[๑]สำหรับบทวิเคราะห์หลัก ไม่มีกฎหมาย ไม่มีอำนาจ โปรดดู วรเจตน์ ภาคีรัตน์, กฎหมายปกครอง ภาคทั่วไป (พิมพ์ครั้งที่หนึ่ง : กรุงเทพฯ : นิติราษฎร์ ๒๕๕๔), หน้า ๕๐-๕๕. และแง่มุมในเชิงกฎหมายเปรียบเทียบ โปรดดู ปิยบุตร แสงกนกกุล, กฎหมายปกครองของประเทศในยุโรป, (กรุงเทพฯ : โครงการตำรา และเอกสารประกอบการสอน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ๒๕๕๖), หน้า ๑๐๓-๑๐๖.
[๒]MAUGER (F.), Les pouvoirs implicites en droit administratif français, Thèse de doctorat en droit public, Université de Paris II, 2013. และสำหรับตัวอย่างในระบบกฎหมายไทย โปรดดู ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๘) เรื่องเสร็จที่ ๑๕๕/๒๕๕๗ : การที่พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. ๒๕๔๗ มาตรา ๖ กำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการรักษาการตามพระราชบัญญัตินี้ มีความมุ่งหมายเพื่อให้รัฐมนตรีทำหน้าที่ดูแลสั่งการและควบคุมการปฏิบัติการในเรื่องต่าง ๆ ให้ถูกต้องและสอดคล้องกับบทบัญญัติของกฎหมาย ซึ่งหน้าที่ดังกล่าวแม้มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายโดยตรง แต่ก็จัดเป็น
หน้าที่โดยปริยาย ของรัฐมนตรีผู้รักษาการตามกฎหมาย ดังนั้น กรณีที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเห็นว่าการเสนอชื่อบุคคลเพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นอธิการบดีและนายกสภามหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏแห่งหนึ่ง ยังมีข้อบกพร่องและไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด รัฐมนตรีย่อมมีอำนาจสั่งการให้สภามหาวิทยาลัยพิจารณาทบทวนการเสนอชื่อบุคคลดังกล่าวได้
[๓]เช่น ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (ที่ประชุมใหญ่กรรมการร่างกฎหมาย) เรื่องเสร็จที่ ๒๗๓/๒๕๓๙ : แม้ว่ามาตรา ๑๕ ตรี วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ พ.ศ. ๒๕๒๑ จะ กำหนดให้รองประธาน ก.อ. ทำหน้าที่ประธาน ก.อ. ได้ทุกเรื่องในระหว่างที่ประธาน ก.อ.
พ้นจากตำแหน่งเท่านั้น แต่กรณีที่ประธาน ก.อ.
ป่วยหนักจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ เป็นกรณีที่ใกล้เคียงกับกรณีที่ไม่มีประธาน ก.อ. จึงควรมีสภาพทางกฎหมายทำนองเดียวกัน โดยพิจารณาจากกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ที่กำหนดเรื่องการรักษาราชการแทนมาอุดช่องว่าง โดยถือว่ารองประธาน ก.อ. ปฏิบัติหน้าที่แทนประธาน ก.อ. มีอำนาจลงนามในคำสั่งลงโทษทางวินัยได้ในกรณีที่ประธาน ก.อ. ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้
[๔]คณะกรรมการกฤษฎีกาก็เคยอ้างถึงหลักที่คล้ายคลึงกัน คือ หลักที่ว่า
ผู้มีสิทธิก่อตั้งมีสิทธิยกเลิก (
cujus est instituere, ejus est abrogare) เช่น กรณีที่กฎหมายจัดตั้งมหาวิทยาลัยบัญญัติให้การแต่งตั้งอธิการบดีจะต้องดำเนินการกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง หากสภามหาวิทยาลัยมีมติถอดถอนอธิการบดี ก็ต้องดำเนินการกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พิจารณาถอดถอนเช่นเดียวกัน แม้ว่ากฎหมายจะมิได้บัญญัติไว้ชัดเจนก็ตาม (ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๒) เรื่องเสร็จที่ ๑๐๕๓/๒๕๕๕)
[๕]C.E., 5 mars 1948, Marion, R. p. 113.
