หน้าแรก บทความสาระ
หนึ่งคนหนึ่งเสียงในการเลือกตั้งกับความเท่าเทียม
อาจารย์ ปีดิเทพ อยู่ยืนยง นักเรียนทุนพัฒนาบุคลากรสายวิชาการอาจารย์ (ผู้สอน) ระดับปริญญาเอก ประเภททุนสำหรับบุคคลภายนอกตามความต้องการของคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ อีเมลล์: pedithep.youyuenyong@email.dmu.ac.uk
12 มกราคม 2557 18:48 น.
 
เมื่อไม่นานมานี้มีนักวิชาการหลายท่านได้แสดงความเห็นในเชิงไม่ยอมรับและปฏิเสธการนำเอา"หลักการหนึ่งคนหนึ่งเสียง" มาใช้กับกลไกการเลือกตั้งของประเทศไทย การแสดงความเห็นในลักษณะเช่นนี้ย่อมเป็นการโต้แย้งหรือปฏิเสธหลักการหลายประการว่าด้วยการส่งเสริมความเท่าเทียมทางการเมือง (Political Equality) และความเท่าเทียมแบบมีส่วนร่วม (Participatory Equality)
       ในรัฐสมัยใหม่ที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยอันอยู่บนพื้นฐานต่อการเคารพในเสรีนิยมและปักเจกชนนิยมนั้น ย่อมเปิดโอกาสให้ประชาชนเลือกผู้แทนของตนเข้าไปบริหารและตัดสินใจทางการเมืองแทนตน โดยประชาชนแต่ละคนหรือปัจเจกบุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเลือกนักการเมืองหรือพรรคการเมืองที่ตนชื่นชอบและประชาชนแต่ละคนอาจมีแนวคิดอุดมการณ์ ความเชื่อ ความศรัทธา รวมไปถึงประสบการณ์จากนักการเมืองหรือพรรคการเมืองที่แตกต่างกันออกไป
       เมื่อประชาชนแต่ละคนหรือปัจเจกบุคคลที่มีคุณสมบัติครบและไม่เข้าลักษณะต้องห้ามตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งได้กำหนดย่อมมีเสรีภาพในการเลือกนักการเมืองหรือพรรคการเมืองที่ตนชื่นชอบผ่านกลไกการเลือกตั้งที่กำหนดเอาไว้ในรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญได้วางเกณฑ์เอาไว้นอกจากนี้กลไกการเลือกตั้งตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญย่อมถือเป็นกลไกที่สนับสนุนเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองของประชาชนแต่ละคนหรือปัจเจกบุคคลอีกด้วย
       จากที่กล่าวมาในข้างต้นหากประชาชนในประเทศคนใดมีคุณสมบัติครบและไม่เข้าลักษณะต้องห้ามตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งได้บัญญัติเอาไว้ประชาชนดังกล่าวย่อมมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไป (UniversalSuffrage) ด้วยเหตุนี้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่จัดการเลือกตั้งจำต้องปฏิบัติกับประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งอย่างเท่าเทียมกันโดยรัฐหรือหน่วยงานของรัฐจะกระทำการใดๆอันเป็นการกีดกันไม่ให้ประชาชนที่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งทั่วไปไม่ได้ ทั้งนี้ รัฐหรือหน่วยงานของรัฐจำต้องกระทำการอันเป็นการสนับสนุนสิทธิออกเสียงเลือกตั้งอย่างเท่าเทียม (Equal Suffrage) กล่าวคือ รัฐหรือหน่วยงานของรัฐต้องถือว่าเสียงของประชาชนทุกคนเท่าเทียมกันเมื่อประชาชนกระทำการลงคะแนนเสียง (Action of Voting) ไม่ว่าจะเป็นบุคคลจะที่มีความแตกต่างกันทั้งในด้านวัยลักษณะของร่างกาย เพศสภาพ สถานภาพทางครอบครัว ศาสนา ความเชื่อ และรสนิยมทางเพศ หากบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติครบและไม่เข้าลักษณะต้องห้ามตามที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งได้บัญญัติเอาไว้รัฐหรือหน่วยงานของรัฐจะกระทำการใดๆ อันเป็นการกีดกันหรือเลือกปฏิบัติต่อบุคคลในการเลือกตั้งไม่ได้รัฐสมัยใหม่ที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยโดยทั่วไปจึงมักกำหนดให้ประชาชนทั่วไปที่มีคุณสมบัติสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้มีหนึ่งคนหนึ่งเสียง เท่าๆกันในการเลือกตั้งหรือในกลไกการเลือกตั้งก็เพราะรัฐหรือหน่วยงานของรัฐจะต้องกำหนดกลไกการเลือกตั้งให้รองรับและสอดคล้องกับการจัดกลไกการเลือกตั้งให้เท่าเทียมและเสมอภาคตัวอย่างเช่น คนร่ำรวยเป็นเศรษฐีและคนยากจนก็มีหนึ่งเสียงเท่ากันคนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกและคนสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 ก็มีหนึ่งเสียงเท่ากัน คนพิการและคนปกติร่างกายสมบูรณ์ย่อมมีหนึ่งเสียงเท่ากัน คนมีภูมิลำเนาต่างจังหวัดและคนมีภูมิลำเนากรุงเทพมหานครย่อมมีหนึ่งเสียงเท่ากันและคนที่ชื่นชอบพรรคการเมือง ก. และคนที่ชื่นชอบพรรคการเมือง ข. ก็ย่อมมีหนึ่งเสียงเท่ากันด้วย เป็นต้น
