หน้าแรก บทความสาระ
ประเทศไทยควรมีกติกาการทำโพลหรือยัง โดย ศ.ดร. นันทวัฒน์ บรมานันท์
ศ.ดร. นันทวัฒน์ บรมานันท์
6 มกราคม 2548 17:09 น.
 

       
            
       ช่วงก่อนวันเลือกตั้งและแม้กระทั่งในวันเลือกตั้งเอง เราจะเห็นได้ว่ามี การสำรวจความเห็นสาธารณะ หรือการทำโพล (Poll) โดยสำนักต่างๆ หลายสำนัก บางคนอาจเห็นว่าโพลเหล่านั้นเป็นการชี้นำ เพราะมีผลสนับสนุนการ ตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งทั้งตัวบุคคลและพรรคการเมือง บางคนอาจเห็นว่าโพลไม่มีประโยชน์ หรือไม่สามารถชี้นำการตัดสินใจของประชาชนได้ แต่บางคนก็อาจไปไกลถึงขนาด "กล่าวหา" ว่า พรรคการเมืองบางพรรคเป็น "ตัวตั้งตัวตี" ในการทำโพลเพื่อ "สร้างกระแส" ให้กับพรรคการเมืองของตน หรือเพื่อดึงความสนใจของประชาชนให้มาที่พรรคการเมืองหรือนักการเมืองนั้นๆ

                   
       ไม่ว่าโพลจะมี "สถานะ" อย่างไร สามารถชี้นำ ประชาชนหรือสร้างกระแสศรัทธาทางการเมืองให้กับประชาชนได้หรือไม่ โพลก็อยู่คู่กับสังคมไทยมาเป็นเวลานานพอสมควร โดยมีทั้งผู้เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการทำโพล
       ออกมาวิพากษ์เป็นระยะๆ

                   
       ในประเทศไทยยังไม ่มีกฎหมายใดที่เกี่ยวข้องกับการทำโพล แต่อย่างใดก็ตาม ล่าสุดก่อนที่มีการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 มกราคม 2544 ที่ผ่านมา คณะกรรมการการเลือกตั้งก็ได้ตั้งกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการประกาศผล exit poll ออกมา ซึ่งอย่างน้อยก็แสดงให้เห็นว่า การทำโพลโดยเสรีนั้นอาจส่งผลกระทบให้การเลือกตั้งได้ไม่มากก็น้อย

                   
       ในต่างประเทศมีการทำโพล และมีการออกกฎหมายมาวางหลักเกณฑ์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับการทำโพลเพื่อให้ผลการทำโพลนั้นออกมาเป็นกลางมากที่สุด บทความนี้เขียนขึ้นเพียงเพื่อต้องการให้ผู้อ่านและประชาชนทั่วไปเห็นภาพของกระบวนการสำรวจความเห็นสาธารณะหรือการทำโพลในต่างประเทศว่าเป็นอย่างไร โดยจะขอนำเสนอกฎหมายเกี่ยวกับการสำรวจความเห็นสาธารณะของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งเป็นประเทศถือกันว่าที่มีความ
       เป็นประชาธิปไตยมากที่สุดประเทศหนึ่งในโลก

                   
       ในปี ค.ศ. 1977 (พ.ศ. 2520) รัฐสภาฝรั่งเศส ได้ออกกฎหมายฉบับหนึ่งเกี่ยวกับการจัดพิมพ์ และการเผยแพร่ผลการสำรวจความเห็นสาธารณะกฎหมายดังกล่าวมีเนื้อหาสาระที่สำคัญพอสรุปได้ดังนี้ คือ

                   
       1. ขอบเขตของกฎหมาย กฎหมายฉบับนี้จะใช้เฉพาะแต่กับการจัดพิมพ์และการเผยแพร่ผลการสำรวจความเห็นสาธารณะเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติ การเลือกตั้งประธานาธิบดี การเลือกตั้งสมาชิก รัฐสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่นและการเลือกตั้งตัวแทนสภายุโรปเท่านั้น

                   
       2. คณะกรรมการ กฎหมายฉบับนี้กำหนดให้มีคณะกรรมการ ขึ้นมาคณะหนึ่งเพื่อดูแลเรื่องการสำรวจความเห็นสาธารณะโดยเฉพาะ คณะกรรมการนี้มีชื่อว่า คณะกรรมการพิจารณาผลการสำรวจความเห็นสาธารณะ (la commission des sondages) ประกอบด้วยกรรมการจำนวน 9 คน ซึ่ง
       แต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี

                   
       กรรมการทั้ง 9 คนมาจากสภาแห่งรัฐ (concil of state : คณะกรรมการกฤษฎีกา) ศาลฎีกา (cour de cassation) และศาลบัญชี (cour des co mptes) ในจำนวนเท่าๆ กัน คือ ที่ละ 3 คน โดยการคัดเลือกภายในองค์กรและเสนอชื่อไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจาณาแต่งตั้ง คณะกรรมการมี วาระการดำรงตำแหน่ง 3 ปี
       คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังนี้ คือ