[๖]มาตรา ๑๙ ถ้าปรากฏภายหลังว่าเจ้าหน้าที่หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองใดขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามหรือการแต่งตั้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นเหตุให้ผู้นั้นต้องพ้นจากตำแหน่งการพ้นจากตำแหน่งเช่นว่านี้ไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่
[๗]ความเห็นคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่องเสร็จที่ ๔๗๑/๒๕๔๘ (โดยนัย) : กรณีบุคคลที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง
ผู้ช่วยเลขาธิการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ซึ่งไม่มีกฎหมาย หรือระเบียบใดกำหนดตำแหน่งดังกล่าวไว้ คำสั่งต่าง ๆ ที่ทำขึ้นในระหว่างดำรงตำแหน่งย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
[๘]คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ ฟ.๕/๒๕๔๙ : กรณีของนาย อ. ซึ่งเป็นกรรมการในนิติบุคคลที่มีประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการของ กฟผ. ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท กฟผ. จำกัด (มหาชน) เป็นกรณีของผู้มีลักษณะต้องห้ามที่เป็นปฏิปักษ์ต่อการปฏิบัติหน้าที่ ในคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัท อันเป็นการขัดต่อความเป็นกลาง ซึ่งผู้มีอำนาจออกคำสั่งแต่งตั้งได้รู้หรือควรรู้ถึงลักษณะต้องห้ามดังกล่าวแล้ว คำสั่งแต่งตั้งนาย อ. จึงขัดต่อกฎหมายและถือได้ว่าเป็นเหตุอันมีสภาพร้ายแรง และไม่อาจนำหลักการพ้นจากตำแหน่งไม่กระทบกระเทือนถึงการใดที่ผู้นั้นได้ปฏิบัติไปตามอำนาจหน้าที่เพราะเหตุขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา ๑๙ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ และตามหลักกฎหมายทั่วไปมาใช้กับกรณีนี้ได้ จึงมีผลทำให้การกระทำใด ๆ ของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทเสียไปทั้งหมดหรือไม่มีผลทางกฎหมาย
[๙]ปัจจุบันการมอบอำนาจเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในมาตรา ๓๘ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ ๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการมอบอำนาจ พ.ศ. ๒๕๕๐
[๑๐]ซึ่งหลักดังกล่าวมีผลสำคัญในทางกฎหมาย เช่น ในการชี้ตัวเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจพิจารณาทางปกครองตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง สำหรับรายละเอียด โปรดดู ศุภวัฒน์ สิงห์สุวงษ์,
การอุทธรณ์คำสั่งทางปกครอง, www.pub-law.net (กรกฎาคม ๒๕๕๖)
[๑๑]ตามแนวคำวินิจฉัยของสภาแห่งรัฐฝรั่งเศส การที่เจ้าหน้าที่ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาก้าวล่วงไปใช้อำนาจแทนผู้ใต้บังคับบัญชาถือเป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เช่น กรณีที่ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้อำนาจของเกษตรจังหวัดทำคำสั่งกำหนดราคาพืชผลการเกษตร (CE, 10 juin 1949, Syndicat de la propriété agricole de la Corrèze, p. 276) ผู้ว่าราชการจังหวัดใช้อำนาจของนายอำเภอทำคำสั่งปลดตำรวจป่าไม้ (CE, 15 février 1961, Alfred Joseph, p.114) หรือรัฐมนตรีใช้อำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัดทำคำสั่งปฏิเสธไม่ออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ (CE, 18 juillet 1947, Sesseau, p. 538)
[๑๒]สำหรับรายละเอียดในเรื่องนี้ โปรดดู ศุภวัฒน์ สิงห์สุวงษ์,
ข้อความคิดและหลักกฎหมายเกี่ยวกับ แนวทางปฏิบัติ ในการออกคำสั่งทางปกครอง, www.krisdika.go.th (สิงหาคม ๒๕๕๕)