       การกำหนดให้ประชาชนแต่ละคนที่มีสิทธิเลือกตั้งมีหนึ่งคนหนึ่งเสียงเท่าๆกัน ไม่เพียงส่งผลดีต่อการส่งเสริมความเท่าเทียมและขจัดการเลือกปฏิบัติต่อประชาชนโดยทั่วไปแล้วแต่ทว่ายังอาจส่งผลดีต่อการออกแบบเครื่องมือหรือกลไกการเลือกตั้งบางอย่างอีกด้วยเช่น การกำหนดให้ประชาชนมีหนึ่งคนหนึ่งเสียงสอดคล้องกับกระบวนการลงคะแนนโดยลับ (secret vote) การกำหนดให้หลักการหนึ่งคนมีหนึ่งเสียงดังกล่าวย่อมสามารถเอื้อประโยชน์ต่อการออกแบบบัตรลงคะแนนโดยลับเพราะทำให้การออกแบบและใช้งานบัตรถูกกำหนดขึ้นให้ง่ายต่อการการลงคะแนนหนึ่งเสียงที่ทุกๆคนมีเท่าๆ กัน ซึ่งทำให้ประชาชนสามารถเข้าใจวิธีการกาบัตรหรือกรอกข้อมูลอื่นๆบนบัตรโดยไปในแนวทางเดียวกันและโดยง่ายไปกว่ากำหนดให้ประชาชนจำพวกหนึ่งมีหลายเสียงแต่ประชาชนอีกจำพวกหนึ่งมีเพียงหนึ่งเสียง ซึ่งย่อมต้องใช้หรือออกแบบบัตรเลือกตั้งมากมายหลายชนิดหลายประเภทในการลงคะแนนอันอาจก่อให้เกิดความสับสนสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ควบคุมการเลือกตั้งประชาชนที่มาเลือกตั้ง และผู้สังเกตการณ์เลือกตั้งจำพวกอื่นๆ
       หลักการเชิงไม่ยอมรับและปฏิเสธการนำเอา "หลักการหนึ่งคนหนึ่งเสียง" หากนำเอามาปฏิบัติจริงในสังคมแล้ว ย่อมขัดหลักเกณฑ์ในเรื่องของความเท่าเทียมทางด้านโอกาสในการมีส่วนร่วมทางการเมืองและอาจสร้างภาระต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐในกำหนดกลไกหรือกระบวนการเลือกตั้งใหม่ๆมารองรับหลักการ “หนึ่งคนหลายเสียง” ที่ไม่สอดคล้องกับหลักมาตรฐานการเลือกตั้งสากลก็เป็นได้
       เอกสารอ้างอิง
       เอกสารของคณะกรรมาธิการยุโรปเกี่ยวกับมาตรฐานนานาชาติสำหรับการเลือกตั้ง ที่ได้กล่าวถึงความสำคัญของ หลักการ “หนึ่งคนหนึ่งเสียง” ในฐานะที่เป็นหลักการสากลที่นำมาใช้ในการเลือกตั้งระดับชาติและท้องถิ่น โปรดดู European Commission, Compendium of International Standards for Elections, available from http://eeas.europa.eu/human_rights/election_observation/docs/compendium_en.pdf


 
 
หลักความเสมอภาค
องค์กรอิสระ : ความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมืองและการปฏิรูประบบราชการ โดย คุณนพดล เฮงเจริญ
ปัญหาของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในประเทศไทย
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : ผลในทางปฏิบัติ เมื่อครบรอบหกปีของการปฏิรูปการเมือง
หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
   
 
 
 
PAYS DE BREST : COOPERER VOLONTAIREMENT AU SERVICE DU TERRITOIRE
La violence internationale : un changement de paradigme
การลงทะเบียนเพื่อรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย: มิติด้านกฎหมายและเทคโนโลยี
Tensions dans le cyber espace humanitaire au sujet des logos et des embl?mes
คุณูปการของศาสตราจารย์พิเศษ ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ต่อการพัฒนากฎหมายปกครองและกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง : งานที่ได้ดำเนินการไว้ให้แล้วและงานที่ยังรอการสานต่อ
การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม
ยาแก้โรคคอร์รัปชันยุคใหม่
สหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ คืออะไร
มองอินโด มองไทย ในเรื่องการกระจายอำนาจ
การฟ้องปิดปาก
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544