ฤาว่าโลกเรานี้แบน โดย คุณชำนาญ จันทร์เรือง |
|
|
|
คุณชำนาญ จันทร์เรือง นักวิชาการอิสระ |
|
|
|
|
|
|
|
|
ผมได้มีโอกาสอ่านหนังสือหนาปึกเกือบหกร้อยหน้าชื่อ THE World is FLATโดย Thomas L. Friedman ที่พรรคพวกซื้อมาฝาก เพียงครั้งแรกที่เห็นชื่อเรื่องไม่นับรวมสติ๊กเกอร์ที่บ่งบอกว่าเป็นหนังสือขายดีอันดับหนึ่งแล้ว ก็ให้เป็นฉงนในชื่อเรื่องที่แปลเป็นไทยว่า โลกแบน และได้มีโอกาสอ่านสรุปสาระสำคัญของหนังสือเล่มนี้ที่สภาพัฒน์ฯได้สรุปไว้ทำให้ทราบว่า
ในปี ค.ศ. 1492 เมื่อ Christopher Columbus เดินเรือเพื่อหาเส้นทางไปอินเดีย แต่ด้วยความผิดพลาดโดยบังเอิญไปพบทวีปอเมริกาเข้า จากเหตุการณ์ดังกล่าวจึงเป็นที่มาของความเชื่อว่าโลกเรานี้กลมแทนความเชื่อว่าโลกเรานี้แบนมาเดิม
ในปัจจุบันยุคของโลกาภิวัฒน์ อินเดียกลับกลายเป็นศูนย์กลางของ Business Process Outsourcing (BPO) ให้บริการต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการรับเขียน Software กรอกแบบภาษี วิเคราะห์ผล X-ray ติดตามกระเป๋ า เดินทางที่สูญหายให้แก่สายการบิน โดยให้บริการแก่บริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกผ่านทาง Internet ส่วนประเทศจีนมีแรงงาน ที่สามารถพูดภาษาญี่ปุ่นหลายพันคนกําลังให้บริการ BPO แก่บริษัทต่าง ๆ ของประเทศญี่ปุ่น ประสบการณ์เหล่านี้เปรียบเสมือนว่าปัจจุบันเราอยู่ในโลกที่แบน และผลที่เกิดขึ้นก็คือการเผชิญหน้ากันในสนามการแข่งขันภายใต้สภาพแวดล้อมเดียวกัน (level playing field)
กระแสโลกาภิวัฒน์ที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์มี 3 ช่วง ได้ แก่
(1) Globalization-1.0 เริ่มจาก ค.ศ. 1492 กลไกการเปลี่ยนแปลงคือประเทศตะวันตก เช่น สเปนและอังกฤษ เป็นต้น ที่เดินทางแสวงหาอาณานิคม ทําให้โลกเสมือนลดขนาดลงจากขนาดใหญ่ เป็นขนาดกลาง
(2) Globalization-2.0 เริ่มจาก ค.ศ. 1800 โดยกลไกคือบริษัทข้ามชาติที่แสวงหาตลาดและแรงงานในโลกตะวันออก ทําให้โลกเสมือนลดจากขนาดกลางเป็นขนาดเล็ก
(3) Globalization-3.0 เริ่มจาก ค.ศ. 2000 ที่เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้โลกเสมือนลดจากขนาดเล็กเป็นขนาดจิ๋ว โดยกลไกคือคนทุกคนและทุกกลุ่มที่สามารถเข้าถึงเทคโนโลยี (plug and play) และร่วมในกระแสโลกาภิวัฒน์นี้ได้โดยไม่จํากัดเฉพาะชาวตะวันตกอีกต่อไป
ในหนังสือนี้ผู้เขียนได้กล่าวถึงเหตุการณ์สําคัญ ที่ทําให้โลกแบน ได้แก่
(1) 11/9/89 The wall came down and Windows came up. วันที่ 9 พฤศจิกายน ค.ศ. 1989 (11/9) กําแพงเบอร์ลินถูกทําลาย ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ ของการเริ่มโลกไร้พรมแดน และหลังจากนั้นอีก 5 เดือน โปรแกรมWindows 3.0 เริ่มวางตลาด
(2) 8/9/95 People to people connectivity วันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 1995 บริษัท Netscape เข้าเป็นบริษัทมหาชน ซึ่งทําให้เกิดสิ่งสําคัญ 3 เรื่องคือ 1) มี browser ที่ทําให้การใช้ Internet เกิดเป็นที่นิยมทั่วโลก 2) ทําให้มีมาตรฐานที่การติดต่อสื่ อสารและเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ เกิดขึ้นได้ 3) เกิดกระแส Dot-Com boom จนเกิดการลงทุนในการวางสาย Fiber Optic มูลค่าประมาณ 1 ล้านล้านเหรียญ ซึ่งทําให้เกิด การสื่อสารได้ทั่วโลกโดยต้นทุนการส่งเอกสาร เพลง หรือข้อมูลลดลงอย่างมหาศาล
