[1] พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ การขอให้พิจารณาใหม่ตาม มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง (๔) บัญญัติว่า ถ้าคำสั่งทางปกครองได้ออกโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดและต่อมาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญในทางที่จะเป็นประโยชน์แก่คู่กรณี
[2] ชัยวัฒน์ วงศ์วัฒนศาสนต์,
กฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง, กรุงเทพฯ: จิรรัชการพิมพ์, ๒๕๔๐. หน้า ๓๒๖-๒๓๗.
[3] วรเจตน์ ภาคีรัตน์,
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายปกครองและการกระทำทางปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพฯ: วิญญูชน, ๒๕๔๙. หน้า ๒๓๖.
[4] แต่ในกรณีนี้ ผู้ฟ้องคดีจะต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งขอให้พิจารณาใหม่ตามมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ จะคำร้องขอต่อศาลปกครองเพื่อขอให้พิจารณาคดีใหม่โดยให้ศาลปกครองเปลี่ยนแปลงคำสั่งของฝ่ายปกครองมิได้ เพราะเป็นการร้องขอให้ศาลปกครองก้าวล่างไปจัดการการดำเนินงานของฝ่ายบริหารเสียเอง อันขัดแย้งกับหลักแบ่งแยกอำนาจ
[5] เทียบตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๕๐๕๐/๒๕๓๙
[6] เทียบตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๖๕๐๐/๒๕๔๒
[7] การรู้เหตุขอให้พิจารณาใหม่ในระหว่างพิจารณาคือ เหตุตามมาตรา ๗๕ วรรคหนึ่ง (๑) ถึง (๓) เท่านั้น ไม่รวมถึงเหตุตาม (๔) ที่เกิดขึ้นภายหลังการพิจารณาคดี ดังที่กล่าวมาแล้ว
[8] กรณีการพิจารณาคดีผิดระเบียบ ตามระเบียบฯ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๓ ข้อ ๗ ผู้คำร้องกรณีการพิจารณาผิดระเบียบจะต้องไม่ดำเนินการอื่นใดขึ้นมาใหม่ภายหลังที่ได้ทราบเรื่องผิดระเบียบแล้ว หรือต้องมิให้ได้สัตยาบันแก่การผิดระเบียบนั้น
[9] กิตติศักดิ์ ปรกติ,
หลักสุจริตและเหตุเหนือความคาดหมายในการชำระหนี้, กรุงเพทฯ: วิญญูชน, ๒๕๕๔, หน้า ๒๒, ๖๖.
[10] คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๔๐๑๖-๔๐๒๐/๒๕๒๖, ๖๔๒๘/๒๕๔๖ วางหลักว่า การฟ้องคดีโดยใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับเรียบร้อย ศาลหยิบยกขึ้นมาพิจารณาได้เอง อ้างใน กิตติศักดิ์ ปรกติ, เรื่องเดิม. หน้า ๗๔,๘๒-๘๓.
[11] แต่ตามพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. ๒๕๒๖ บัญญัติชัดแจ้งว่า คำร้องให้พิจารณาคดีอาญาใหม่ให้ยื่นต่อศาลชั้นต้นที่ได้พิพากษาคดีนั้นหรือศาลอื่นที่ได้มีเขตอำนาจแทนศาลนั้นตาม มาตรา ๘ และเมื่อไต่สวนแล้ว ให้ส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาคำร้อง คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ตามมาตรา ๑๐
[12] เปรียบเทียบกับการขอให้พิจารณาใหม่ตามมาตรา ๕๔ แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ การยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่จะต้องยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้ออกคำสั่งนั้น มิใช่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจพิจารณาอุทธรณ์ (คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๙๖๑/๒๕๔๘) อ้างใน มูลนิธิวิจัยและพัฒนากระบวนการยุติธรรมทางปกครอง,
คำอธิบายหลักกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.๒๕๓๙, พิมพ์ครั้งที่ ๓, กรุงเทพฯ: ประชาชน, ๒๕๕๔, หน้า ๒๒๐.