[๑๓]มาตรา ๔๙ เจ้าหน้าที่หรือผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่อาจเพิกถอนคำสั่งทางปกครองได้ตามหลักเกณฑ์ในมาตรา ๕๑ มาตรา ๕๒ และมาตรา ๕๓ ไม่ว่าจะพ้นขั้นตอนการกำหนดให้อุทธรณ์หรือให้โต้แย้งตามกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นมาแล้วหรือไม่
การเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่มีลักษณะเป็นการให้ประโยชน์ต้องกระทำภายในเก้าสิบวันนับแต่ได้รู้ถึงเหตุที่จะให้เพิกถอนคำสั่งทางปกครองนั้น เว้นแต่คำสั่งทางปกครองจะได้ทำขึ้นเพราะการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งหรือการข่มขู่หรือการชักจูงใจโดยการให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดที่มิชอบด้วยกฎหมาย
[๑๔]ความเห็นคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่องเสร็จที่ ๗๔๔/๒๕๕๓
[๑๕]คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๑๑๘/๒๕๕๑
[๑๖]ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๒) เรื่องเสร็จที่ ๔๗-๔๘/๒๕๕๖
[๑๗]เช่น พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. ๒๔๙๖ มาตรา ๕๙ ทวิ ที่บัญญัติให้เทศบาลอาจทำกิจการนอกเขตของตน เมื่อเป็นการที่จำเป็นต้องทำและเกี่ยวเนื่องกับกิจการที่ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่อยู่ภายในเขตของตน โดยต้องได้รับความยินยอมจากท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องและได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
[๑๘]ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๒) เรื่องเสร็จที่ ๔๗๗/๒๕๔๕
[๑๙]ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ ๗) เรื่องเสร็จที่ ๗๘/๒๕๔๑
[๒๐]ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ ๔) เรื่องเสร็จที่ ๗/๒๕๓๑ : กรณีคณะกรรมการดำเนินการของสันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทย ; ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๙) เรื่องเสร็จที่ ๓๙๐/๒๕๕๒ : กรณีกรรมการสภาที่ปรึกษาเพื่อพัฒนาแรงงานแห่งชาติ
[๒๑]ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย คณะที่ ๕) เรื่องเสร็จที่ ๒๒๘/๒๕๓๙ และความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๒) เรื่องเสร็จที่ ๔๖๒/๒๕๔๗
[๒๒]ความเห็นคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่องเสร็จที่ ๗๐๖/๒๕๔๘
[๒๓]ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑) เรื่องเสร็จที่ ๕๘/๒๕๔๖
[๒๔]บวรศักดิ์ อุวรรณโณ, ที่มาของกฎหมายมหาชนและหลักความชอบด้วยกฎหมาย, ใน สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา, คู่มือการศึกษาวิชากฎหมายปกครอง (กรุงเทพฯ : จิรรัชการพิมพ์, ๒๕๔๓) หน้า ๘๗-๘๘.
[๒๕]ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑) เรื่องเสร็จที่ ๗๐/๒๕๕๑
[๒๖]คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๒๗๑/๒๕๕๖
[๒๗]เช่น กรณีออกคำสั่งจ่ายบำนาญล่าช้า โปรดดู คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๗๓/๒๕๔๗
[๒๘]ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (ที่ประชุมร่วมคณะที่ ๑ และคณะที่ ๒) เรื่องเสร็จที่ ๒๔๐/๒๕๕๕
[๒๙]ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑) เรื่องเสร็จที่ ๑๕๕/๒๕๕๐
[๓๐]โปรดดูเชิงอรรถที่ ๑๓, ข้างต้น
[๓๑]ความเห็นคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่องเสร็จที่ ๓๓๑/๒๕๕๖
[๓๒]คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๕๕๐/๒๕๕๑
[๓๓]สำหรับรายละเอียดในเรื่องนี้ โปรดดู ศุภวัฒน์ สิงห์สุวงษ์,
ระยะเวลาเพิกถอนคำสั่งทางปกครองที่เป็นการให้ประโยชน์, www.krisdika.go.th (เมษายน ๒๕๕๖)
[๓๔]คำพิพากษาศาลสูงแห่งบาเยิร์น BayObLG NVwZ 1984, p.399. อ้างใน MAURER (H.),
Droit administratif allemand, traduction par Michel Fromont, (Paris : L.G.D.J., 1992), p. 262.
