หน้าแรก บทความสาระ
ทำไม ! นักวิชาการจึงมองต่างมุม ๒
คุณมนูญ โกกเจริญพงศ์ นิติกรชำนาญการพิเศษ กรมบังคับคดี
18 ธันวาคม 2554 16:43 น.
 
บทความ ดร. ป. เพชรอริยะ , หลักและวิธีคิดเพื่อแผ่นดิน เรื่อง นิติราษฎร์ เบื้องลึกอยากให้มีรัฐประหาร พวกเขาคือ ... ได้เสนอและวิเคราะห์หลักการประชาธิปไตยไว้อย่างน่าฟังข้อหนึ่งว่า เข้าใจผิดว่ารัฐธรรมนูญคือระบอบประชาธิปไตย “รัฐธรรมนูญไม่ใช่ระบอบประชาธิปไตย” ก่อนอื่นต้องสถาปนาระบอบหรือหลักการปกครองขึ้นมาก่อน โดยพระเจ้าแผ่นดิน จากนั้นจึงร่างรัฐธรรมนูญให้สอดคล้องกับหลักการปกครองจึงจะถูกต้อง และเป็นการแก้ไขเหตุวิกฤตชาติให้ตกไปได้[1]
               การสถาปนาระบอบหรือหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยเป็นเช่นไร บทความไม่ได้อธิบายไว้ปล่อยให้ผู้อ่านคิดอ่านต่อยอดกันเอง ตามบทความดังกล่าวข้าพเจ้า มีความเห็นว่าผู้ให้แนวคิดคงเห็นว่า ประเทศชาติของเรายังไม่ได้สถาปนาระบอบหรือหลักการปกครองในอันที่จะทำให้ประชาธิปไตยไทยเข้มแข็ง เติบโตแข็งแรงขึ้นตามลำดับดั่งเช่นต้นไม้แข็งแรงก็เพราะรากของต้นไม้ ฉันใดก็ฉันนั้น เมื่อพลเมืองเรายังไม่ตระหนักถึงคุณค่าของประชาธิปไตยที่ได้มาและไม่มีการประคับประคอง <ถ่วงดุล>ให้แข็งแรงเติบโตจนเป็นสาเหตุหนึ่งให้องค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชย์สมบัติ ประชาธิปไตยจึงตกอยู่ในคนกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เมื่อประชาธิปไตยไม่เป็นเพื่อส่วนรวมก็ไม่สามารถหยั่งรากให้แข็งแรงได้ ก่อให้เกิดการล้มลุกคลุกคลานของประชาธิปไตยไทยมาโดยตลอดตั้งแต่การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง ๒๔๗๕ เป็นต้นมาเรื่อยมาถึง ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖ (ตุลาวิปโยค) พฤษภาทมิฬ ๒๕๓๕ จนถึงสภาวการณ์เสื้อเหลืองเสื้อแดงในปัจจุบัน รวมระยะเวลายาวนานถึง ๗๙ ปี ก็ยังไปไม่ถึงจุดมุ่งหมายนั้นได้
               บทความข้างต้นจึงเสนอให้เริ่มต้นจากการสร้างสถาปนาระบอบหรือหลักการปกครองก่อน ซึ่งข้าพเจ้าเห็นว่าประเทศชาติของเราก็มีการสถาปนาระบอบหรือหลักการปกครองโดยพระเจ้าแผ่นดินแล้ว แต่ประชาชนกลับไม่รู้หรือไม่สำนึก ถ้าจะให้ยกประวัติศาสตร์ข้าพเจ้าเห็นว่าตั้งแต่วันที่ ๒ มีนาคม ๒๔๗๗ ซึ่งองค์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ได้สถาปนาหรือวางหลักการปกครองให้แก่ราษฎรของพระองค์แล้ว นั่นก็คือตามพระราชหัตถเลขาที่ว่า “ข้าพเจ้ามีความเต็มใจที่จะสละอำนาจอันเป็นของข้าพเจ้าอยู่แต่เดิมให้แก่ราษฎรโดยทั่วไป แต่ข้าพเจ้าไม่ยินยอมยกอำนาจทั้งหลายของข้าพเจ้าให้แก่ผู้ใด คณะใดโดยเฉพาะเพื่อใช้อำนาจนั้นโดยสิทธิขาด และโดยไม่ฟังเสียงอันแท้จริงของราษฎร”  ข้าพเจ้าจึงเห็นว่าเมื่อองค์สมเด็จพระปกเกล้าพระองค์ได้สถาปนาและวางหลักการปกครองให้แล้ว สังคมไทยน่าจะเริ่มสถาปนาหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยตามพระราชหัตถเลขา ณ จุดนี้ และเพื่อจะให้เห็นเป็นรูปธรรมตามที่ให้ความเห็นขออนุญาตเขียนตามความรู้ความเข้าใจพื้นฐาน ดังที่ควรจะเป็น <เพราะสภาพความเป็นจริงหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยของเราเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนามาจากระบอบการปกครองแบบสมบูรณยาสิทธิราช> ดังนี้
               ก. หลักฐานที่เป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตยไทย คือ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ประเทศไทยกลับสร้างเป็นอนุสาวรีย์ที่มีสัญลักษณ์เป็นรูปพานวางรัฐธรรมนูญ แต่เราเรียกว่า “อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” ทำให้ประชาชนชาวไทยไม่รำลึกถึงพระราชกรณียะกิจอันยิ่งใหญ่ของพระองค์ซึ่งได้สถาปนาหลักการปกครองแบบประชาธิปไตยให้แก่ประเทศสยามไว้แล้ว และวันสถาปนาดังกล่าวชาติไทยเรากลับไม่รำลึกซึ่งควรให้ความสำคัญกับวันดังกล่าวในฐานะที่พระองค์ได้เสียสละอันยิ่งใหญ่ให้แก่พวกเรา โดยให้ถือเป็นวันหยุดราชการด้วยและเป็นวันประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นจริง หรือเรียกว่า “วันพระปกเกล้า+ประชาธิปไตย”
               ข. ขอพระบรมราชานุญาตและกราบบังคมทูลพระกรุณาพระเจ้าแผ่นดิน ทรงสร้างและเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานเปิดอนุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระราชทานสถาปนาหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยไทยให้แก่ราษฎรของพระองค์ แทนการวางพานรัฐธรรมนูญที่ตรงกลางปีกของอนุสาวรีย์ทั้งสี่เสียใหม่ โดยพระราชพิธีดังกล่าวเป็นพระราชพิธีอันศักดิ์สิทธิ์ของหมู่ประชาชนชาวไทยทั้งประเทศที่พร้อมกันเฝ้ารับเสด็จพระราชดำเนินและร่วมรำลึกถึงความเสียสละอันยิ่งใหญ่ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งได้พระราชทานสถาปนาระบอบหรือหลักการปกครองให้แก่ราษฎรสืบไป
       ค. ในวันเสด็จพระราชดำเนินเปิดอนุสาวรีย์พระปกเกล้าประชาธิปไตย อาจมีประกาศของนายกรัฐมนตรีให้มีการออกเสียงประชามติว่าจะให้แก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันด้วยหรือไม่ พร้อมแนบร่างแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ......ที่มีกระบวนการร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างไรบ้าง มีคณะกรรมการยกร่างกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งทรงโปรดเกล้าฯแต่งตั้งจากผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายรัฐธรรมนูญและผู้มีประสบการณ์ทางการเมือง จำนวนกี่ท่าน และหากประชาชนลงมติให้แก้ไขรัฐธรรมนูญแล้ว ก็ให้รัฐสภาดำเนินการแก้ไขกฎหมายรัฐธรรมนูญไปตามร่างแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายรัฐธรรมนูญดังกล่าวนั้นต่อไป
       อนึ่ง ประวัติศาสตร์นั้นหากไม่รู้หรือคลาดเคลื่อนไป ข้าพเจ้าขอกราบอภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วย
        