[13] เทียบนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๓๔๐/๒๕๔๓, ๖๑๕/๒๕๔๕, ๓๑๓๒/๒๕๔๕
[14]มาตรา ๓ คำฟ้อง หมายความว่า การเสนอข้อหาต่อศาลไม่ว่าจะได้เสนอต่อศาลปกครองชั้นต้นหรือศาลปกครองสูงสุด ไม่ว่าจะได้เสนอในขณะที่เริ่มคดีโดยคำฟ้องหรือคำร้องขอ หรือเสนอในภายหลังโดยคำฟ้องเพิ่มเติมหรือแก้ไข หรือฟ้องแย้ง หรือโดยสอดเข้ามาในคดีไม่ว่าด้วยความสมัครใจหรือถูกบังคับ หรือโดยมีคำขอให้พิจารณาใหม่
[15] การพิจารณาคดีใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๙๙ เบญจ วรรคสี่ บัญญัติว่า คำสั่งศาลที่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ให้เป็นที่สุด แต่ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งไม่อนุญาตผู้ขออาจอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด
การพิจารณาคดีใหม่ตามพระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. ๒๕๒๖ มาตรา ๙ บัญญัติว่า ศาลสั่งรับคำร้องและดำเนินการพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ต่อไป คำสั่งของศาลในกรณีเช่นนี้ให้เป็นที่สุด และมาตรา ๑๐ บัญญัติว่า ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องนั้นมีมูลพอที่จะรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ ให้ศาลอุทธรณ์สั่งรับคำร้องและสั่งให้ศาลชั้นต้นที่รับคำร้องดำเนินการพิจารณาคดีที่รื้อฟื้นขึ้นพิจารณาใหม่ต่อไป แต่ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นว่าคำร้องนั้นไม่มีมูล ให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยกคำร้องนั้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ตามวรรคหนึ่งให้เป็นที่สุด
[16] รายละเอียด หลักความยุติธรรมในกฎหมายปกครอง โปรดอ่าน กลมชัย รัตนสกาววงศ์,
หลักกฎหมายปกครองเยอรมัน, กรุงเทพฯ: ศูนย์ยุโรปศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ๒๕๔๔. หน้า ๑๐๓-๑๐๖.
[18] ไพโรจน์ วายุภาพ,
คำอธิบายกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค ๒ วิธีพิจารณาวิสามัญในศาลชั้นต้น หมวด ๒ การพิจารณาโดยขาดนัด, พิมพ์ครั้งที่ ๔, (ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์) ๒๕๕๐. หน้า ๙๒.
[19] สมชัย ฑีฆาอุตมากร,
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ภาค ๒ วิธีพิจารณาในศาลชั้นต้น, พิมพ์ครั้งที่ ๔, กรุงเทพฯ: พลสยามพริ้นติ้ง, ๒๕๕๒. หน้า ๔๑๖-๔๑๕.
[20] ประสาท พงษ์สุวรรณ และสุรีย์ เผ่าสุขถาวร, หลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง, วารสารวิชาการศาลปกครอง ปีที่ ๒ ฉบับที่ ๒ (พฤษภาคม-สิงหาคม ๒๕๔๕), หน้า ๙๖.
[21] วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ข้อความคิดเบื้องต้นกับคำวินิจฉัยและผลผูกพันของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ อ้างแล้ว หน้า ๑๑-๑๒.
[23] เป็นลักษณะของการใช้กฎหมายโดยเทียบเคียงอย่างหนึ่งเพื่ออุดช่องว่างกฎหมาย ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของการใช้และการตีความกฎหมายตามหลักนิติวิธีระบบซีวิลลอว์ โปรดอ่าน สมยศ เชื้อไทย,
คำอธิบายวิชาหลักกฎหมายแพ่ง : หลักทั่วไป, พิมพ์ครั้งที่ ๑๕, กรุงเทพฯ: วิญญูชน, ๒๕๕๑. หน้า ๑๙๑-๑๙๖. หยุด แสงอุทัย,
ช่องว่างกฎหมาย, พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ: วิญญูชน, ๒๕๕๒. และ วรเจตน์ ภาคีรัตน์,
การใช้การตีความกฎหมายมหาชน
ใน
การใช้การตีความกฎหมาย, พิรุณา ติงศภัทิย์, บรรณาธิการ, กรุงเทพฯ: กองทุนศาสตราจารย์จิตติ ติงศภัทิย์, ๒๕๕๒, หน้า ๓๓๗-๓๔๓.