[1] ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๑๙๙ จัตวา มาตรา ๑๙๙ เบญจ แต่ขอบเขตเหตุขอให้พิจารณาคดีใหม่แคบมาก เฉพาะขาดนัดยื่นคำให้การเท่านั้น จึงมีปัญหาที่พบในปัจจุบันว่า กรณีมีการนำพยานสืบเท็จ ต่อมาได้มีการพิสูจน์ในภายหลังว่า พยานเบิกความเท็จหรือมีการสำพยานหลักฐานเป็นเท็จ คู่ความไม่อาจที่ขอให้ศาลพิจารณาคดีใหม่ได้ เพราะไม่เข้าเหตุการณ์ขอให้พิจารณาคดีใหม่ จึงต้องฟ้องร้องเป็นคดีใหม่ และเรียกค่าเสียหายจากผู้นำเสนอพยานเท็จหรือผู้เบิกความเท็จ แต่ก็ไม่ได้มีเพิกถอนคำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีที่ถึงสุดไปแล้วที่มีการนำเสนอพยานเท็จนั้น (แต่ในคดีอาญาถ้าพยานเบิกความเท็จ สามารถขอให้พิจารณาคดีใหม่ได้) จึงยังเป็นช่องว่างที่ทำให้ผู้ไม่สุจริตใช้กระบวนการสร้างพยานหลักฐานเป็นเท็จเพื่อประโยชน์ทางคดีที่ทำให้คู่ความไม่อาจแก้ไขได้ในภายหลัง รวมทั้งกรณีการสมยอมทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน แต่บุคคลภายนอกไม่อาจที่ขอให้พิจารณาคดีใหม่เพื่อเพิกคำพิพากษาตามยอมได้ นับว่าเป็นข้อบกพร่องที่ปรากฏในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่สมควรจะได้รับการทบทวนแก้ไข
[2] พระราชบัญญัติการรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ พ.ศ. ๒๕๒๖ มาตรา ๕ บัญญัติว่า คดีใดที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้บุคคลใดต้องรับโทษอาญาในคดีนั้นแล้ว อาจมีการร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้ เมื่อปรากฏว่า
(๑) พยานบุคคลซึ่งศาลได้อาศัยเป็นหลักในการพิพากษาคดีอันถึงที่สุดนั้น ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในภายหลังแสดงว่าคำเบิกความของพยานนั้นเป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้องตรงกับความจริง
(๒) พยานหลักฐานอื่นนอกจากพยานบุคคลตาม (๑) ซึ่งศาลได้อาศัยเป็นหลักในการพิจารณาพิพากษาคดีอันถึงที่สุดนั้น ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในภายหลังแสดงว่าเป็นพยานหลักฐานปลอมหรือเป็นเท็จ หรือไม่ถูกต้องตรงกับความจริง หรือ
(๓) มีพยานหลักฐานใหม่อันชัดแจ้งและสำคัญแก่คดีซึ่งถ้าได้นำมาสืบในคดีอันถึงที่สุดนั้น จะแสดงว่าบุคคลผู้ต้องรับโทษอาญาโดยคำพิพากษาถึงที่สุดนั้นไม่ได้กระทำความผิด
[3] ฤทัย หงส์สิริ , การทบทวนคำสั่งทางปกครอง, ใน รวมบทความทางวิชาการกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ พนม เอี่ยมประยูร บรรณาธิการ, กรุงเทพฯ: วิญญูชน, ๒๕๔๑ล หน้า ๑๒๖.
[4] ต่อไปในบทความนี้ ถ้ามิได้กล่าวไว้เป็นอย่างอื่น มาตราที่กล่าวอ้าง หมายถึง มาตราในบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
[5] คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๑๒/๒๕๕๒, ๓๓๐/๒๕๕๒, ๓๖๕/๒๕๕๒, ๓๗๔/๒๕๕๒, ๔๘๗/๒๕๕๒, ๕๕๒/๒๕๕๒, ๔๑/๒๕๕๓, ๕๓/๒๕๕๓ และ ๑๓๓/๒๕๕๓ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน
[6] คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๕๑/๒๕๕๑, ๓๙๙/๒๕๕๑, ๔๕๕/๒๕๕๑, ๔๘๑/๒๕๕๑ และ ๗๓๕/๒๕๕๑ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน
[7] คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๒๖๓/๒๕๕๐, ๓๔๕/๒๕๕๐, ๓๗๙/๒๕๕๐, ๔๓๑/๒๕๕๐, ๖๐๘/๒๕๕๐, ๘๐๒/๒๕๕๐ - ๘๐๗/๒๕๕๐, ๘๑๐/๒๕๕๐ - ๘๑๔/๒๕๕๐, ๘๔๐/๒๕๕๐ - ๘๔๓/๒๕๕๐, ๘๕๕/๒๕๕๐ - ๘๖๐/๒๕๕๐ และ ๘๙๕/๒๕๕๐ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน
[8] คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๕๕๘/๒๕๕๑, ๗๓๐/๒๕๕๑ วินิจฉัยในทำนองเดียวกัน
[9] คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๒๑/๒๕๕๑, ๒๒/๒๕๕๑, ๒๓/๒๕๕๑, ๒๔/๒๕๕๑, ๒๕/๒๕๕๑, ๒๖/๒๕๕๑, ๒๗/๒๕๕๑ และ ๒๘/๒๕๕๑ วินิจฉัยในทำนองเดียวกัน
[10] คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๑๖๔/๒๕๕๐, ๑๖๕/๒๕๕๐, ๑๖๖/๒๕๕๐ และ ๔๓๑/๒๕๕๐ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน
[11] มาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. ๒๕๔๒
[12] ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ ไม่มีปัญหานี้ ถ้าเจ้าหน้าที่พบเหตุด้วยตนเองก็สามารถเพิกถอนคำสั่งทางปกครองได้ตามบทบัญญัติส่วนที่ ๖ การเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง มาตรา ๔๙ ถึงมาตรา ๕๓ ซึ่งกระบวนการเพิกถอนคำสั่งทางปกครองเป็นอำนาจของเจ้าที่หน้าที่จะริเริ่มได้เองตามหลัก ex offcio เพราะการกระทำทางปกครองเป็นการกระทำทางกริยา (active) ทั้งการวางแผน การริ่เริ่มปฏิบัติการด้านต่างๆ ลักษณะเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (dynamic)
[13] ประสาท พงษ์สุวรรณ์, กฎหมายว่าด้วยคดีปกครองไทย ใน รวมบทความทางวิชาการ เล่ม ๒: กฎหมายปกครอง ภาควิธีสบัญญัติ, กรุงเทพฯ: สำนักงานศาลปกครอง, ๒๕๔๘, หน้า ๒๓๘-๒๔๑.