             
       

       
       

       

       [1] http://www.facebook.com/verapat.pariyawong นิติราษฎร์ล้างรัฐประหาร : รวมข้อมูล
       

       



 
 
หลักความเสมอภาค
องค์กรอิสระ : ความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมืองและการปฏิรูประบบราชการ โดย คุณนพดล เฮงเจริญ
ปัญหาของการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติในประเทศไทย
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน : ผลในทางปฏิบัติ เมื่อครบรอบหกปีของการปฏิรูปการเมือง
หลักนิติรัฐและหลักนิติธรรม
   
 
 
 
PAYS DE BREST : COOPERER VOLONTAIREMENT AU SERVICE DU TERRITOIRE
La violence internationale : un changement de paradigme
การลงทะเบียนเพื่อรับเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุในประเทศไทย: มิติด้านกฎหมายและเทคโนโลยี
Tensions dans le cyber espace humanitaire au sujet des logos et des embl?mes
คุณูปการของศาสตราจารย์พิเศษ ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศานต์ ต่อการพัฒนากฎหมายปกครองและกระบวนการยุติธรรมทางปกครอง : งานที่ได้ดำเนินการไว้ให้แล้วและงานที่ยังรอการสานต่อ
การเลือกตั้งที่เสรีและเป็นธรรม
ยาแก้โรคคอร์รัปชันยุคใหม่
สหพันธรัฐ สมาพันธรัฐ คืออะไร
มองอินโด มองไทย ในเรื่องการกระจายอำนาจ
การฟ้องปิดปาก
 
 
 
 
     

www.public-law.net ยินดีรับพิจารณาบทความด้านกฎหมายมหาชน โดยผู้สนใจสามารถส่งบทความผ่านทาง wmpublaw@public-law.net
ในรูปแบบของเอกสาร microsoft word (*.doc) เอกสาร text ข้อความล้วน (*.txt)ลิขสิทธิ์และความรับผิดตามกฎหมายของบทความที่ได้รับการเผยแพร่ผ่านทาง www.public-law.net นั้นเป็นของผู้เขียน ขอสงวนสิทธิ์ในการนำบทความที่ได้รับการเผยแพร่ไปจัดพิมพ์รวมเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้สนใจต่อไป ข้อมูลทั้งหมดที่ปรากฏใน website นี้ยังมิใช่ข้อมูลที่เป็นทางการ หากต้องการอ้างอิง โปรดตรวจสอบรายละเอียดจากแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น

จำนวนผู้เข้าชมเวบ นับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2544