(3) Work Flow Software (Application to application connectivity) การที่มีมาตรฐานและการเชื่อมโยงให้เกิดการสื่อสารกันได้ระหว่างผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ต่างกันและโปรแกรมต่างกันได้ ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกระบวนการทํางาน (work flow) อย่างมาก การแบ่งปันความรู้และการร่วมงานกันเกิดขึ้นระหว่างคนที่อยู่ต่าง สถานที่ ต่างเวลา อย่างไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์
(4) Open-sourcing เช่นการเปิดให้ใช้โปรแกรม Linux ฟรีแก่คนทั่วไป ทําให้เกิดรูปแบบใหม่ของการสร้างสรรค์(new industrial model of creation) และการร่วมทํางานกัน
(5) Outsourcing เป็นรูปแบบใหม่ของการร่วมกันในกระบวนการทํางาน โดยกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัท สามารถ แยกออกไปทํานอกบริษัทในที่อื่นได้
(6) Offshoring การที่จีนเข้าร่วม WTO กระตุ้นการย้ายฐานการผลิตหรือแยกกิจกรรมต่าง ๆ ของบริษัทไป ต่างประเทศ (offshoring) ที่มีต้นทุนถูกกว่ามากขึ้น
(7) Supply Chaining การบริหารห่วงโซ่อุปทานในปัจจุบันทําได้อย่างมีประสิทธิภาพมาก บริษัท Wal-Mart ซื้อของจากประเทศจีนเป็นมูลค่าอันดับที่ 8 เมื่อเทียบกับประเทศคู่ ค้าของจีน (มากกว่าการส่งออกของจีนไป คานาดา หรือ ออสเตรเลีย)
(8) Insourcing คือการที่บริษัทเข้าไปทํางานต่าง ๆ ในบริษัทอื่น เช่น UPS ซึ่งขณะนี้รับทํางาน logistics ให้กับหลายบริษัท การดูแลและให้บริการแก่ลูกค้าซ่อมเครื่องคอมพิวเตอร์ของ Toshiba หรือการให้บริการลูกค้า สั่งซื้อรองเท้าทาง nike.com นั้นจะดําเนินการโดย UPS ตั้งแต่การตอบโทรศัพท์ ซ่อมของ ห่อของ ส่งของ จนถึงการเก็บเงิน
(9) In-forming เราสามารถหาข้อมูลให้ตัวเองได้อย่างง่ายดายจาก Internet และ search engine เช่น Google
(10) The Steroids Wireless and Voice over the Internet เป็นเครื่องมือที่เหมือนยาชูกําลังที่จะทําให้การร่วมงาน ในรูปแบบต่างๆ ทําได้โดยมีประสิทธิภาพมาก เนื่องจากเราจะสามารถเชื่อมต่อกับใครก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ด้วย เครื่องมือที่หลากหลาย
ทั้ง 10 เรื่องนี้เป็นปัจจัยที่ทําให้โลกแบนขึ้นและเรียกปัจจัยเหล่านี้ว่า flatteners โดย flatteners ทั้ง 10 ประการได้มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เช่น informing มี ผลต่อ outsourcing; outsourcing มีผลต่อ insourcing; insourcing มีผลต่อ offshoring เป็นต้น ซึ่งเป็นกระบวนการร่วมและแลกเปลี่ยนงานและความรู้กันทั่วโลกโดยไม่ขึ้นกับความแตกต่างระหว่าง เวลา ระยะทาง หรือแม้กระทั่งภาษา
หนังสือเล่มนี้ได้ยกตัวตัวอย่างว่า ในยุค globalization 1.0 การซื้อบัตรโดยสารเครื่องบินจะต้องซื้อผ่านบริษัทจําหน่ายบัตรโดยสาร ซึ่งให้บริการลูกค้า พอถึงยุค globalization 2.0 เริ่มมีเครื่องขายตั๋วอัตโนมัติ ที่สนามบินที่ลูกค้าสามารถซื้อได้ด้วยตนเอง ส่วนยุค globalization 3.0 ลูกค้าสามารถซื้อผ่าน internet และสั่งพิมพ์ บัตรโดยสารเองที่บ้านและนําไปขึ้นเครื่องบินได้เลย นั่นคือ ลูกค้าได้ ปรับเปลี่ยนพฤติ กรรมเป็นแนวราบ โดยทํางานแทนพนักงานของบริษัทได้ด้วยตนเอง
จากเนื้อหาที่กล่าวมาโดยย่อนี้ทำให้เราที่ถึงแม้ว่าจะอยู่ในโลกที่โดยสภาพภูมิศาสตร์ที่เป็นสัณฐานกลม แต่การติดต่อเชื่อมโยง ค้าขาย ฯลฯ ทำได้ทั่วถึงกันไม่ว่าจะอยู่จุดใดของโลก ฉะนั้น คำกล่าวที่ว่า The World is Flat หรือโลกเรานี้แบน(ราบ) เหมือนความเชื่อในสมัยโบราณคงไม่ผิดไปจากความเป็นจริงเลย
-----------------------------------
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|