[14] สมยศ เชื้อไทย,
หลักกฎหมายมหาชนเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ ๓ , กรุงเทพฯ: วิญญูชน, ๒๕๕๐, หน้า ๒๑๙.
[15] วรเจตน์ ภาคีรัตน์, ข้อความคิดเบื้องต้นกับคำวินิจฉัยและผลผูกพันของคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ เอกสารประกอบการบรรยาย หลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตทางกฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๓, หน้า ๔.
[16] คำพิพากษาบางกรณีแม้จะไม่เที่ยงธรรม (justice) แต่ถ้าคู่ความยอมรับหรือรับได้ในผลคำพิพากษาว่าพึ่งพอใจเป็นยุติและถือว่าเป็นธรรมเพียงพอสำหรับตน ถือได้ว่า เป็นคำพิพากษาที่ยุติธรรม คือ ยอมรับเป็นยุติว่าเป็นธรรม
[17] โภคิน พลกุล, สาระสำคัญของกฎหมายว่าด้วยศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง, วารสารวิชาการศาลปกครอง ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๑ (มกราคม-เมษายน ๒๕๔๔), หน้า ๑๑๐. และประสาท พงษ์สุวรรณ์, กฎหมายว่าด้วยคดีปกครองไทย หน้า ๒๘๔.
[18] พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ การขอให้พิจารณาใหม่ตาม มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง (๑) บัญญัติมีเพียงเฉพาะมีพยานหลักฐานใหม่อันอาจทำให้ข้อเท็จจริงที่ฟังเป็นยุติแล้วนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญ ส่วนการรับฟังข้อเท็จจริงผิดพลาดไม่ได้บัญญัติไว้
[19] แต่จะถือว่าเป็นกรณีที่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นได้ทำขึ้นโดยอาศัยข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายใดและต่อมาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายนั้นเปลี่ยนแปลงไปในสาระสำคัญซึ่งทำให้ผลแห่งคำพิพากษาหรือคำสั่งขัดกับกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นหรือไม่นั้น ในชั้นนี้ผู้เขียนเห็นว่าไม่เข้าเหตุตามมาตรา ๗๕ วรรคหนึ่ง (๔) ซึ่งจะได้กล่าวรายละเอียดในข้อที่ ๑.๓.๔ ต่อไป
[20] การตีความเอกสาร ตีความสัญญา การตีความกฎหมาย การปรับบทกฎหมาย การให้เหตุผลในการทำคำพิพากษา การชั่งน้ำหนักประโยชน์เอกชนกับประโยชน์สาธารณะ โดยเนื้อแท้แล้ว มิใช่เป็นการรับฟังพยานหลักฐาน แต่เป็นดุลพินิจวินิจฉัย ส่วนการให้เหตุผลในข้อเท็จจริงและการให้เหตุผลในข้อกฎหมายเป็นการอธิบายความของการใช้ดุลพินิจวินิจฉัย
[21]วรพจน์ วิศรุตพิชญ์,
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวศาลปกครอง, กรุงเทพฯ: วิญญูชน, ๒๕๔๔, หน้า ๑๗๙-๑๘๓.
[22] พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ การขอให้พิจารณาใหม่ตาม มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง (๒) บัญญัติทำนองเดียวกัน คู่กรณีที่แท้จริงมิได้เข้ามาในการดำเนินกระบวนพิจารณาทางปกครอง หรือได้เข้ามาในกระบวนพิจารณาครั้งก่อนแล้วแต่ถูกตัดโอกาสโดยไม่เป็นธรรมในการมีส่วนร่วมในการดำเนินกระบวนพิจารณาทางปกครอง
[23] ตามมาตรา ๓ แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ คำนิยาม คู่กรณี ความรวมถึงบุคคล หน่วยงานทางปกครอง หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งเข้ามาเป็นคู่กรณีด้วยการร้องสอด ไม่ว่าจะโดยความสมัครใจเองหรือโดยถูกคำสั่งศาลปกครองเรียกเข้ามาในคดีด้วย
[24] พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. ๒๕๓๙ การขอให้พิจารณาใหม่ตาม มาตรา ๕๔ วรรคหนึ่ง (๑)ถึง(๔) ไม่ได้บัญญัติเหตุนี้ไว้
[25] อำพล เจริญชีวินทร์,
คำอธิบายการฟ้องและการดำเนินคดีในศาลปกครอง, พิมพ์ครั้งที่ ๔, กรุงเทพฯ: นิติธรรม, ๒๕๕๐, หน้า ๕๘๒.
[26]คำสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ ๓๖๓/๒๕๕๒, ๓๙๗/๒๕๕๒ และ ๔๑๘/๒๕๕๒ วินิจฉัยทำนองเดียวกัน