[๓๕]คำพิพากษาศาลปกครองแห่งบาเดน-เวือดเทมแบร์ก VBIBW 1983, p.25. อ้างในเรื่องเดียวกัน, p. 262.
[๓๖]มาตรา ๑๓๓ วรรคสอง (b) แห่งประมวลกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (Código do procedimento administrativo)
[๓๗]มาตรา ๖๓ (b) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง (Ley de régimen jurídico de las administraciones públicas y del procedimiento administrativo común)
[๓๘]C.E. Sect., 18 décembre 1953, Welter, R. p. 564.
[๓๙]GAZIER (F.) et LONG (M.), chronique de jurisprudence administrative, A.J.D.A. 1954, p. 5.
[๔๐]มาตรา ๔๔ วรรคสอง (๓) แห่งรัฐบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (VwVfG)
[๔๑]มาตรา ๖๓ (b) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินและวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง (Ley de régimen jurídico de las administraciones públicas y del procedimiento administrativo común)
[๔๒]BOULOUIS (J.), Rapport sur l'inexistence, la nullité et l'annulabilité des actes juridiques en droit public français, Travaux de l'association Henri Capitant, Journées de Turin, 4-7 juin 1962, p. 792.
[๔๓]WEIL (P.), Une résurrection : la théorie de l'inexistence en droit administratif, D. 1958, chron., p. 50 et 51.
[๔๔]C.E., 31 mai 1957, Rosan Girard, R. p. 335.
[๔๕]มาตรา ๒๑ สัตต แห่งรัฐบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (Legge concernenti norme generali sull’azione amministrativa)
[๔๖]มาตรา ๖๘ วรรคสี่ แห่งรัฐบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (Allegemeines Verwaltungsverfahrensgesetz)
[๔๗]คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๓๐๐/๒๕๕๑
[๔๘]ความเห็นคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่องเสร็จที่ ๒๖๘/๒๕๕๒
[๔๙]ความเห็นคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่องเสร็จที่ ๘๙๘/๒๕๕๔
[๕๐]ตัวอย่างเช่น ความเห็นคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง เรื่องเสร็จที่ ๗๔๔/๒๕๕๓
[๕๑]ดังที่ปรากฏในมาตรา ๙ (๑) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒ ที่กำหนดให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาหรือมีคำสั่งในคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำการโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายซึ่งรวมถึงกรณีที่ กระทำโดยไม่มีอำนาจหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่
[๕๒]สำหรับรายละเอียดในเรื่องนี้ โปรดดู สุรีย์ เผ่าสุขถาวร, เหตุเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนในกระบวนวิธีพิจารณาคดีปกครอง, ใน สำนักงานศาลปกครอง, รวมบทความทางวิชาการ เล่ม ๔ : กฎหมายปกครองต่างประเทศ (กรุงเทพฯ : สำนักวิชาการและความร่วมมือระหว่างประเทศ สำนักงานศาลปกครอง, ๒๕๕๑), หน้า ๘๘-๑๐๖.
[๕๓]C.E., 27 février 1880, Commune de Chebli, R. p. 211.
[๕๔]C.E. Sect., 11 décembre 1942, Roussel, R. p. 348.
[๕๕]C.E., 27 novembre 1970, Époux Tunchat, R. p. 706.
