนโยบายต่าง ๆ อันจะเป็นผลได้เสียแก่ประชาชนทั่วไป ข้าพเจ้ามีความเลื่อมใสในวิธีการเช่นนั้นอยู่แล้ว และกำลังดำริจะจัดการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศสยามให้เป็นไปตามรูปนั้น โดยมิให้มีการกระทบกระเทือนอันร้ายแรง เมื่อมามีเหตุรุนแรงขึ้นเสียแล้ว และเมื่อผู้ก่อการรุนแรงนั้นอ้างว่ามีความประสงค์จะสถาปนารัฐธรรมนูญขึ้นเท่านั้น ก็เป็นอันไม่ผิดกับหลักการที่ข้าพเจ้ามีความประสงค์อยู่เหมือนกัน ข้าพเจ้าจึงเห็นควรโน้มตามความประสงค์ของผู้ก่อการยึดอำนาจนั้นได้ เพื่อหวังความสงบราบคาบในประเทศ ข้าพเจ้าได้พยายามช่วยเหลือในการที่จะรักษาความสงบราบคาบเพื่อให้การเปลี่ยนแปลงอันสำคัญนั้นเป็นไปโดยราบรื่นที่สุดที่จะเป็นไปได้ แต่ความพยายามของข้าพเจ้าไร้ผลโดยเหตุที่ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองหาได้กระทำให้บังเกิดมีความเสรีภาพในการเมืองอย่างบริบูรณขึ้นไม่ และมิได้ฟังความคิดเห็นของราษฎรโดยแท้จริง และจากรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับ จะพึงเห็นได้ว่าอำนาจที่จะดำเนินนโยบายต่าง ๆ นั้น จะตกอยู่แก่คณะก่อการและผู้ที่สนับสนุนเป็นพวกพ้องเท่านั้น มิได้ตกอยู่แก่ผู้แทนซึ่งราษฎรเป็นผู้เลือก เช่น ในฉบับชั่วคราวแสดงให้เห็นว่าถ้าผู้ใดไม่ได้รับความเห็นชอบของผู้ก่อการจะไม่ให้เป็นผู้แทนราษฎรเลย ฉบับถาวรได้มีการเปลี่ยนแปลงให้ดีขึ้นตามคำร้องขอของข้าพเจ้า แต่ก็ยังให้มีสมาชิกซึ่งตนเลือกเองเข้ากำกับอยู่ในสภาผู้แทนราษฎรครึ่ง 1 การที่ข้าพเจ้ายินยอมให้มีสมาชิก 2 ประเภทก็โดยหวังว่าสมาชิกประเภทที่ 2 ซึ่งข้าพเจ้าตั้งนั้น จะเลือกจากบุคคลที่รอบรู้การงานและชำนาญในวิธีดำเนินการปกครองประเทศโดยทั่ว ๆ ไป ไม่จำกัดว่าเป็นพวกใด คณะใด เพื่อจะได้ช่วยเหลือนำทางให้แก่สมาชิกซึ่งราษฎรเลือกตั้งขึ้นมา แต่ครั้นเมื่อถึงเวลาที่จะตั้งสมาชิกประเภทที่ 2 ขึ้น ข้าพเจ้าหาได้มีโอกาสแนะนำในการเลือกเลย และคณะรัฐบาลก็เลือกเอาแต่เฉพาะผู้ที่เป็นพวกของตนเกือบทั้งนั้น มิได้คำนึงถึงความชำนาญ .....................................................
       ……………………………………………………………………………………………………ฯลฯ
       ……………………………………………………………………………………….......................................................................................................................................................ฯลฯ)
       ข้าพเจ้าเห็นว่าคณะรัฐบาลและพวกพ้อง ใช้วิธีการปกครองซึ่งไม่ถูกต้องตามหลักการของเสรีภาพในตัวบุคคล และหลักความยุติธรรมตามความเข้าใจและยึดถือของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าไม่สามารถที่จะยินยอมให้ผู้ใดคณะใดใช้วิธีการปกครองอย่างนั้นในนามของข้าพเจ้าต่อไปได้
       
ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่บุคคลใดคณะใดโดยเฉพาะ เพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาดและโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของประชาราษฎร
       บัดนี้ข้าพเจ้าเห็นว่าความประสงค์ของข้าพเจ้าที่จะให้ราษฎรมีสิทธิออกเสียงใน
       นโยบายของประเทศโดยแท้จริงไม่เป็นผลสำเร็จ และเมื่อข้าพเจ้ารู้สึกว่าบัดนี้เป็นอันหมดหนทางที่ข้าพเจ้าจะช่วยเหลือหรือให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนได้ต่อไปแล้ว ข้าพเจ้าจึงขอสละราชสมบัติและออกจากตำแหน่งพระมหากษัตริย์แต่บัดนี้เป็นต้นไป ข้าพเจ้าขอสละสิทธิของข้าพเจ้าทั้งปวงซึ่งเป็นของข้าพเจ้าอยู่ในฐานะที่เป็นพระมหากษัตริย์ แต่ข้าพเจ้าสงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งปวงอันเป็นของข้าพเจ้าแต่เดิมมา ก่อนที่ข้าพเจ้าได้รับราชสมบัติสืบสันตติวงศ์
       ……………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..……ฯลฯ
       ข้าพเจ้ามีความเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ไม่สามารถจะยังประโยชน์ให้แก่ประชาชนและประเทศชาติของข้าพเจ้าต่อไปได้ตามความตั้งใจและความหวังซึ่งรับสืบต่อกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ยังได้แต่ตั้งสัตยอธิษฐานขอให้ประเทศสยามจงได้ประสบความเจริญ และขอประชาชนชาวสยามจงได้มีความสุขสบาย
       
       

ประชาธิปก ปร.
       
       

วันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2477
       



 
 
หลักความเสมอภาค
องค์กรอิสระ : ความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมืองและการปฏิรูประบบราชการ โดย คุณนพดล เฮงเจริญ
ปัญหาของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในประเทศไทย
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : ผลในทางปฏิบัติ เมื่อครบรอบหกปีของการปฏิรูปการเมือง
หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
   
 
 
 
PAYS DE BREST : COOPERER VOLONTAIREMENT AU SERVICE DU TERRITOIRE
La violence internationale : un changement de paradigme
การลงทะเบียนเพื่อรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย: มิติด้านกฎหมายและเทคโนโลยี
Tensions dans le cyber espace humanitaire au sujet des logos et des embl?mes
คุณูปการของศาสตราจารย์พิเศษ ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ต่อการพัฒนากฎหมายปกครองและกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง : งานที่ได้ดำเนินการไว้ให้แล้วและงานที่ยังรอการสานต่อ
การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม
ยาแก้โรคคอร์รัปชันยุคใหม่
สหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ คืออะไร
มองอินโด มองไทย ในเรื่องการกระจายอำนาจ
การฟ้องปิดปาก
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544