[1] เสรีภาพทางวิชาการ (academic freedom) หมายความถึง เสรีภาพของบุคคลที่จะสืบค้นพัฒนางานทางวิชาการ โดยไม่ขึ้นต่อความคิดเห็นหรือความเชื่อหรือการบังคับบงการของใคร
[2] ความเป็นอิสระ (autonomy) หมายถึง ความเป็นอิสระอย่างสมเหตุสมผล (reasonable autonomy) ไม่ใช้ความอิสระในการใช้อำนาจตามอำเภอใจ
[3] ปฐม มณีโรจน์, วิวัฒนาการและความเป็นอิสระของการจัดการอุดมศึกษาของไทย ในอำนาจอิสระของการบริหารมหาวิทยาลัยไทย สำนักงานปลัดทบวงมหาวิทยาลัย, ตุลาคม ๒๕๔๕, หน้าที่ ๒-๗๒.
[5] หนังสือที่ ศธ.๐๕๐๙.๖(๑.๔)/ว ๑๔ ลงวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๕๐ เรื่องการเสนอร่างพระราชบัญญัติในกำกับของรัฐ
[6] มาตรา ๓๖ ให้สถานศึกษาของรัฐที่จัดการศึกษาระดับปริญญาเป็นนิติบุคคล และอาจจัดเป็นส่วนราชการ หรือเป็นหน่วยงานในกำกับของรัฐ ยกเว้นสถานศึกษาเฉพาะทางตามมาตรา ๒๑
ให้สถานศึกษาดังกล่าวดำเนินกิจการได้โดยอิสระ สามารถพัฒนาระบบบริหารและการจัดการตนเอง มีความคล่องตัว มีเสรีภาพทางวิชาการ และอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสภาสถานศึกษา ตามกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งสถานศึกษานั้นๆ
[7] มาตรา ๓ (วรรคสุดท้าย) แห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ ความว่า การปฏิบัติหน้าที่ของรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล รวมทั้งองค์กรตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานของรัฐต้องเป็นไปตามหลักนิติธรรม
[8] หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม โดย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ใน http:// www.enlightened-jurists.com
[9] มาตรา ๕๘ ความว่า บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่รัฐ ในการปฏิบัติราชการทางปกครองอันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน
[10] มาตรา ๕๗ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจงและเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่น และมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาในเรื่องดังกล่าว
การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ การเมืองและวัฒนธรรม การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ การวางผังเมือง การกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ในที่ดิน และ
การออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อส่วนได้ส่วนเสียสำคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ
[11] มาตรา ๕๙ บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์ และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลาอันรวดเร็ว
[12] มาตรา ๖๐ บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานนั้น