[๕๖]C.E., 6 décembre 1991, Cierco, R. p. 419.
[๕๗]คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๕๐๙/๒๕๕๕, อ.๗๘๐/๒๕๕๕ และ อ.๘๕๓/๒๕๕๖
[๕๘]C.E., 2 novembre 1939, Wagner, R. p. 547.
[๕๙]C.E., 13 mars 1959, Pieux, R. p. 299.
[๖๐]EISENMANN (C.), Cours de droit administratif, (Paris : L.G.D.J., 1983), p. 89.
[๖๑]ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (กรรมการร่างกฎหมาย กองที่ ๖) เรื่องเสร็จที่ ๒๒๔/๒๕๑๙
[๖๒]มาตรา ๓๙ การออกคำสั่งทางปกครองเจ้าหน้าที่อาจกำหนดเงื่อนไขใด ๆ ได้เท่าที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมาย เว้นแต่กฎหมายจะกำหนดข้อจำกัดดุลพินิจเป็นอย่างอื่น
การกำหนดเงื่อนไขตามวรรคหนึ่ง ให้หมายความรวมถึงการกำหนดเงื่อนไขในกรณีดังต่อไปนี้ ตามความเหมาะสมแก่กรณีด้วย
(๑) การกำหนดให้สิทธิหรือภาระหน้าที่เริ่มมีผลหรือสิ้นผล ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง
ฯลฯ ฯลฯ
[๖๓]ความเห็นคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ ๑) เรื่องเสร็จที่ ๑๑๓/๒๕๔๓
[๖๔]อย่างไรก็ตาม น่าคิดว่าการกำหนดเงื่อนไขในลักษณะนี้จะสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของบทบัญญัติมาตรา ๓๙ วรรคสอง (๑) หรือไม่ เพราะโดยหลักแล้วบทบัญญัติดังกล่าวจะใช้สำหรับการกำหนดเวลาเริ่มมีผลหรือสิ้นผลของคำสั่งทางปกครองที่ทำขึ้นใช้บังคับในเรื่องต่าง ๆ
ตามปกติ เช่น กำหนดให้สิทธิในการประกอบกิจการตามใบอนุญาตเริ่มมีผลนับแต่วันใด แต่กรณีนี้เป็นเรื่องที่เจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจตามกฎหมายจะมีคำสั่งยืนยันการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีอำนาจเพื่อเยียวยาให้การกระทำนั้นมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย ซึ่งแม้ว่าการดำเนินการดังกล่าวอาจจะไม่ขัดต่อหลักที่ว่านิติกรรมทางปกครองต้องไม่มีผลย้อนหลัง เพราะมีบทบัญญัติกฎหมายที่ให้อำนาจออกคำสั่งทางปกครองให้มีผลย้อนหลังได้ แต่การให้สัตยาบันก็ยังขัดต่อหลักการใช้อำนาจเฉพาะตัวของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง นอกจากนี้ หากยอมรับให้ใช้วิธีการกำหนดเงื่อนไขให้คำสั่งทางปกครองมีผลย้อนหลัง เพื่อเปิดช่องให้มีการให้สัตยาบันต่อการกระทำของเจ้าหน้าที่ที่ไม่มีอำนาจได้เป็นการทั่วไปแล้ว หลักเรื่องอำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองก็อาจไม่มีความหมายอีกต่อไป
[๖๕]มาตรา ๔๑ คำสั่งทางปกครองที่ออกโดยการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้ไม่เป็นเหตุให้คำสั่งทางปกครองนั้นไม่สมบูรณ์
ฯลฯ ฯลฯ
(๔) คำสั่งทางปกครองที่ต้องให้เจ้าหน้าที่อื่นให้ความเห็นชอบก่อน ถ้าเจ้าหน้าที่นั้นได้ให้ความเห็นชอบในภายหลัง
ฯลฯ ฯลฯ
[๖๖]คำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด ที่ อ.๒๓๕/๒๕๕๓