                   
       ก. ศึกษาและเสนอร่างของกฎหรือข้อบังคับต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการสำรวจความเห็นสาธารณะ เพื่อให้การจัดพิมพ์และเผยแพร่ผลการสำรวจความเห็นสาธารณะเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายนี้ ร่างกฎหรือข้อบังคับต่างๆ จ ะต้องเสนอให้สภาแห่งรัฐดำเนินการออกเป็น "รัฐกฤษฎีกา" ต่อไป

                   
       ข. กำหนดข้อความที่จะต้องหรือห้ามแสดงไว้ในผลการสำรวจความเห็นสาธารณะโดยต้องประกาศข้อความดังกล่าวไว้ในราชกิจจานุเบกษาด้วย

                   
       ค . กำกับดูแลให้บุคคลหรือองค์กรที่ทำการสำรวจความเห็นสาธารณะ ร่วมมือกันในรูปแบบต่างๆ หรือขัดขวางการทำการสำรวจความเห็นสาธารณะของบุคคลหรือองค์การอื่น

                   
       3. หลักเกณฑ์ทั่วในการสำรวจความเห็นสาธารณะ กฎหมายได้กำหนดถึงหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการทำการสำรวจความเห็นสาธารณะ ไว้ดังนี้

                   
       ก. เนื้อหา ในการทำการสำรวจความเห็นสาธารณะเกี่ยวกับการออกเสียงประชามติเลือกตั้งประธานาธิบดี การเ ลือกตั้งสมาชิกสภา สมาชิกสภาท้องถิ่น ผู้บริหารท้องถิ่น และการเลือกตั้งตัวแทนสภายุโรปตามกฎหมายนี้ ผู้จัดทำหรือเผยแพร่การสำรวจความเห็นสาธารณะตามกฎหมายนี้ จะต้องแจ้งสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไปพร้อมกับผลการ สำรวจที่ตีพิมพ์หรือเผยแพร่ คือ

                   
       - ชื่อขององค์กร หรือบุคคลที่ทำการสำรวจ

                   
       - ชื่อของผู้ให้ทำการสำรวจ

                   
       - จำนวนประชาชนที่ทำการสำรวจ

                   
       - วันที่ทำการสำรวจ

                   
       ข. การแจ้งคณะกรรมการ ความสัมพันธ์ระหว่างคณะกรรมการ กับองค์กรหรือบุคคลผู้ทำการสำรวจความเห็นสาธารณะมีดังนี้

                   
       (1) ในการสำรวจความเห็นสาธารณะตามกฎหมายนี้ ผู้ทำการสำรวจ ความเห็นสาธารณะจะต้องแจ้งการสำรวจความเห็นสาธารณะไป ยังคณะกรรมการว่าประสงค์จะทำการสำรวจความเห็นสาธารณะในกรณีใด หากไม่ดำเนินการแจ้งก็จะไม่สามารถดำเนินการจัดทำหรือตีพิมพ์เผยแพร่ความเห็นสาธารณะดังกล่าวได้

                   
       (2) องค์กรหรือบุคคลผู้ทำการสำรวจความเห็นส าธารณะจะต้องแจ้งข้อมูลต่างๆ ต่อไปนี้ต่อคณะกรรมการพิจารณาผลการสำรวจความเห็นสาธารณะ คือ

                   
       - วัตถุประสงค์ของการสำรวจความเห็นสาธารณะ

                   
       - หลักเกณฑ์และวิธีการในการเลือกตัวบุคคลเพื่อทำการสำรวจ

                   
       - วิธีการถามคำถาม

                   
       - จำนวนบุคคลที่ไม่ตอบคำถามแต่ละคำถาม

                   
       - วิธีการเผยแพร่ผลการสำรวจความเห็นสาธารณะ

                   
       คณะกรรมการมีอำนาจที่จะกำหนดให้องค์กรหรือบุคคลที่ทำการสำรวจความเห็นสาธารณะพิมพ์หรือเผยแพร่สิ่งใดสิ่งหนึ่งดังกล่าวมาแล้วข้างต้นเผยแพร่ไปพร้อมกับผลการสำรวจความเห็นสาธารณะได้

                   
       (3) องค์กรหรือบุคคลผู้ทำการสำรวจความเห็นสาธารณะจะต้องให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการด้วยการให้ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจ ความเห็นสาธารณะตามที่คณะกรรมการร้องขอต่อคณะกรรมการ

                   
       (4) คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบว่าการสำรวจความเห็นสาธารณะได้ทำตามกฎหมายและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนดหรือไม่

                   
       (5) องค์กรผู้ทำหน้าที่เผยแพร่ผลการสำรวจความเห็นสาธารณะ ได้ทำการเผยแพร่ผลการสำรวจความเห็นสาธารณะที่ไม่ได้ดำเนินการตามกฎหมายหรือระเบียบของคณะกรรมการ จะต้องทำการเผยแพร่คำสั่งของคณะกรรมการที่มีผลต่อการสำรวจความเห็นสาธารณะนั้นตามคำขอของคณะกรรมการ

                   
       (6) คำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาผลการสำรวจความเห็นสาธารณะ อาจถูกตรวจสอบได้โดยศาลปกครอง

                   
       ค. การห้ามการเผยแพร่ผลการสำรวจความเห็นสาธารณะ กฎหมาย ฉบับนี้ได้ห้ามเผยแพร่ผลการสำรวจความเห็นสาธารณะในช่วง 1 สัปดาห์ ก่อนการเลือกตั้งและในวันเลือกตั้ง โดยห้ามพิมพ์ เผยแพร่หรือแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับผลการสำรวจความเห็นสาธารณะ

                   
       ง. บทกำหนดโทษ มีบทลงโทษผู่ไม่ทำตามกฎหมายฉบับนี้ในหลายกรณี เช่น ผู้ที่จัดพิมพ์หรือเผยแพร่ผลการสำรวจความเห็นสาธารณะ โดยมิได้ทำตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ไม่มีการแจ้งชื่อขององค์กรหรือบุคคลที่ทำการสำรวจ ชื่อของผู้ให้ทำการสำรวจ จำนวนประชาชนที่ทำการสำรวจ วันที่ทำการสำรวจ หรือบทลงโทษผู้ที่ตีพิมพ์หรือโฆษณาผล การสำรวจความเห็นสาธารณะที่ทำขึ้นอย่างเป็นเท็จ หรือบทลงโทษผู้ที่ไม่ยอมเผยแพร่คำสั่ง ของคณะกรรมการเกี่ยวกับการชี้แจงข้อเท็จจริงของผลการสำรวจความเห็นสาธารณะรายหนึ่งรายใด เป็นต้น และนอกจากนี้เมื่อศาลสั่งลงโทษผู้กระทำผิดตามกฎหมายฉบับนี้ยังมีการกำหนดให้ต้องตีพิมพ์ หรือเผยแพร่คำพิพากษาศาลกรณีดังกล่าวด้วยวิธีการเดียวกับที่ได้มีการตีพิมพ์ หรือเผยแพร่ผล
       การสำรวจความเห็นสาธารณะที่ถูกตัดสินว่าทำผิดกฎหมายฉบับนี้ไปแล้ว

                   
       เมื่อพิจารณาจากกฎหมายสั้นๆ ฉบับดังกล่าว (14 มาตรา) แล้ว ที่มี อายุ 23 ปีเศษ จะเห็นได้ว่าเป็นกฎหมายที่มีขึ้นเพื่อ "วางเกณฑ์" ของการสำรวจความเห็นสาธารณะ "ทางการเมือง" ให้สอดคล้องกันและให้มีราย ละเอียด ข้อมูล และขั้นตอนในการดำเนินการที่เป็นไปในทำนอง เดียวกัน ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนที่ "อาศัย" ผลการสำรวจความเห็นสาธารณะเพื่อประกอบการตัดสินใจที่เกี่ยวข้องกับการเมือง ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและ ตรงตามความจริงมากที่สุดเพื่อประกอบการตัดสินใจ

                   
       ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2544 สมควรมี "กรอบ" หรือ "กติกา" ที่เป็นทางการ สำหรับการสำรวจความเห็นสาธารณะหรือการทำโพลหรือยัง ผู้อ่านหรือผู้ที่มีส่วน "ได้" และ "เสีย" กับการทำโพลที่ผ่านๆ มา คงได ้คำ
       ตอบได้ดีกว่าผู้เขียนเป็นแน่


       



       ตีพิมพ์ครั้งแรกในหนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน ฉบับวันอังคารที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2544

       ลงเผยแพร่ครั้งแรกใน Public Law Net วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2544


       




 
 
หลักความเสมอภาค
องค์กรอิสระ : ความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมืองและการปฏิรูประบบราชการ โดย คุณนพดล เฮงเจริญ
ปัญหาของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในประเทศไทย
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : ผลในทางปฏิบัติ เมื่อครบรอบหกปีของการปฏิรูปการเมือง
หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
   
 
 
 
PAYS DE BREST : COOPERER VOLONTAIREMENT AU SERVICE DU TERRITOIRE
La violence internationale : un changement de paradigme
การลงทะเบียนเพื่อรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย: มิติด้านกฎหมายและเทคโนโลยี
Tensions dans le cyber espace humanitaire au sujet des logos et des embl?mes
คุณูปการของศาสตราจารย์พิเศษ ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ต่อการพัฒนากฎหมายปกครองและกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง : งานที่ได้ดำเนินการไว้ให้แล้วและงานที่ยังรอการสานต่อ
การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม
ยาแก้โรคคอร์รัปชันยุคใหม่
สหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ คืออะไร
มองอินโด มองไทย ในเรื่องการกระจายอำนาจ
การฟ้องปิดปาก
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544